thansettakij
เปิดตัวหนังสือ การพัฒนาองค์ความรู้ฯ "ผ้าไทย" ปลุกกระแสงานฝีมือไทยสู่สากล

เปิดตัวหนังสือ การพัฒนาองค์ความรู้ฯ "ผ้าไทย" ปลุกกระแสงานฝีมือไทยสู่สากล

18 ส.ค. 2567 | 05:24 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ส.ค. 2567 | 05:58 น.

เปิดตัวหนังสือ Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2025 เป็นผลงานลำดับที่ 5 สร้างสรรค์ด้านงานออกแบบรากฐานดั้งเดิมของผ้าไทย สู่อุตสาหกรรมแฟชั่นได้ในระดับสากล ประจำปี 2567 ตามแนวดำริในโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”

นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ต้อนรับสู่ฤดูร้อนด้วยหนังสือการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่สากล ประจำปี 2567 (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2025) ตามแนวพระดำริใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ ‘ผ้าไทยใส่ให้สนุก’ เพื่อปลุกกระแสในเชิงความคิดสร้างสรรค์ให้ผสานเข้ากับงานศิลปหัตถกรรม งานฝีมือของไทย ยกระดับเตรียมพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นได้ในระดับสากล 

เปิดตัวหนังสือ การพัฒนาองค์ความรู้ฯ \"ผ้าไทย\" ปลุกกระแสงานฝีมือไทยสู่สากล

การจัดทำหนังสือฉบับนี้ ได้ผ่านการระดมความคิด หารือ ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ผ้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น การออกแบบแฟชั่น การทอ และการย้อมสีธรรมชาติ รวมไปถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์โทนสี ตลอดจนแนวโน้มและทิศทางและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย 

โดยวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่สากล ประจำปี 2567 (Thai Tone Trend Book 2024) โครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ แบ่งปัน และเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องสีสันโทนไทย (Thai Tone) สีธรรมชาติบนผืนผ้า เครื่องแต่งกาย ตลอดจนงานสิ่งทอ รวมถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ที่อยู่ในแวดวงผ้าไทย ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค ไปจนถึงระดับชาติ 

นำแนวคิดที่เป็นสากลมาช่วยต่อยอดแนวคิดในมิติการสร้างสรรค์และพัฒนาวงการ ผ้าไทยสู่การปฏิบัติได้จริง พร้อมสร้างแรงกระเพื่อมและปลูกจิตสำนึกในการยกระดับภาพลักษณ์อันดีงามและทันสมัย พร้อมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ประชาชน และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานศิลปหัตถกรรมของไทยให้แก่ประเทศได้อย่างยั่งยืน

เปิดตัวหนังสือ การพัฒนาองค์ความรู้ฯ \"ผ้าไทย\" ปลุกกระแสงานฝีมือไทยสู่สากล

“กรมการพัฒนาชุมชน เชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ผู้ประกอบการผ้าไทย เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการผ้าไทย ในการนำองค์ความรู้อันล้ำค่าจากหนังสือเทรนด์บุ๊กฉบับฤดูร้อน 2025 นี้ ไปสร้างสรรค์โทนสีบนผืนผ้าและงานหัตถกรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้ทรงคุณค่าอันประณีตงดงามและเต็มไปด้วยแนวคิดสร้างสรรค์" 

ทั้งนี้ ยังพร้อมด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามหลักแฟชั่นแห่งความยั่งยืน (Sustainable Fashion) ซึ่งจะส่งผลให้ภาพลักษณ์ของผ้าไทยมีความทันสมัยสู่สากล และสร้างรายได้ให้กับทุกฝ่ายเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง” 

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จากแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้นำมาสู่พันธกิจของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพและยกระดับผ้าไทยและงานหัตถกรรมไทยสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนได้อย่างยั่งยืน ผ่านโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” 

เปิดตัวหนังสือ การพัฒนาองค์ความรู้ฯ \"ผ้าไทย\" ปลุกกระแสงานฝีมือไทยสู่สากล

โดยตลอดเวลาการดำเนินงานกว่า 4 ปี ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงงานและทรงศึกษาผ้าทอพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน พระองค์ทรงสร้างแรงบันดาลใจ แบ่งปันองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนพระองค์ พระราชทานแนวพระดำริในการพัฒนาผืนผ้าและงานหัตถกรรมให้มีความร่วมสมัยและทัดเทียมได้ในระดับสากลให้แก่ช่างทอผ้า ช่างหัตถศิลป์ และช่างหัตถกรรม รวมถึงทรงพัฒนาออกแบบลายผ้าพระราชทาน โดยพระราชทานลายผ้านี้ให้แก่ศิลปิน ช่างทอผ้า และงานหัตถกรรมในทุกภูมิภาค เพื่อนำไปสร้างสรรค์ผืนผ้าและงานหัตถกรรมตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น    

“กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำแนวพระดำริมาพัฒนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญาผ้าไทยให้ทันสมัย ก้าวทันอุตสาหกรรมแฟชั่นโลก และปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ ดอนกอยโมเดล นาหว้าโมเดล บาติกโมเดล Young OTOP รวมถึงการพัฒนาโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) 

เปิดตัวหนังสือ การพัฒนาองค์ความรู้ฯ \"ผ้าไทย\" ปลุกกระแสงานฝีมือไทยสู่สากล ล่าสุดพระองค์ได้พระราชทานเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” แก่ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต และผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์ผืนผ้าและหัตถกรรมด้วยขั้นตอนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า สิ่งที่พระองค์พระราชทานเกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจฐานราก”

 นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ยังนำเสนอแนวทางการสร้างสรรค์สิ่งทอสำหรับฤดูกาล นอกจากเทคนิค  ยอดนิยมของสิ่งทอไทย อาทิ มัดหมี่ ยกดอก เกาะหรือล้วง ขิด และจก แล้ว ยังแนะนำรูปแบบเทคนิคการทอที่น่าจะนำกลับมาตีความใหม่ เช่น ผ้าทอเกล็ดเต่าหลากหลายขนาด ผ้ายกลายราชวัตรโคม/ดอกใหญ่ และเทคนิคผ้าขิดที่มีการตีความใหม่ ของกลุ่มหัตถกรรมทอผ้าขิดวัดโฆษาที่สอดคล้องกับกระแสแฟชั่นร่วมสมัย อีกความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนใน Thai Textiles Trend Book เล่ม 1-4 คือ การนำเสนอการผสมผสานเฉดสีสำหรับการใช้งาน (Colour Combination) ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านประยุกต์ใช้แนวคิดและองค์ความรู้ได้ง่ายขึ้น อันเป็นจุดประสงค์หลักของหนังสือเล่มนี้