วันนี้ (1 สิงหาคม 2567) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยนางสาวสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ Narit โดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการ สดร. เปิดตัวโครงการ AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 3 ผลักดันการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ต่อเนื่อง เผยลิสต์ 18 พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ทั่วประเทศ
พร้อมมอบโล่ประกาศแก่พื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย เพื่อปลุกกระแส การเดินทางมิติใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวความสนใจพิเศษที่ต้องการเดินทางสัมผัสความงดงามของธรรมชาติยามค่ำคืน
นางสาวสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. เปิดเผยว่า โครงการ “AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 3” เป็นโครงการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องในกลุ่มนักท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ททท. และ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.โดยมุ่งสนับสนุนรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (Dark Sky Tourism) ให้เป็นหนึ่งในสินค้าการท่องเที่ยวที่สามารถส่งมอบประสบการณ์ท่องเที่ยวมิติใหม่ การท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience - based - Tourism)
ทั้งนี้เพื่อสร้างความหมายให้การเดินทางท่องเที่ยวในเมืองไทยมีคุณค่า แตกต่าง และน่าประทับใจมากกว่าที่เคย ทั้งยังสะท้อนศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวไทยที่มีกิจกรรมท่องเที่ยวหลากหลาย ตอบโจทย์ความสนใจของนักท่องเที่ยวอย่างครอบคลุม
สอดรับกับแนวทางการขับเคลื่อนปีท่องเที่ยวไทย 2567 และแคมเปญ “สุขทันที ที่เที่ยวไทย” เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 365 วัน โอกาสนี้ ททท. เล็งเห็นประโยชน์ของการต่อยอดประชาสัมพันธ์ เจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวคุณภาพกลุ่มความสนใจพิเศษ ผู้ที่สนใจดาราศาสตร์ ชื่นชอบการดูดาว และนักท่องเที่ยวทั่วไป ให้ออกเดินทางไปรับความสุขท่ามกลางธรรมชาติสัมผัสความสวยงามของท้องฟ้าประเทศไทย เรียนรู้ระบบสุริยจักรวาล ชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก หรือ ชมความสวยงามของกลุ่มดาวจักรราศีและดวงดาวต่างๆ ที่ปรากฏในท้องฟ้าแต่ละเดือน
นอกจากจะตื่นตาตื่นใจท้องฟ้าในยามค่ำคืน ณ สถานที่ดูดาวทั่วทุกภูมิภาคของไทย ยังเติมเต็มประสบการณ์การท่องเที่ยว ทั้งยังสอดแทรกความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ และนำไปสู่การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ หมุนเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึง อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลด้วย
ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานด้านดาราศาสตร์ และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยมีหนึ่งพันธกิจหลักสำคัญ คือ ให้บริการวิชาการ สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ และสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคม
เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้สถาบันฯ ได้ดำเนินโครงการเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยมาตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2563 เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงผลกระทบจากมลภาวะทางแสง อนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้า
ทั้งยังให้ความสำคัญในการประหยัดพลังงานและปรับพฤติกรรมการใช้แสงไฟ เป็นผลให้ในปี พ.ศ. 2565-2566 เกิดเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย จำนวน 30 แห่ง นับเป็นพื้นที่นำร่องปลุกกระแสความสนใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์ที่จะนำมากระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมประชาสัมพันธ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงทางดาราศาสตร์ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ และเป็นสถานที่ถ่ายภาพสำหรับกลุ่มนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ด้วยเหตุนี้ จึงผลักดันให้เกิดเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่รักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้มีความมืดที่เหมาะสม รักษาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศ
เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน เทศบาล ตำบล ที่รักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้มีความมืดที่เหมาะสม ภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชน
เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น รีสอร์ต โรงแรม ฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้ ฯลฯ ที่รักษา และสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้มีความมืดที่เหมาะสม ไม่มีมลภาวะทางแสง มีความปลอดภัย
เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง มีลักษณะเป็นลานโล่ง มีการใช้แสงสว่างอย่างระมัดระวังสามารถสังเกตปรากฏการณ์และจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางดาราศาสตร์ ซึ่งพื้นที่ที่รับเข้าเกณฑ์พิจารณาผ่านการคัดเลือก จะเป็นพื้นที่โล่งไม่น้อยกว่า 100 ตารางเมตรสังเกตการณ์ท้องฟ้าได้โดยรอบไม่น้อยกว่า 70 % ของพื้นที่ บริหารจัดการปริมาณแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพใน 3 ปัจจัย ได้แก่ ทิศทางแสง อุณหภูมิแสงสว่าง การควบคุมเวลาเปิดปิด ปราศจากแสงรบกวน ค่าความมืดท้องฟ้ามีค่าไม่น้อยกว่า 19 แมกนิจูด/ตารางฟิลิปดา สามารถสังเกตเห็นดาวเหนือได้และสังเกตเห็นดาวฤกษ์ที่สว่างน้อยที่สุด หรือวัตถุท้องฟ้าเด่น ๆ ได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน โดยต้องมีผู้ให้บริการความรู้พื้นฐานทางดาราศาสตร์ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการอย่างครบถ้วน อาทิ เส้นทางคมนาคม ห้องนำ ที่พัก ร้านอาหาร จุดบริการไฟฟ้า ฯลฯ
ในปี 2567 นี้ได้มีผู้แทนทั้ง 18 พื้นที่ดูดาว จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ประจำปี 2567 และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์สนับสนุนการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่สนใจต่อไป
Narit เปิดลิสต์ 18 พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ทั่วประเทศ ปี 2567 มีดังนี้
อุทยานท้องฟ้ามืด (Dark Sky Park) จำนวน 6 พื้นที่ ได้แก่
ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด (Dark Sky Communities) จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่
เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล (Dark Sky Properties) จำนวน 10 พื้นที่ ได้แก่
เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง (Dark Sky Suburbs) จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่
ทั้งนี้ ในอนาคต สดร. ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สำหรับหน่วยงาน โรงแรม รีสอร์ท ชุมชน ศูนย์วิทยาศาสตร์ หรือพิพิธภัณฑ์ ทั่วประเทศที่สนใจ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย คลิ๊ก