เฮ! ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุ่น สร้างเชื่อมั่นคนญี่ปุ่น

17 พ.ย. 2567 | 05:47 น.
อัปเดตล่าสุด :17 พ.ย. 2567 | 05:57 น.

“คารม” เผย ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “สับปะรดห้วยมุ่น” ยกระดับตลาดสินค้าเกษตรสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น

วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2567) นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   กล่าวว่า ข่าวดี กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของประเทศญี่ปุ่น ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สับปะรดห้วยมุ่น” ซึ่งเป็นผลไม้ของประเทศไทยรายแรกที่ได้รับ การขึ้นทะเบียน GI ในประเทศญี่ปุ่น

เฮ! ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุ่น สร้างเชื่อมั่นคนญี่ปุ่น

และเป็นสินค้ารายการที่ 3 ได้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ต่อจาก กาแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง 

 

 “สับปะรดห้วยมุ่น”  ที่มีเอกลักษณจุดเด่นในเรื่องของเนื้อที่หนาและนุ่ม รสชาติหวาน พร้อมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทำให้เป็นที่ต้องการสำหรับผู้บริโภคญี่ปุ่น โดยประเทศไทยผู้ประกอบการมากกว่า 850 ราย ที่กำลังการผลิตกว่า 180,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าตลาดกว่า 1,200 ล้านบาท

เฮ! ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุ่น สร้างเชื่อมั่นคนญี่ปุ่น

รัฐบาลมั่นใจการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)  เป็นการเริ่มต้นเพื่อยกระดับและพัฒนาการประกันคุณภาพให้กับสินค้า ช่วยให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้มั่นใจ เพิ่มการบริโภค สับปะรดห้วยมุ่น มากขึ้น

เฮ! ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุ่น สร้างเชื่อมั่นคนญี่ปุ่น

นอกจากสินค้าด้านการเกษตรสับปะรดสด ที่ได้รับความนิยมแก่ผู้บริโภคของประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐบาลยังได้พบว่า ตลาดการนำเข้าสับปะรดของประเทศญี่ปุ่นยังมีความต้องการสับปะรดแปรรูปสูงเช่นเดียวกัน เช่น น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง และสับปะรดอบแห้ง  โดยประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญในการส่งออกสับปะรดมากเป็นอันดับ 4 รองจากฟิลิปปินส์ คอสตาริกา และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศไทยจะสามารถ นำเอาประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)  ในการลดภาษีนำเข้า เพื่อเพิ่มความได้เปรียบให้กับการส่งออกสับปะรดของประเทศได้ 
เฮ! ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุ่น สร้างเชื่อมั่นคนญี่ปุ่น
“รัฐบาล โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เร่งเดินหน้าสานต่อความร่วมมือเพื่อขยายตลาดการค้า การขึ้นทะเบียนสินค้า GI ในรายการใหม่ ๆ   ร่วมทั้งความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร่วม ระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น  เพื่อนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาการทำตลาดกลางสินค้าเกษตร ขยายตลาดผักผลไม้ไทยสู่ญี่ปุ่นให้ได้เพิ่มมากขึ้น” นายคารม  กล่าว