จากกรณีเกิดอุบัติเหตุ เครื่องบินตก ที่ บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 15.17 น. ซึ่งเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก แบบ Cessna Caravan C208B เครื่องหมายสัญชาติ และทะเบียน HS-SKR ของบริษัท Thai Flying Service Company Limited ( ไทยฟลายอิ้ง เซอร์วิส) เที่ยวบิน TFT209 ซึ่งทำการบินรับส่งผู้โดยสารแบบไม่ประจำ เส้นทางบินจากสนามบินสุวรรณภูมิ-เกาะไม้ซี้ จ.ตราด ระหว่างทำการบินเครื่องบินขาดการติดต่อกับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศและหายไปจากจอเรดาร์
โดยบินขึ้นได้เพียง 10 นาที ก็พบว่าเกิดระเบิดและพุ่งตกลงมาในพื้นที่ป่าชายเลน โดยเครื่องบินลำนี้มีผู้โดยสาร ทั้งหมด 9 คน เป็นนักบิน 2 คน นักท่องเที่ยวจีน 5 คน และพนักงานต้อนรับ 2 คน ยืนยันผู้ที่อยู่ในเครื่องบินทั้ง 9 ชีวิตได้เสียชีวิตหมดแล้ว
ทั้งนี้ตลอด 11 ชั่วโมงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้พบชิ้นส่วนมนุษย์หลายชิ้น ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้เนื่องจากแรงระเบิดก่อนเครื่องบินตก กระแทก ส่วนชิ้นส่วนมนุษย์ที่พบจะนำส่งนิติเวชพิสูจน์อัตลักษณ์ รวมทั้งติดต่อญาติมาร่วมพิสูจน์ และติดต่อญาติเพื่อหาข้อมูลถึงการเดินทางเข้าประเทศ
ล่าสุดวันนี้ (วันที่ 23 ส.ค. 67) นายพงศ์เทพ ศิริสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการปฏิบัติการบินเครื่องบิน ตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน (สสอ. ) หรือ AAIC กล่าวว่า ขณะนี้ค้นหาชิ้นส่วนเครื่องบินได้แล้ว 30% จากทั้งหมด เมื่อเครื่องบินไม่มีกล่องดำ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องบิน เนื่องจากกล่องที่เจอเมื่อคืนเป็นเพียงกล่องข้อมูลที่จะทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการบินอัตโนมัติ ซึ่งทำหน้าที่ต่างกัน
สำหรับสาเหตุที่เครื่องบินลำนี้ไม่มีกล่องดำ เพราะทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO กำหนดว่าเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก และมีน้ำหนัก ไม่เกิน 5,700 กิโลกรัม จึงไม่จำเป็นต้องมีกล่องดำ
นอกจากนี้ผมยังได้ขอข้อมูลย้อนหลังไปทางบริษัทเจ้าของเครื่องบินดังกล่าวเป็นข้อมูลการซ่อมบำรุงย้อนหลังทั้งหมด โดยกรณีนี้ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าเกิดจากสาเหตุใด รวมไปถึงยังไม่ได้สรุปว่าเกิดจากปัญหาทางเทคนิคหรือไม่ เพราะต้องดูทุกชิ้นส่วนเครื่องบินนำมาประกอบกัน เพื่อวิเคราะห์ ซึ่งมีทีมงานร่วมกันวิเคราะห์ เบื้องต้นตนเองมีข้อสันนิษฐานแล้ว แต่ยังไม่สามารถที่จะเปิดเผยได้
อีกทั้งอยากขอความร่วมมือประชาชนหากใครมีภาพกล้องวงจรปิด หรือคลิปมือถือ หรือพบชิ้นส่วนเครื่องบิน ให้นำมาให้ตนเองเพื่อนำมาประกอบวิเคราะห์สาเหตุ เพราะชิ้นส่วนทุกชิ้นมีความหมาย
ด้าน นายพรชัย บุญม่วง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านการบำรุงรักษาเครื่องบิน สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์ของอากาศยาน ระบุว่า จากนี้ จะตรวจสอบจากเอกสารการซ่อมบำรุง ก่อนจะนำ ชิ้นส่วนที่พบทั้งหมด ไปตรวจสอบในลำดับต่อไป เพื่อหาสาเหตุที่เครื่องบินลำดังกล่าว