ปัญหาหนี้สาธารณะเป็นประเด็นที่น่าจับตา โดยเฉพาะเมื่อหนี้สาธารณะของไทยกำลังแตะ 65-66% ของ GDP จากสภาวะการลงทุนต่ำสะสมกว่า 20 ปี ส่งผลต่อจีดีพีและเศรษฐกิจภาพรวมปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีการเติบโตต่ำเฉลี่ยเพียง 1.9% ต่อปี
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และในปี 2567 คาดว่าจะเติบโตเพียง 2.7% โดยอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะไม่ถึง 1% สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาและความท้าทายในการขยายฐานเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง ระบุว่า แม้ว่าไทยมีเงินทุนอยู่ในระบบ แต่เม็ดเงินลงทุนโดยรวมในไทยกลับต่ำกว่า 20% ของ GDP ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไทยลงทุนต่ำเป็นเพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จำกัด โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผลพวงจากการลงทุนต่ำสะท้อนในด้านการจ้างงานที่ลดลง และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ส่วนใหญ่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านและรถยนต์
การลงทุนต่ำยังส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ขาดโอกาสในการเติบโต เนื่องจาก SME เหล่านี้มักเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนที่พึ่งพาการลงทุนขนาดใหญ่ เมื่อการลงทุนลดลง ธุรกิจเหล่านี้ประสบปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อ จึงทำให้ภาครัฐต้องเข้าไปอุดหนุน ซึ่งนำไปสู่ภาระหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น
นายพิชัย กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หนี้สาธารณะของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยจากเดิมอยู่ที่ 48% ของ GDP หรือประมาณ 5 ล้านล้านบาท ปัจจุบันขยับขึ้นมาที่ 65-66% ของ GDP โดยมูลค่าหนี้ใกล้แตะ 12 ล้านล้านบาท นโยบายการเงินกำหนดว่าหนี้สาธารณะต้องไม่เกิน 70% ของ GDP ซึ่งนั่นหมายความว่าพื้นที่ทางการคลังเหลือเพียง 3-4% เท่านั้น หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท
อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งชี้ถึงสุขภาพทางการเงินของประเทศ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพของรัฐบาลในการบริหารจัดการหนี้ กำหนดความยืดหยุ่นของนโยบายการเงิน และมีบทบาทสำคัญในการสร้างอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
มูลนิธิ Hinrich ได้แสดงหนี้สาธารณะเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP ในแต่ละประเทศ ข้อมูลจาก World Economic Outlook ของ IMF ไว้น่าสนใจ โดย "ฐานเศรษฐกิจ" ได้คัดเฉพาะบางประเทศเท่านั้น
อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ค่อนข้างต่ำ เช่น ในกรณีของบรูไน ในทางกลับกัน อัตราส่วนหนี้สาธารณะที่ค่อนข้างสูง เช่น ในกรณีของญี่ปุ่น
อัตราส่วนหนี้สาธารณะสามารถให้บริบทที่สำคัญในการทำความเข้าใจความสามารถของประเทศในการปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงิน อัตราส่วนที่สูงอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน บั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และจำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตัวเลือกนโยบายการคลังอาจมีข้อจำกัด