“มนัญญา” นำคณะลงพื้นที่ภาคใต้ ตอกย้ำทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก

10 พ.ย. 2565 | 11:19 น.
อัปเดตล่าสุด :10 พ.ย. 2565 | 18:19 น.

“มนัญญา ไทยเศรษฐ์” คณะลงพื้นที่ภาคใต้ ตอกย้ำทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก ย้ำจุดยืน เกษตรฯ ส่งออกทุเรียนไทยที่มีคุณภาพ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขานรับนโยบายสั่งจัดหน่วยบริการขึ้นทะเบียนและต่ออายุแปลง GAP Mobile เคลื่อนที่ให้บริการเกษตรกร ต่อเนื่อง

“มนัญญา” นำคณะลงพื้นที่ภาคใต้ ตอกย้ำทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก

 

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์และรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายภัสขญภณ  หมื่นแจ้ง ลงพื้นที่ภาคใต้ตอนบนจังหวัดชุมพร และสุราษฏร์ธานี เพื่อติดตามมาตรการส่งออกทุเรียนไทยตามข้อตกลงทางพิธีสารไทย-จีน โดยได้ย้ำถึงภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยในการประชุมผู้ประกอบการส่งออก และโรงคัดบรรจุ ณ ที่ว่าการอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งมีภาคเอกชนมาร่วมกว่า100 ราย ว่า ทุเรียนไทยเป็นทุเรียนที่ดีที่สุดในโลก (Thai durian of the best in the world) ทั้งด้านรสชาติและคุณภาพและขอยืนยันว่าประเทศไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชื่อเสียง รักษาตลาดส่งออก และรักษามาตรฐานการผลิตของทุเรียนไทยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคทั่วโลก

 

“มนัญญา” นำคณะลงพื้นที่ภาคใต้ ตอกย้ำทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก

 

“ ในปี 2564 มีปริมาณการส่งออกทุเรียนทั้งประเทศ จำนวน 925,855 ตัน มูลค่า 119,160 ล้านบาท และมีแนวโน้มการเติบโตของพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้นทุกปี จึงขอย้ำต่อผู้ประกอบการส่งออกว่า กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเพื่อนของท่าน เราเป็นเพื่อนคู่คิดที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อรักษาชื่อเสียงและมาตรฐานของทุเรียนไทยที่ส่งออกไปทั่วโลก ดังนั้นทุกมาตรการที่กรมวิชาการกำหนดออกมานั้นนอกจากมาตรการการส่งเสริม และการกำกับตามระเบียบที่กรมรับผิดชอบแล้ว ยังเป็นมาตรการที่มาจากการหารือกับประเทศคู่ค้าที่กำหนดร่วมกันอีกด้วย จึงขอฝากว่าทุกฝ่ายต้องช่วยกันยกระดับมาตรฐานโรงคัดบรรจุทุเรียนสดเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะด้านสุขอนามัยพืชตามพิธีสารไทย-จีน อย่างเคร่งครัด” 

 

 

 

ทั้งนี้ นางสาวมนัญญา กล่าวว่า  ขอให้พี่น้องเกษตรกรขาวสวนไปดำเนินการขอขึ้นทะเบียนแปลง GAP เพื่อยกระดับสวนสวนทุเรียน โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดรถ “GAP Mobile เคลื่อนที่” เพื่อช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรและลดระยะเวลาในการเดินทาง รวมถึงขอให้พี่น้องเกษตรกรช่วยกันรักษาชื่อเสียงของทุเรียนและป้องกันไม่ให้มีการสวมสิทธิ์ของทุเรียนไทย มั่นใจว่าต่อไปนี้นอกจากทั่วโลกจะรู้จักชื่อเสียงทุเรียนจันทบุรีและระยองแล้ว จะต้องรู้จักชื่อเสียงของทุเรียนภาคใต้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

“มนัญญา” นำคณะลงพื้นที่ภาคใต้ ตอกย้ำทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก

 

พร้อมกันนี้ ใต้ตรวจเยี่ยมกิจกรรม "GAP Mobile เคลื่อนที่ " เยี่ยมชมการจัดการสวนทุเรียนแปลง GAP และมอบทะเบียน GAP รหัสใหม่ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร พร้อมทั้งได้เปิดการประชุมผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุทุเรียนสดส่งออกณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถ และยกระดับมาตรฐานโรงคัดบรรจุทุเรียนสดของไทยเพื่อการส่งออก

 

“มนัญญา” นำคณะลงพื้นที่ภาคใต้ ตอกย้ำทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก

โดยต้องแยกประเภทกลุ่มโรงคัดบรรจุเพื่อบริหารความเสี่ยง และต้องปฏิบัติตามมาตรการตรวจสอบคุณภาพตามที่กำหนดและสุขอนามัยพืชของทุเรียนสดตามข้อตกลงในพิธีสารการส่งออกผลไม้ไทย-จีน พร้อมกับเน้นย้ำว่า"ทุเรียนไทยดีที่สุดในโสก" (Thai durian is the best in the world)

 

 

 

“มนัญญา” นำคณะลงพื้นที่ภาคใต้ ตอกย้ำทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก

 

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดกิจกรรม "GAP Mobile เคลื่อนที่"เร่งดำเนินการให้บริการขึ้นทะเบียน หรือต่ออายุสวน GAP ให้แก่เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนแปลงทุเรียนที่ขึ้นทะเบียน GAP ในพื้นที่รับผิดชอบของ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จ.สุราษฎรัธานี (สวพ.7) ซึ่งเป็นหน่วยงานในพื้นที่ของกรมวิซาการเกษตร และพร้อมส่งออกไปจีนแล้ว จำนวน  26,823 แปลง และมีโรงคัดบรรจุทุเรียนสดที่พร้อมรวบรรมและคัดบรรจุแล้ว จำนวน 490 โรงคัดบรรจุ ทั้งนี้คาดว่าตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป จะมีผลผลิตทุเรียนจำนวน 120,000 ตัน โดยเป็นทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพร 80,000 ตัน ซึ่งกรมวิชาการเกษตร พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบคุณภาพ และออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเพื่อส่งออกไปจีน

 

“มนัญญา” นำคณะลงพื้นที่ภาคใต้ ตอกย้ำทุเรียนไทยดีที่สุดในโลก

"ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ปัจจุบัน การส่งออกทุเรียนสดไทยไปจีนนั้นมิได้มีประเทศไทยเพียงประเดียวแล้ว แต่มีประเทศอื่นๆ ที่สามารถส่งออกทุเรียนสดได้แล้ว ดังนั้นเกษตรกรผู้ประกอบการ และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันสร้างจุดเด่นและความแตกต่างและเน้นย้ำมาตรฐานและคุณภาพทุเรียนไทย โตยต้องไม่มีทุเรียนอ่อนหรือทุเรียนต้อยคุณภาพส่งออกไปเด็ดชาด องเสริมสร้างแนวตและผลักตันเอกลักษณ์ "ผลไม่ไทย ผลไม้คุณภาพ" (Premium Thai Fruits) เพื่อช่วยกันสร้างความเชื่อถือ และความมั่นใจในผลไม้หรือทุเรียนที่ส่งออกมาจากเกษตรกรไทย ทั้งนี้เพื่อภาพลักษณ์ผลไม้ไทย ผลไม้ที่มีคุณภาพในตลาดส่งออกอย่างยั่งยืน"อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว