วิธีทำต้มยำกุ้ง ล่าสุด ยูเนสโก ขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" มรดกที่จับต้องไม่ได้

04 ธ.ค. 2567 | 06:03 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ธ.ค. 2567 | 06:21 น.

วิธีทำต้มยำกุ้ง วัตถุดิบที่ใช้ ประเภทต้มยำมีกี่ประเภท ล่าสุด ยูเนสโก ขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

วิธีทำต้มยำกุ้ง ล่าสุดวันนี้ 4 ธันวาคม 2567 เมื่อเวลา 02.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ในการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

 

วิธีทำต้มยำกุ้ง

เพจไทยคู่ฟ้า ได้โพสต์ข้อความว่า ตัมยำกุ้ง น้ำข้น น้ำใสแบบไหนอร่อย ถูกใจกว่ากัน?

ต้มยำกุ้งที่เราเห็นในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

ต้มยำกุ้งน้ำข้น

  • เป็นต้มยำที่เพิ่มความเข้มข้น หอมมันของน้ำซุปด้วยกะทิหรือนมสด และน้ำพริกเผาตำรับจีน

ต้มยำกุ้งน้ำใส

  •  เป็นต้นตำรับของต้มยำกุ้ง รสชาติ หวานอร่อยจากน้ำต้มกุ้ง ไม่ใส่น้ำตาลมีการปรุงรสนอกเตาไฟเพื่อรักษารส และ กลิ่นของเครื่องปรุง เช่น มะนาว พริก

ทั้งนี้ สูตรของต้มยำสมัยก่อน จะอาศัยความมันจากมันกุ้ง ซึ่งเป็นกุ้งแม่น้ำที่สามารถจับได้ง่ายตามแหล่งน้ำธรรมชาติ

 

วิธีทำต้มยำกุ้ง

วัตถุดิบทำต้มยำกุ้ง

สารพัดเครื่องปรุง และ ส่วนประกอบ

กุ้งแม่น้ำ

  • มีชุกชุมมาตั้งแต่อดีต แต่ต่อมาได้มี การปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นโดยการใช้กุ้งทะเล

สมุนไพร

  • ได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มะนาว ซึ่งเป็นพืชผักสวนครัวที่หาได้ง่าย

เครื่องปรุง

  • ที่ให้รสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด ได้แก่ มะนาว น้ำปลา พริก นอกจากกุ้งที่เป็นเนื้อสัตว์ยังมีการ ใส่เห็ดชนิดต่าง ๆ ไปด้วย ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น นม ครีม หรือ น้ำพริกเผา จะเป็นการเพิ่มเข้าไปเป็นสูตรของต้มยำกุ้ง น้ำข้นที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

 

วัตถุดิบทำต้มยำกุ้ง

 

ตัมยำกุ้ง ภาพสะท้อนอันหลากหลาย ของวัฒนธรรมไทย

ต้มยำกุ้งหนึ่งชาม

ประกอบไปด้วยส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยทั้ง กุ้งแม่น้ำ ที่สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ เครื่องสมุนไพร ตะไครั ใบมะกรูด ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาในการรับประทานอาหารเป็นยา

ไปจนกระทั่งการปรุงรสที่ปรับเปลี่ยนจากอดีต และ กลายมาเป็นต้มยำกุ้งที่เราคุ้นชินกันในปัจจุบันทั้งต้มยำกุ้งน้ำใส น้ำข้น ที่ปรับสูตรใหม่ให้อร่อยลิ้นยิ่งขึ้น

ด้วยรสชาติที่ถูกปาก ผู้คนทั่วโลก ต้มยำกุ้ง จึงเปรียบเสมือนภาพ ตัวแทนวัฒนธรรมอาหารไทย ที่ชาวต่างชาติรู้จัก

คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงเสนอ ต้มยำกุ้ง เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ขอขึ้นทะเบียนเป็นรายตัวแทนมรดก วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก เมื่อ พ.ศ. 2564

โดยจะเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรตกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 วันที่ 2- 3ธันวาคม พ.ศ. 2567  ที่สาธารณรัฐปารากวัย.

 

ิวิธีทำต้มยำกุ้ง

 

ต้มยำกุ้ง

ตัวแทนรสชาติที่แพร่หลาย แรงบันดาลใจของอาหารฟิวชั่นที่นิยมไปทั่วโลก

ด้วยรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของต้มยำกุ้ง ที่โดดเด่นด้วยรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ดเล็กน้อย และ กลิ่นหอมของสมุนไพร เครื่องต้มยำ โดยเฉพาะตะไคร้ ใบมะกรูด ที่เป็นที่จดจำ ทำให้ต้มยำกุ้ง ถูกนำไปประยุกต์กับอาหาหารชนิดต่าง ๆ ทั้งอาหารไทยง่าย ๆ เช่น ข้าวผัดต้มยำกุ้ง รวมถึงการผสมผสานรสชาติต้มยำกุ้งกับ อาหารนานาชาติ ทั้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง ที่แพร่หลายไปทุกบ้าน หรือ แม้กระทั่ง พาสต้าผัดต้มยำกุ้ง อุด้งต้มยำ ชาบูน้ำต้มยำ

วิธีทำต้มยำกุ้ง

นอกจากอาหารคาวแล้ว ต้มยำกุ้ง ก็ยัง ถูกนำมาประยุกต์ทำเป็น เครื่องดื่ม โดยน้ำเครื่องต้มย่ำมาผสมผสานกับความซ่าของโซดาเป็นได้ทั้งค็อกเทลที่ผสมแอลกอฮอล์ และ ม็อกเทล ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ กลายเป็น เครื่องดื่มที่ส่งต่อเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างลงตัว.