"การบินไทย" ตีปีกไตรมาส 2/66 กำไร 2.2 พันล้าน ดันครึ่งปีแรกกำไร 1.47 หมื่นล้าน

11 ส.ค. 2566 | 01:44 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ส.ค. 2566 | 07:56 น.

"การบินไทย"ตีปีกประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 /2566 กำไร 2.2 พันล้าน หนุน 6 เดือนแรกปีนี้โกยกำไร 1.47 หมื่นล้าน กระแสเงินสดพุ่ง 51,153 ล้านบาท เดินตามแผนฟื้นฟูกิจการฉลุย ดูรายละเอียดงบการเงินล่าสุดได้ที่นี่

วันนี้(วันที่ 11สิงหาคม 2566) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2566 บริษัทการบินไทย และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ จํานวน 2,273 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 5,486 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 2,262 ล้านบาท

 

ส่งผลให้งบการเงิน 6 เดือนแรก ปี 2566 ของการบินไทยสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 การบินไทย มีกำไร 1.47 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนอยู่ 6,467 ล้านบาท

สรุปผลประกอบการไตรมาส 2 /2566 ของ "การบินไทย"

นางเฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2566 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 และงบการเงิน 6 เดือนแรกปี 2566 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)

\"การบินไทย\" ตีปีกไตรมาส 2/66 กำไร 2.2 พันล้าน ดันครึ่งปีแรกกำไร 1.47 หมื่นล้าน

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2566 บริษัทการบินไทย และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ จํานวน 2,273 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 5,486 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 2,262 ล้านบาท คิดเป็น กำไรต่อหุ้น 1.04 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 1.48 บาท 

โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตาม เงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour) เป็นกําไร จำนวน 9,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7,245 ล้านบาท

การบินไทย

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 8,576 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน 9,875 ล้านบาท โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 37,381 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 15,855 ล้านบาท (73.7%) สาเหตุหลักจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 17,736 ล้านบาท (132.5%)

ขณะที่มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นค่าใช้จ่ายรวม 2,643 ล้านบาท ส่วนใหญ่ เกิดจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 

\"การบินไทย\" ตีปีกไตรมาส 2/66 กำไร 2.2 พันล้าน ดันครึ่งปีแรกกำไร 1.47 หมื่นล้าน

สรุปสาระสำคัญผลประกอบการไตรมาส 2 / 2566 ของการบินไทย 

  • บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ จํานวน 2,273 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 5,486 ล้านบาท
  • ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเครื่องบินที่ใช้ทำการบินทั้งสิ้น 67 ลำ โดยมีอัตรา การใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน 11.8 ชั่วโมง
  •  มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 47.2% ปริมาณการ ขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 93.1% 
  • อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 79.2% สูงกว่าปีก่อน ซึ่งเฉลี่ยที่ 60.3% 
  • มีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 3.35 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 66.7% 
  • บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 8,576 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน 9,875 ล้านบาท 
  • มีรายได้รวมทั้งสิ้น 37,381 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 15,855 ล้านบาท (73.7%) สาเหตุหลักจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 17,736 ล้านบาท (132.5%)
  • การบินไทยเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยอดนิยม และมีการเพิ่มจุดบิน จำนวน 7 จุดบิน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง กวางเจา เฉิงตู ฮาเนดะ และฟุกุโอกะ
  • มีรายได้จากการบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้น 332 ล้านบาท (20.6%) ซึ่งหน่วยธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้โดยสารของสายการบินลูกค้าเพิ่มขึ้น 
  • มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 28,805 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 5,980 ล้านบาท (26.2%) 
  •  มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นค่าใช้จ่ายรวม 2,643 ล้านบาท ส่วนใหญ่ เกิดจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 

\"การบินไทย\" ตีปีกไตรมาส 2/66 กำไร 2.2 พันล้าน ดันครึ่งปีแรกกำไร 1.47 หมื่นล้าน

สำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 14,795 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 21,252 ล้านบาท โดย เป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 14,776 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 6.77 บาท สูงกว่าปีก่อน 9.73 บาทต่อหุ้น

บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ส่วนใหญ่เกิดจาก กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ และกำไรจากการขายสินทรัพย์ ถึงแม้จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร และโครงสร้างค่าตอบแทนบุคลากร ผลขาดทุนจากด้อยค่าของสินทรัพย์ ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตาม TFRS 9 และขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 

สรุปสาระสำคัญผลประกอบการ งวด 6 เดือนแรก ปี 2566 ของการบินไทย 

  • บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 14,795 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 21,252 ล้านบาท โดย เป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 14,776 ล้านบาท
  • มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่ รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจำนวน 21,600 ล้านบาท กำไรสูงกว่าปีก่อน 26,078 ล้านบาท (583.5%) 
  • มีรายได้รวม จํานวน 78,889 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46,183 ล้านบาท (141.2%) เสาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากกิจการขนส่งเพิ่มขึ้น 44,799 ล้านบาท (1519%) 
  • มีค่าใช้จ่ายรวมไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจำนวน 57,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20,105 ล้านบาท (54.1%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าน้ำมันเครื่องบินที่เพิ่มขึ้น 9,103 ล้านบาท (69.0%) เป็นผลมาจากจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น  ประกอบกับเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับปีก่อน 
  • EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขค่าเช่าเครื่องบินรวมค่าเช่าเครื่องบินคำนวณจากการใช้งาน ที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour) 6 เดือนแรกของปี 2560 มีกำไรจำนวน 23,361 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22,677 ล้านบาท
  • สภาพคล่อง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 51,153 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.9 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้นจาก ณ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 16,613 ล้านบาท (48.1%)

\"การบินไทย\" ตีปีกไตรมาส 2/66 กำไร 2.2 พันล้าน ดันครึ่งปีแรกกำไร 1.47 หมื่นล้าน

ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานของการบินไทยในช่วงไตรมาส 2 /2566 ที่พลิกมาทำกำไร 2,273 ล้านบาท หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนอยู่ 3,200 ล้านบาท จากการทำกำไรต่อเนื่องของการบินไทยในปีนี้ ส่งผลให้ผลประกอบการของการบินไทยในช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2566 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 การบินไทย มีกำไร 1.47 หมื่นล้าน เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนอยู่ 6,467 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 223,318 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 25,140 ล้านบาท (12.79%) หนี้สินรวมมีจำนวน 279,571 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 10,369 ล้านบาท (3.9%)

ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ติดลบจํานวน 56,253 ล้านบาท ติดลบลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 14,771 ล้านบาท