Insect Protein เป็นหนึ่งในอาหารกลุ่ม Alternative Protein ที่น่าสนใจ โดยอาหารในกลุ่ม Alternative Protein ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ 1) Plant-based Food หรือโปรตีนจากพืช 2) Mycoprotein ที่เป็นการใช้ราที่ได้จากการเพาะเลี้ยง สําหรับการทําโปรตีน 3) Insect Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทําจากแมลง 4) Algal Protein เป็นโปรตีนจากสาหร่าย 5) Cultured Meat ที่เป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสัตว์จากห้องLab
เมื่อพิจารณามูลค่าตลาดโลกในกลุ่ม Alternative Protein จะพบว่าในปี 2021 Plant-based Food มีขนาดตลาดใหญ่ที่สุด มี มูลค่าตลาดราว 42,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนตลาดถึง 96.7% ของ มูลค่าตลาด Alternative Protein รวมของโลก ที่เหลืออีกประมาณ 3.3% จะเป็น Alternative Protein una Mycoprotein, Insect Protein, Algal Protein และ Cultured Meat
แม้ว่าปัจจุบัน Insect Protein จะมีขนาดตลาดที่ไม่ใหญ่ไม่เทียบกับ Plant-based Food แต่เรามองว่าการยกระดับไปสู่ตลาด Insect Protein มีความน่าสนใจ โดยแม้ เราจะมองว่าในอนาคตตลาด Insect Protein และ Cultured Meat จะเข้ามามีบทบาทเติมเต็มอุตสาหกรรมอาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก มากขึ้น สะท้อนจากอัตราการเติบโตของตลาดโลกที่สูงถึง 26.5%CAGR และ 19.4%CAGR ตามลําดับ
อีกทั้งเริ่มเห็นผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและนอกอุตสาหกรรมอาหารมีแผนลงทุนในสินค้า Segmentนี้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากตลาด Plant-based Food ที่ในช่วงที่ผ่านมาที่มีผู้ประกอบการหลายรายเข้ามาทํา ตลาดนี้มากขึ้นแล้ว แต่ตลาด Cultured Meat ยังมี ข้อจํากัดในการขยายตลาดในระยะนี้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs เพราะแม้ Cultured Meat เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า โปรตีนทางเลือกอื่นๆ และมีความเหมือนเนื้อจริงมากกว่าทั้งรสชาติ และเนื้อสัมผัส แต่ยังเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีและ R&D ขั้นสูงเช่นกัน
ทั้งนี้Krungthai COMPASS มองว่าตลาดผลิตภัณฑ์จากแมลงมีความน่าสนใจจากปัจจัยหนุนที่ทําให้ตลาดมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องซึ่งประกอบไปด้วย 1) สารอาหารจาก แมลงอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินนานาชนิด 2) ลดความกังวลเกี่ยวกับมั่นคงทาง อาหาร 3) ตอบโจทย์กระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม 4) เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน Insect Foods ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว 5) มูลค่าตลาดยังเติบโตได้อีกมาก
ขณะเดียวกันปัจจุบันสหภาพยุโรปอนุมัติให้แมลงในกลุ่มจิ้งหรีด หนอนนก และตั๊กแตน เป็น อาหารใหม่ (Novel Food) ที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย และได้รับอนุญาต ให้วางจําหน่ายในตลาดสหภาพยุโรปได้ โดยอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์แช่แข็ง อบแห้ง ผงโปรตีน บิสกิต เส้นพาสต้า รวมทั้งอาหารขบเคี้ยว ขณะที่ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาสหภาพยุโรปตื่นตัวและให้ความสําคัญกับการพัฒนาอาหารใน กลุ่ม Novel Food มากขึ้น จึงมีการปรับปรุงกฎระเบียบเรื่อง Novel Food เพื่อ ช่วยให้การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวทําได้อย่างรวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น และมีรายงานจาก The European Food Safety Authority (EFSA) ว่าคําขอ ขึ้นทะเบียนอาหารในกลุ่ม Novel Food เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตอาหารจากแมลง ให้มีความหลากหลาย เพื่อสร้างโอกาสในการเจาะตลาดสหภาพยุโรป
โดยผลิตภัณฑ์จากแมลงสามารถต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่อุตสาหกรรมอาหารไปจนถึงอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเวชสําอางต่างๆ ด้วย คุณสมบัติที่อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน กรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุ สําคัญต่างๆ จึงทําให้ผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการ นําผลิตภัณฑ์จากแมลงมาปรับใช้ในธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ไทย เอนโท ฟู้ด จํากัด สตาร์ทอัพสัญชาติไทย ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนคุณภาพสูงจากจิ้งหรีดภายใต้ แบรนด์ "Sixtein" ซึ่งจุดเด่นของผงโปรตีนจากแมลงของบริษัทจะมีลักษณะคล้าย แป้ง ไม่มีกลิ่นหืน ไม่มีรส เหมาะสมสําหรับนําไปเป็นส่วนผสมของอาหารในการเพิ่ม สัดส่วนโปรตีน หรือ YORA บริษัทสัญชาติอังกฤษที่นําตัวอ่อนแมลงวันดํามาผลิตเป็น อาหารสัตว์เลี้ยง เพื่อใช้สําหรับสุนัขที่มีอาการแพ้โปรตีนที่ทํามาจากเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ โดยตัวอย่างของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่นๆ
อย่างไรก็ตามด้วยสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ซึ่งเหมาะสําหรับการเติบโตของแมลงหลากหลายสายพันธุ์ ทําให้ ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์จากแมลง โดยจากข้อมูลของมหาวิทยาลัย Wageningen พบว่าสายพันธุ์แมลงในไทยที่สามารถใช้สําหรับการบริโภคมี จํานวนมากถึง 300 สายพันธุ์ เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนเยื่อไผ่ ด้วงงวงมะพร้าว จักจั่น หนอนแมลงวันลาย เป็นต้น ซึ่งเป็นแมลงที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคกันอยู่แล้ว
นอกจากนี้ แมลงหลายสายพันธุ์ในไทยยังเพาะเลี้ยงและให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปีจึงทําให้ ตลาดแมลงไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการผลิต Insect Products ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะการเลี้ยงแมลงในกลุ่มจิ้งหรีดของไทย ซึ่งเป็นแมลงที่มีศักยภาพในการส่งออกในตลาดสหภาพยุโรปที่อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์จากแมลงในกลุ่มจิ้งหรีดเป็นอาหารสําหรับบริโภค ได้อย่างปลอดภัย
โดยปัจจุบันมีการเลี้ยงจิ้งหรีดกระจายอยู่ทั่วทุกภาคในประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พบว่าตั้งแต่เดือน ม.ค-ก.ย 2565 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฟาร์มเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดทั้งสิ้น 1,044 ฟาร์ม จากทั้งหมด 1,378 ฟาร์ม หรือ คิดเป็นสัดส่วน ถึง 75.3% จาก ฟาร์มจิ้งหรีด ทั้งหมดทั่วประเทศ