การบินไทยไตรมาส 2 ยังบวก ดันครึ่งปีแรกกำไร 2.7 พันล้าน

09 ส.ค. 2567 | 00:47 น.
อัพเดตล่าสุด :09 ส.ค. 2567 | 05:59 น.

การบินไทยไตรมาส 2 ยังบวก ดันครึ่งปีแรกทำกำไร 2.7 พันล้าน ทั้งคาดว่าจะสามารถดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนพร้อมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี ตามแผนฟื้นฟูกิจการ

วันนี้(วันที่ 9 สิงหาคม 2567) นางเฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินสำหรับไตรมาส 2 ปี 2567 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) 

โดยระบุว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2567 บริษัทการบินไทย และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิจำนวน 314 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 1,959 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 306 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.14 บาท ลดลงจากปีก่อน 0.90 บาทต่อหุ้น (86.5%)

ผลประกอบการการบินไทย ไตรมาส 2 ปี 2567

ผลประกอบการ การบินไทย 6 เดือนแรก ปี 2567

ส่งผลให้ผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรก หรือ  6 เดือนแรกของปีนี้ มีกำไร 2.7 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 1.47 หมื่นล้านบาท 

 

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงานของการบินไทยล่าสุด ดังนี้

  • ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 บริษัทฯ มีเครื่องบินที่ใช้ทำการบินทั้งสิ้น 77 ลำ
  • ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 บริษัทฯ มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบินเฉลี่ย 13.1 ชั่วโมง 
  • ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 21.1 % 
  • ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 11.9 % เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 
  • อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ปรับตัวลดลงจาก 79.2% ในงวดเดียวกันของปีก่อน เป็น 73.2% โดยไตรมาสที่ 2 เป็นช่วงที่ความต้องการเดินทางของผู้โดยสารต่ำที่สุดของปี 

ขณะที่ปี 2566 อุตสาหกรรมการบินยังอยู่ในระยะฟื้นตัวจากปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารคงค้าง การเปิด ประเทศของจีน และการผ่อนคลายและยกเลิกข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้อัตรา การบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ในไตรมาสที่ 2 ของปีก่อนอยู่ในระดับสูงกว่าภาวะปกติ

  • รายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วย (รวมค่าธรรมเนียมชดเชยค่าน้ำมันและคำเบี้ยประกันภัย) อยู่ที่ 3.07 บาท
  • จำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 3.81 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ
  • ด้านการขนส่งสินค้ามีปริมาณการผลิตด้านพัสดุภัณฑ์ (ADTK) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.5
  • ปริมาณการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (RFTK) เพิ่มขึ้น 24.4 % เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 51.5% ใกล้เคียงกับงวดเดียวกัน ของปีก่อน 

ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) ทั้งสิ้น 43,981 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 6,600 ล้านบาท (17.7%) โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากกิจการขนส่งที่ เพิ่มขึ้น 5,323 ล้านบาท (15.2%)

เนื่องจากการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน และเส้นทางบินที่ให้บริการเพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาร ที่เพิ่มขึ้น 4,963 ล้านบาท (15.9%) และมีรายได้จากค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 360 ล้านบาท (9.4%) 

นอกจากนี้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้จากกิจการอื่นเพิ่มขึ้น 724 ล้านบาท (37.3%) และมีรายได้ อื่นๆ เพิ่มขึ้น 553 ล้านบาท (115.0%)

ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนถึง 9,251 ล้านบาท (32.1%) ตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่ง จำนวนเที่ยวบิน จุดบิน และ ผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น 

รวมทั้งอัตราค่าบริการภาคพื้น ราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และการอ่อนค่าของเงินบาทที่ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมส่วนใหญ่ที่อยู่ในสกุลเงินต่างประเทศสูงขึ้น

ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไร จากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 5,925 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกัน ของปีก่อน 2,651 ล้านบาท (30.9%) และสำหรับต้นทุนทางการเงิน (ซึ่งเป็นการรับรู้ต้นทุนทางการเงินตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 : TFRS 9) จำนวน 4,796 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 829 ล้านบาท (20.9%)

อีกทั้งบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว สาเหตุหลักจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ผลขาดทุนจากการด้อยคำของสินทรัพย์ ถึงแม้จะมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนแบ่ง กำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม และกำไรจากการขายสินทรัพย์ 

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีรายการ ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิเป็นค่าใช้จ่ายรวม 809 ล้านบาท ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิจำนวน 314 ล้านบาท 

โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินเกิดขึ้นจริง (Power by the Hour) เป็นกำไรจำนวน 4,401 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 4,906 ล้านบาท (52.7%) 

นอกจากนี้การหาประโยชน์จากทรัพย์สินรองที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดย จำหน่ายเครื่องบินแบบแอร์บัส A340-600 จำนวน 1 ลำ และแบบโบอิ้ง 777-200 จำนวน 1 ลำ เครื่องยนต์อะไหล่ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว จำนวน 2 เครื่องยนต์ และทรัพย์สินอื่นๆ

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์ร่วมจำนวน 270,526 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 31,535 ล้านบาท (13.2%) หนี้สินรวมมีจำนวน 310,956 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 28,823 ล้านบาท (10.2%)

ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ บริษัทย่อย ติดลบจำนวน 40,430 ล้านบาท ติดลบลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 2,712 ล้านบาท

รวมทั้ง บริษัทฯ ได้ เข้าทำข้อตกลงสำหรับการจัดหาฝูงบินในระยะยาวกับ Boeing สำหรับการจัดหาเครื่องบินลำตัวกว้างระยะชาวรุ่น ใบทิ้ง 787 จำนวน 45 ลำ และจัดหาเพิ่มเติมอีก 35 ลำ ตามกรอบระยะเวลาร้านเครื่องบินระยะยาวตั้งแต่ปี 2570- 2576 เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตในระยะยาวรวมถึงทดแทนเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานนานและ/หรือหมดอายุ สัญญาเช่า 

บริษัทฯ คาดว่าจะมีเครื่องบินในปี 2576 จำนวน 96 ลำ (หากรับเครื่องบินตามสัญญาจำนวน 45 ลำ) หรือ 131 ลำ (หากรับเครื่องบินตามสัญญาจำนวน 80 ลำ)

บริษัทฯ จะกลับมาให้บริการในเส้นทางกรุงเทพ-บรัสเซลส์อีกครั้งในตารางบินฤดูหนาว 2567/2568 ซึ่ง คาดว่าจะกลับมาทำการบินในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป รวมทั้งจะเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินไปยังนาโกยา ละฮอร์ อิสลามาบัด และเดนปาซาร์ 

นอกจากนี้การบินไทยยังอยู่ระหว่างการเตรียมแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน(Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ 

บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนพร้อมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้งบการเงินประจำปี 2567 ของบริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก 

โดยเป็นหนึ่งในเงื่อนไขความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หลักทรัพย์ของบริษัทฯ สามารถกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้อีกครั้ง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นเดิม และนักลงทุน

ในการให้การสนับสนุนบริษัท และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทฯ ที่จะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และสร้างผลกำไรที่ดีอย่างยั่งยืน