สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ว่า ครม.อนุมัติงบกลางปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,747.90 ล้านบาทโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์นี้ กรมการข้าวได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2560 – ปัจจุบัน มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 58 จังหวัด 5,818 กลุ่ม รวม 130,082 ราย มีพื้นที่ผลิตข้าวอินทรีย์รวม 1,209,911 ไร่
โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินชดเชยรายได้จากการผลิตข้าวที่ได้ผลผลิตลดลงในระยะเริ่มต้นของการผลิตระบบอินทรีย์ไม่เกิน รายละ 15 ไร่ ในอัตราตามที่กำหนด คือ 1.เกษตรกรที่ผ่านการประเมินเตรียมความพร้อม (T1) ไร่ละ 2,000 บาท,2.เกษตรกรที่ผ่านการประเมินระยะปรับเปลี่ยน (T2) ไร่ละ 3,000 บาท,3 เกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ Organic Thailand (T3) ไร่ละ 4,000 บาท นั้น
ล่าสุด นายสุเทพ คงมาก นายกกิตติมศักดิ์สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และที่ปรึกษาอธิบดีกรมการข้าว ด้านเกษตรอินทรีย์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หากสำนักงบประมาณโอนเงินมาให้กับกรมการข้าว ทางกรมก็พร้อมที่จะโอนต่อทันทีให้กับเกษตรกร เข้าบัญชี เกษตรกรผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพิ่มเติมอีกจำนวน 1,765,688,250 บาท ให้เกษตรกรจำนวน 2,918 กลุ่ม 61,448 ราย พื้นที่รับเงินอุดหนุน 509,525 ไร่
ด้านนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวได้ดำเนินการส่งเช็คเบิกจ่ายให้แก่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเบิกจ่าย ส่วนสำหรับในปีงบประมาณ 2566 กรมการข้าวจะจ่ายเงินอุดหนุนให้เกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ Organic Thailand (T3) ปี 2564 อีกจำนวนเงิน 1,494,460,000 ซึ่งในขณะนี้ทางกรมการข้าวได้รับการจัดสรรงบเงินอุดหนุนมาจำนวน 450,000,000 บาท
" โดยจะเร่งเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จ สำหรับในส่วนงบประมาณที่เหลือกรมการข้าวจะเร่งดำเนินการของบประมาณสนับสนุนจากงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ.2566 อีกจำนวน 1,044,460,000 บาท เพื่อนำมาจ่ายเกษตรกรให้ครบถ้วน"
แหล่งข่าวกระทรวงพาณิชย์ เผยการส่งออกข้าวอินทรีย์ไทย ระหว่างปี 2562 - 2564 ไทยส่งออกข้าวอินทรีย์เฉลี่ยปีละ 20,259 ตัน คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปี 2564 ไทยส่งออกข้าวอินทรีย์ปริมาณ 21,100 ตัน มูลค่า30 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ ถดลงจากปี 2563 ที่มีปริมาณส่งออก 23018 ตัน มูลค่า 36 ถ้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 8.33 และ 16.67 ตามลำดับ
โดยตลาดส่งออกข้าวอินทรีย์ที่สำคัญของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ผู้บริโภคใส่ใจในสุขภาพและให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (35.48%6)อิตาลี (15.38%) สวิตเซอร์แลนด์ (1 1.00%) ฝรั่งเศส (6.75%) และแคเมอรูน (5.22%) ตามลำดับ2)
ในปี 2565 (ม.ค. - ก.ค.) ไทยส่งออกข้าวอินทรีย์ปริมาณ 13,515 ตัน มูลค่า 18 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่มีปริมาณส่งออก 13,748 ตัน มูลค่า 21 ล้านดอลาร์สหรัฐฯหรือลดลง 1.699 และ 14.299 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (31.249) อิตาลี (18.47%)สวิตเชอร์แลนด์(16.599) ฝรั่งเศส (5.928) และเบลเยียม (4.70%) ตามลำดับ
ทั้งนี้ ตลาดที่ไทยส่งออกข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้น เช่น เยอรมนี (97.49%) แคนาดา (38.689) เบลเยี่ยม (27.77%) ฮ่องกง (23.98%) สวิตเซอร์แลนด์(8.89%) และอิตาลี (6.589) ในขณะที่ตลาดที่ไทยส่งออกลดลง เช่น เนเธอร์แลนด์ (31.48%) สหรัฐอเมริกา(19.90%) สิงคโปร์ (19.62%) และฝรั่งเศส (6.32%)
อนึ่ง โครงการข้าวอินทรีย์ 1 ล้านไร่ ปี 2560–2564 ด้วยกรอบวงเงินที่อนุมัติไป ประมาณ 9,696 ล้านบาท
ปีที่ 1 (ปี 2560) จำนวน 619.480 ล้านบาท
ปีที่ 2 (ปี 2561) จำนวน 1,580.880 ล้านบาท
ปีที่ 3 (ปี 2562 ) จำนวน 3,114.8961 ล้านบาท
ปีที่ 4 (ปี 2563) จำนวน 2,701.5741 ล้านบาท
ปีที่ 5 (ปี 2564) จำนวน 1,679.692 ล้านบาท