เมินเด็กไทยเกิดน้อย "นันยาง" ปรับแผนรุกจับวัยรุ่น

03 พ.ค. 2567 | 08:40 น.
อัปเดตล่าสุด :03 พ.ค. 2567 | 08:46 น.

เด็กเกิดน้อย "นันยาง" ปรับแผนมุ่งเจาะวัยรุ่น มุ่งมั่นเติบโตต่อเนื่อง 3-5% สวนกระแสตลาดรองเท้านักเรียนซบเซา ชูกลยุทธ์รุกทุกช่องทาง

ดร.จักรพล จันทวิมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า ความท้าทายของอุตสาหกรรมรองเท้านักเรียน คืออัตราการเกิดของประเทศไทยจะลดลง ข้อมูลล่าสุดอยู่ที่ 4 แสนคนต่อปี นักเรียนเข้าเรียนน้อยลงหลักการของนันยาง คือต่อให้ตลาดจะเล็กลงแบรนด์ต้องเติบโตให้เท่าเดิม ผ่านการทำการตลาดทุกมิติเพื่อกระตุ้นการจับจ่าย สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ต้องเป็นมากกว่าสินค้า

เมินเด็กไทยเกิดน้อย \"นันยาง\" ปรับแผนรุกจับวัยรุ่น

จำนวนประชากรถือเป็นหนึ่งความท้าทายสำคัญของธุรกิจที่เชื่อมโยงชีวิตของผู้คน ช่วงวัย ในมุมมองของแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาดของรองเท้าผ้าใบและเป็นแบรนด์ที่สร้างสีสันให้กับตลาดมาอย่างต่อเนื่อง “นันยาง” ผู้ครองส่วนแบ่งการตลาด 45% ของตลาดรองเท้าผู้ใบมูลค่า 5 พันล้าน แบ่งเป็นสัดส่วนรองท้าผ้าใบ 60% รองเท้านักเรียนหญิง 35% อื่น ๆ 5% ผู้บริโภคมีพฤติกรรมซื้อรองเท้า 1.3 คู่ต่อคนต่อปี ถึงแม้ ตลาดรองเท้านักเรียนชะลอตัวเนื่องจากสถานการณ์โควิด แต่ในปี 66 ตลาดเติบโต 3% เนื่องจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย นักเรียนไปโรงเรียนได้ตามปกติ และแนวโน้มในปี 67 คาดการณ์จะเติบโตขึ้น 1-3%

นันยางวางแผนการเติบโตต่อเนื่องที่ 3-5%  พร้อมเพิ่มกลยุทธ์เพื่อรุกขยายโอกาสทางการตลาดในทุกช่องทางและยังคงเน้นเป้าหมายหลักที่กลุ่มนักเรียน นักกีฬา คนทำงาน และผู้ใช้งานอเนกประสงค์ นันยางมุ่งเน้นเข้าหาคน คาแรกเตอร์ของนันยางเป็นคนดีมากขึ้น จากเดิมคนติดภาพนักเรียนที่ใส่นันยางต้องเป็นเด็กหลังห้อง แต่ในปัจจุบันเมื่อบริบทสังคมเปลี่ยนไป ต้องทำการสื่อสารการตลาดลึกขึ้นเรื่อย ๆ

เมินเด็กไทยเกิดน้อย \"นันยาง\" ปรับแผนรุกจับวัยรุ่น

 “ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา นันยางได้แสดงจุดยืนยุติปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียน ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะนักเรียนทั่วประเทศ โดยนันยางยังเดินหน้าสานต่อการรณรงค์ดังกล่าวด้วยการสร้างสรรค์แคมเปญ พอดีไม่เหมือนกัน” เพื่อยุติการสร้างแรงกดดันและความคาดหวังกับตัวเองมากเกินไป หรือนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ เพราะจะทำให้บั่นทอนศักยภาพการใช้ชีวิตซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเป็นที่พึ่งทางความคิดของเด็กนักเรียนได้อย่างดี”

กางแผนการทำตลาดปีนี้ คาดยังไม่ต้องเพิ่มกำลังการผลิต พร้อมตรึงราคาสินค้า ชี้ ยังคงขายราคาเดิม เริ่มต้น 199 บาทต่อคู่ ขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ซึ่งปัจจุบันนันยางมีทำตลาดทั้งหมด 4 รุ่น เพื่อหวังลดภาระให้ผู้ปกครองก่อนเปิดเทอม พร้อมลุยแคมเปญยุติการบลูลี่ในโรงเรียนต่อเนื่อง

เป็นวัยรุ่นมันเครียด!

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบสถานการณ์สุขภาพจิตของเยาวชนไทย ในช่วงปี 2563-2567 มีความเครียดสูง ร้อยละ 24.83  มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 29.51 และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึง ร้อยละ 20.35  ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าวัยอื่นๆ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความเครียด ความเหนื่อยล้า ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือ และยังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมินเด็กไทยเกิดน้อย \"นันยาง\" ปรับแผนรุกจับวัยรุ่น

ทั้งนี้ สาเหตุนันยางเลือกทำแคมเปญ “พอดีไม่เหมือนกัน” ให้นักเรียนเลิกกดดันตัวเอง เพราะพบว่าปัญหาดังกล่าวเกิดเพิ่มขึ้นมาก และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเด็ก หากเด็กไม่พูดหรือไม่มีพื้นที่ที่จะรับฟังก็เท่ากับไร้ที่พึ่ง “การกดดันเหยียบย่ำตัวเอง หรือ Self-bully เป็นปัญหามองไม่เห็นด้วยตาเพราะเกิดขึ้นภายในจิตใจ วัยรุ่นมักไม่รู้ตัวว่ากำลังเกิดความคิดและพฤติกรรมที่บั่นทอนศักยภาพการใช้ชีวิตของตนเอง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นสิ่งที่ได้ซึบซับมาจากสภาพแวดล้อม ผู้ใหญ่และคนรอบข้างก็มองไม่เห็น หรือมองว่าเด็กไม่มีเรื่องเครียดอะไรมาก ทำให้ไม่ทันได้สังเกตหรือรับฟังกัน ดังนั้นจะเป็นเรื่องดีที่แคมเปญนี้เป็นกระบอกเสียงให้ทุกคนที่กำลังรู้สึกแย่จากตัดสินและตำหนิตัวเองมากเกินไปได้มีที่ปรึกษาในการบรรเทาปัญหาดังกล่าว” ดร.จักรพล กล่าวถึงที่มาของแคมเปญ “พอดีไม่เหมือนกัน”

ดร.จักรพล ได้สรุปภาพรวมการตลาดรองเท้านันยางว่า ในช่วงใกล้เปิดเทอมถือเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจรองเท้านักเรียน นันยางมียอดขายในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน กว่า 80% นอกจากการทำตลาดผ่านแคมเปญแล้ว นโยบายภาครัฐเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายถือเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายในช่วงเวลาดังกล่าว ประกอบกับได้รับแรงหนุนทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้นทำให้นันยางสามารถสร้างอัตราการเติบโต 13.70% สูงกว่าอัตราการเติบโตรวมของตลาดประมาณ 3% โดยในปี 2567 นันยางวางแผนการเติบโตต่อเนื่องที่ 3-5%  พร้อมเพิ่มกลยุทธ์เพื่อรุกขยายโอกาสทางการตลาดในทุกช่องทางและยังคงเน้นเป้าหมายหลักที่กลุ่มนักเรียน นักกีฬา คนทำงาน และผู้ใช้งานอเนกประสงค์