การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติการ ททท. ประจำปี 2567 (Tourism Authority of Thailand Action Plan 2024 : TATAP 2024) ระหว่างวันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2566 ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. ในทุกภูมิภาคทั่วโลก เข้าร่วมประชุม ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.ตั้งเป้ารายได้การท่องเที่ยวปี 2567 กลับมา 100% ของระดับรายได้ในปี 2562 หรือก่อนโควิด-19 ระบาด โดยสร้างรายได้รวมการท่องเที่ยว 3,098,606 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 16% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มูลค่า 11,440,590 ล้านบาทแบ่งเป็น
ภายใต้ความคาดหวังว่าภาคท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์เดียวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย หลังภาคการส่งออกถูกประเมินว่าอาจติดลบในปีนี้
ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายการท่องเที่ยวในปี 2567 ของ ททท.เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายของสภาพัฒน์ในการสร้างรายได้รวมการท่องเที่ยวปี 2570 ที่ 5,599,377 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มูลค่า 12,635,424 ล้านบาท แบ่งเป็น
อย่างไรก็ตามในปี 2567 มีความท้าทายเรื่องของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ซึ่งแม้งบประมาณ 2567 จะต้องล่าช้าออกไปประมาณ 6 เดือน แต่ภาคการท่องเที่ยวมีฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม-สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ทำให้ททท. ได้ใช้งบประมาณจากงบกลางในการเริ่มต้นทำงานแล้ว โดยจะต้องพิจารณาการฟื้นตัวของเที่ยวบินด้วย นอกจากเที่ยวบินช่วงฤดูหนาวที่ใกล้จะมาถึงนี้ หากได้รับงบประมาณมาแล้วก็จะนำมาวางแผนเที่ยวบินฤดูร้อนต่อไป
ขณะนี้มีประเด็นในเรื่องความล่าช้าของงบประมาณประจำปี 2567 ที่ยังไม่แน่ใจว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะมีความคืบหน้ามากน้อยเท่าใด แม้ความจริงจะเคยเจอสถานการณ์การล่าช้าของงบประมาณเกิดขึ้นมาแล้ว ก็เป็นการนำงบประมาณมาใช้ได้ในสัดส่วน 50% ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้จ่ายประจำปีงบประมาณไปพลางก่อน
อย่างไรก็ตามก่อนรัฐบาลจะยุบสภา ททท. ได้เสนอของบประมาณปี 2567 จำนวน 5,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่ได้รับในปีงบ 2566 จำนวน 1,500 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ยังไม่สามารถใช้ได้ และหากมีการปรับเปลี่ยนวิธีจัดทำงบประมาณใหม่
อาทิ ทำเป็นงบประมาณฐานศูนย์ ก็ยังไม่รู้ว่าภาพจะเป็นอย่างไร โดยมองว่าแม้งบประมาณจะมาช้าแต่ก็ยังดีกว่าไม่มา ซึ่งททท.ก็จะเดินหน้าตามแผนงานที่วางไว้ต่อไป
ด้านนายโชติ ตราชู ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ดททท.) กล่าวว่าขณะนี้การท่องเที่ยวไทยอยู่บนทางสามแพร่ง จากปัจจัยใน 3 เรื่องทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง และโครงสร้างทางสังคม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความไม่แน่นอนของงบประมาณปี 2567 ที่ยังไม่รู้ว่าจะได้งบประมาณเมื่อไหร่ ททท.จะต้องวางแผนการดำเนินงานให้สอดรับกับสถานการณ์งบประมาณประจำปี 2567 ที่ยังไม่แน่นอนหรืออาจล่าช้าที่จะเกิดขึ้น
นายยุทธศักดิ์ ยังได้เสนอแนะถึงการเดินหน้าของ ททท. ในปี 2567 คือ Moving Forward to Better โดยปี 2567 จะเป็นปีแรกของการมุ่งสู่ Resilience ต่อจากความสำเร็จในการเปิดประเทศ (Reopen) และการฟื้นตัว (Recovery)
โดยต้องเริ่มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปสู่ระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosystem) ให้เป็นระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวที่มีความสมดุลระหว่างมูลค่าและคุณค่า “คุณค่า” คือ คุณค่าของประสบการณ์ (Value on Experience :VOX) ซึ่ง ททท. จะส่งมอบบนพื้นฐานของคุณภาพและความปลอดภัย
รวมถึง ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพอย่างยั่งยืน เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยกลับมาอย่างแข็งแกร่ง และสร้างความมั่นคงทางการท่องเที่ยว (Tourism Security)
ประกอบด้วยการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานบริการนักท่องเที่ยวอย่างเท่าเทียม การเร่งรัดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเดินหน้าการท่องเที่ยวด้วย ZEST ได้แก่
โดยจะควบคู่ไปกับการห่วงใยใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว หรือ CARE ได้แก่
ผมเชื่อมั่นว่าการดำเนินงานของ ททท. ภายใต้บริบทของ ZEST และ CARE จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน และสมดุล พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและคงความสำคัญของการเป็นกลไกสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป
ดังนั้นเพื่อให้รายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2567 กลับมา 100% ของระดับรายได้ในปี 2562 หรือ 3.1 ล้านล้านบาท ททท.จะเน้น Targeted & Keep Driving (Demand) ในเชิงคุณภาพเพิ่มทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักเที่ยว
โดยล็อกเป้า (Targeted) นักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพที่มีกำลังซื้อสูงและมีจิตสำนึกที่ดี กระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่นและชุมชน และ ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดสมดุลในมิติพื้นที่และเวลา
ขณะเดียวกันทางด้าน Supply เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน (Build for the next chapter, Act responsibly) จะเร่งสร้างอุปทานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เน้นความยั่งยืนในการสร้างการเติบโต เพื่อมุ่งสู่ Net Zero Tourism
นอกจากนี้การประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติการ ททท. ประจำปี 2567 ยังได้มีการร่วมกันระดมความคิดเห็นถึงแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ
อาทิ การส่งเสริมภาพลักษณ์และเสนอขายประสบการณ์ท่องเที่ยวไทยในมิติความยั่งยืน การกระตุ้นการใช้จ่ายและผลักดันการกระจายการเดินทางให้คนไทยท่องเที่ยวตลอดทั้งปี
การจัดเก็บข้อมูลลูกค้า ททท. และ Voice of Customers (VOC) รวมถึง Voice of Suppliers (VOS) ที่สำคัญ ผ่าน Touchpoints ใน Customer Journey ตลอดจนสรุปแผนการดำเนินงานส่งเสริมตลาดเชิงบูรณาการของ ททท. ปี 2567
นายยุทธศักดิ์ กล่าวต่อว่าการกลับมาของภาคท่องเที่ยว ไม่ใช่มีแค่ประเทศไทยกลับมาประเทศเดียว ประเทศอื่นๆ ก็กลับมาเช่นกัน เพราะฉะนั้นการแข่งขันจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ประกอบกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก จะยิ่งทำให้ประเทศอื่นๆ หันมารุกการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น จึงมองว่าต้องให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามแผน เพื่อให้รายได้รวมการท่องเที่ยวกับมาในระดับเดียวกับปี 2562
ขณะที่ความท้าทายของภาคท่องเที่ยวปี 2567 คือสถานการณ์ปริมาณเที่ยวบินที่ยังฟื้นตัวกลับมาไม่หมด โดยจากข้อมูลของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) คาดการณ์ว่าจะกลับมาเป็นปกติเร็วสุดในไตรมาส 4 ปี 2567 ใกล้เคียงกับปี 2562
“ถึงเวลา TAT (Tourism Authority of Thailand : ททท.) จะต้อง Turnaround Time นำการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน สมดุล เป็นส่วนสำคัญให้พร้อมรับมือกับวิกฤติหลากหลาย (Polycrisis) ในปัจจุบันและอนาคต” นายยุทธศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ททท. จะนำเสนอและแถลงทิศทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว ปี 2567 ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับทราบแนวทางในการร่วมกันขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ไปสู่การเป็นจุดหมายปลายทางที่ High Value และ Sustainable อย่างแท้จริง