การประกาศกฎอัยการศึกในเกาหลีใต้เมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ในระบบประชาธิปไตยที่เคยมั่นคง โดยเฉพาะในประเทศที่มีโครงสร้างการปกครองที่เน้นความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศและด้านความมั่นคง เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า การกระทำครั้งนี้เผยให้เห็นถึง "จุดอ่อน" ของโครงสร้างอำนาจฝ่ายบริหารที่ไม่สมดุล
การเมืองที่ขัดแย้งกระทบต่อเสถียรภาพ เเละประธานาธิบดีที่ไม่เป็นที่นิยม
ประธานาธิบดี ยุน ซอก ยอล ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ท่ามกลางคะแนนนิยมตกต่ำ และข้อกล่าวหาคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับภรรยา การบริหารที่อ่อนแอและความขัดแย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติส่งผลให้เกิดสถานการณ์ "สูญญากาศทางการเมือง"
การประกาศกฎอัยการศึกและการล้อมสภาโดยทหาร ไม่เพียงสร้างความตึงเครียดภายใน แต่ยังบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อระบอบประชาธิปไตยในสายตานานาชาติ
ความไม่สมดุลระหว่างอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติในระบบการเมืองเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดการบริหารที่ล่าช้าและขัดแย้ง ซึ่งในระยะยาว จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของประเทศ
การประกาศกฎอัยการศึกส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนระหว่างประเทศ และทำให้การค้าการลงทุนชะลอตัว แม้ว่าอุตสาหกรรมหลัก เช่น การท่องเที่ยวและการส่งออกจะไม่ได้รับผลกระทบในระยะสั้นมากนัก แต่ความปั่นป่วนทางการเมืองนี้สร้างความกังวลต่อนักลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงในระยะยาว
การประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง บ่งบอกว่าผู้บริหารผิดพลาด กระทบความเชื่อมั่น การลงทุนระยะสั้น ความกังวลใจเกี่ยวกับระบบการคัดกรองคน เสียภาพลักษ์ประเทศ ลบความเชื่อมั่นในประชาธิปไตยของเกาหลี กระทบการลงทุน การค้า บทบาทนานาชาติ การสนับสนุนยูเครนในอาเซียน คาบสมุทรเกาหลี
บทบาทของเกาหลีใต้ในเวทีระหว่างประเทศ
ถูกตั้งคำถามมากมาย โดยเฉพาะในประเด็นการสนับสนุนยูเครนและความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน+3 (ความร่วมมือของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน กับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีก 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้) OECD ความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขงกับเกาหลี (Mekong - ROK Cooperation) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประเทศไทย เเละอีกหลายกลุ่มในเวทีโลก รวมทั้งการชะงักงันทางการเมืองส่งผลให้การเจรจาด้านความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลีหยุดชะลอไปด้วย
ความกังวลเรื่องการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือคงกลับมาเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้นๆ รวมทั้งสหรัฐ
สิ่งที่ต้องจับตาคือ พรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี (DPK) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักในเกาหลีใต้ เตรียมอภิปรายถอดถอนออกจากตำแหน่ง (อิมพีชเมนท์) ในวันเสาร์ที่ 7 ธ.ค.นี้ เวลาประมาณ 19.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อลงมติว่าจะมีการสนับสนุนให้ถอดถอนประธานาธิบดี "ยุน ซอกยอล" ออกจากตำแหน่งหรือไม่ จากกรณีการประกาศกฏอัยการศึกเมื่อคืนวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมา
ในการลงมติถอดถอนประธานาธิบดี ต้องใช้เสียงจากสมาชิกรัฐสภา 2 ใน 3 หรือ 200 เสียงต่อ 300 เสียง ปัจจุบันฝ่ายค้านครองอยู่ที่ 192 เสียง ต้องการอีก 8 เสียงจากพรรครัฐบาลเพื่อให้การลงมติถอดถอนสำเร็จ ขณะเดียวกันตำรวจเริ่มสืบสวนประธานาธิบดีในข้อหากบฏ ซึ่งการก่อกบฏถือเป็นอาชญากรรมที่อยู่เหนือเอกสิทธิ์คุ้มครองประธานาธิบดีและอาจมีโทษถึงประหารชีวิตได้
เหตุการณ์ในเกาหลีใต้ครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ รศ.ดร.ปณิธาน ระบุว่า การยื่นเรื่องถอดถอนซึ่งในอดีตเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้ง ต้องใช้เวลา
การเมืองภายในใช้เวลา ต้องดูว่าจะถอดถอนสำเร็จไหม กฎอัยการศึก กว่าจะเข้าที่เข้าทางกลับไปสู่สร้างปัญหาหลายด้าน คนที่จะมาได้รับคะเนนเท่าไหร่
บทเรียนสำหรับประเทศไทย
เหตุการณ์ในเกาหลีใต้นำเสนอเป็นบทเรียนสำคัญในการสร้างสมดุลระหว่างอำนาจฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ การปรับปรุงโครงสร้างระบบการเมืองให้มั่นคงขึ้น และการสร้างกลไกเพื่อป้องกันการใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสม จะเป็นแนวทางที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางการเมืองในระยะยาว
ตำเเหน่ง อำนาจ ไม่สามารถไปขัดขวางความชอบบธรรมได้
โดยสรุปแล้ว การประกาศกฎอัยการศึกในเกาหลีใต้แสดงให้เห็นถึงความท้าทายของระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศจะมีระบบการปกครองที่แข็งแกร่งในสายตานานาชาติ เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงความไม่สมดุลของอำนาจในประเทศ แต่ยังชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและบทบาทในเวทีโลกอีกด้วย