นายธนพงษ์ จิราพาณิชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ธนจิรากรุ๊ป ผู้บริหารแบรนด์ “หาญ” (HARNN) และกลุ่มธุรกิจหาญ เวลเนส แอนด์ ฮอสพิทาลิตี้ เปิดเผยว่า หลังจากที่ “HARNN” เข้ามาอยู่ใน portfolio ของ ธนจิรากรุ๊ป โจทย์คือจะต้องทำให้คนไทยยอมรับมากขึ้น เพราะการพึ่งพานักท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ยั่งยืนซึ่งสท้อนให้เห็นในช่วงโควิดซึ่งสุดท้ายแล้วนักท่องเที่ยวหายไป
เดิมหาญมีสัดส่วนลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยว 95% และอยู่ได้เพราะนักท่องเที่ยวจีนซึ่งกินสัดส่วนกว่า 70% พอโควิดมานักท่องเที่ยวหายหมดเราอยู่ไม่ได้ ตอนนี้สัดส่วนลูกค้าอยู่ที่คนไทย 40%นักท่องเที่ยว 60% ส่วนใหญ่เป็นญี่ปุ่น สิงคโปร์ ดูไบ และยังไม่มีจีนเข้ามา
บริษัทพร้อมแล้วในการต่อเกม wellness โดยหันขยายการให้บริการ “สปาทรีตเมนต์” ที่เราเรียกว่า “SCape by HARNN” ซึ่ง“HARNN”เด่นในเรื่องนี้อยู่แล้ว เราเป็นแฟรนไชส์ในเชนโรงแรมต่างประเทศ เช่นโรงแรมคิมป์ตัน มาลัยหลังสวน โรงแรมคิมป์ตันสมุย หรือในต่างประเทศเช่นญี่ปุ่น 3-4 แห่ง เวียดนาม 2 แห่ง ฮ่องกง 1 แห่ง และซาอุดิอาระเบีย 1แห่ง
แต่คนไทยกลับไม่รู้จักเลยเพราะแนวทางในการทำงานไม่ได้ผนวก beauty เป็น wellness เพราะฉะนั้น “SCape by HARNN” จะเป็นการตอบโจทย์ 3 เรื่องทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาโลเคชั่นให้เข้าถึงได้และมีความชัดเจนในอัตลักษณ์ของร้าน จึงเกิดเป็น “สปาทรีตเมนต์” ที่ตรงกับผู้ที่ต้องการทั้งระดับราคาและสถานที่ที่สะดวกสบาย”
ทั้งนี้ “SCape by HARNN” เริ่มเปิดบริการที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้าเป็นสาขาแรกในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องยากเนื่องจากคนไม่รู้จัก แต่แบรนด์จำเป็นที่จะต้องทำเพื่อเป็นการเทสโมเดลธุรกิจว่าครึ่งหนึ่งเป็นรีเทลครึ่งหนึ่งเป็นสปาทรีตเมนต์ จะสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้หรือไม่ สิ่งที่พบโลเคชั่นไม่สะดวกเพราะไกล
“SCape by HARNN ” จึงเริ่มขยายในเมือง ล่าสุดเปิดสาขาใหม่ใน THE EMQUARTIER มาตรฐานเดียวกับโรงแรม รวมทั้งสปาทรีตเมนต์ที่เกี่ยวข้องกับออฟฟิศซินโดรมกึ่งๆผสมฟิสิโอ เทอราพีและเลเชอร์เข้าด้วยกันโดยเน้นทั้งเรื่องของ relaxation และแก้เรื่องของการปวดเมื่อยบ่า คอ จากการนั่งทำงานนานๆ และบริการงสปาทรีตเมนต์ 120 นาที โดยใช้งบลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท
“เราไม่มีความคิดว่าเราจะเป็น mass product ที่ไปเทียบกับบริการนวดทั่วไป หรือลักษณะที่นักท่องเที่ยวมองสปาตามห้องแถว แต่เราเจาะกลุ่มคนไทยที่ต้องการมองหาพรีเมี่ยมโพรดักซ์และตอบโจทย์เรื่องของการต้องใช้และแก้โจทย์นั้นได้ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นการก้าวต่อไปของหาในการสร้าง communication ของ wellness destinationเพิ่มเติมจาก retail”
นอกจากนี้ในช่วงโควิดที่ผ่านมา “HARNN”ได้ไปเปิดกิจการในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า “HARNN JAPAN”โดยเริ่มนำเข้าสินค้าไปทำตลาด และปัจุบันนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการเฟส 2 ศึกษาเพื่อผลิตเฟชแคร์เป็น made in japan โดยใช้ความเป็นเลิศของทางญี่ปุ่นในการผลิต ซึ่งในอนาคตบริษัทมีแผนผลิตโปรดักต์ made in thailand เป็น made in japanแทน แล้วส่งกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเพื่อช่วยให้เกิดการยอมรับ
ทั้งนี้ “HARNN” ยังเคยทำรายได้สูงสุดเกือบ 400 ล้านบาทในปี 2018 ปัจุบันตอนนี้บริษัทตั้งเป้าจะพลิกอัพรายได้กลับมาครึ่งทางของ 400 ล้านบาท หรือทำรายได้ 200 ล้านบาทในปี 2022 และในปี 2024 บริษัทปักหมุดจะกลับไปอยู่จุดเดิมในปี 2018 ให้ได้ ซึ่งจะมีรายได้ทั้งในสาขาต่างประเทศและการทำ partnership สปาในโรงแรม นอกจากนี้ยังคาดหวังสัดส่วนรายได้หาร 3 เท่า คือรีเทล 33%, export33% และสปาแฟรนไชส์ 33%
“ในส่วนของสปาแฟรนไชส์เรามี 4 ระดับ ระดับแรกคือ “HARNN heritage” ซึ่งที่ผ่านมาเราอยู่กับโรงแรมอินเตอร์คอนติเนลตัลเยอะ ระดับที่ 2 THE SPA by “HARNN จะอยู่ในโรงแรม 4 ดาวลงมาและในญี่ปุ่น 2 แห่ง ระดับที่ 3 ใช้ชื่อ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต่อท้ายด้วย “by HARNN” และระดับสุดท้ายเป็นระดับที่ไม่ใช่โรงแรมเราให้ใช้ “SCape by HARNN ”
ปีนี้มีแผนขยายเพิ่ม 1 สาขาคือ เซ็นทรัลเวิร์ลช่วงปลายปี ซึ่งในระยะยาวจำนวนแฟรนไชส์จะต้องมากพอที่จะกินสัดส่วน 1 ใน 3 แต่ปัจจุบันสัดส่วนก็ไม่ได้น้อยอยู่ที่ประมาณ 5% แต่การจะกินแชร์ 33% ก็จะต้องมีอย่างน้อย 40 property จากปัจุบันที่มี 15 property”
หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,810 วันที่ 18 - 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565