แหล่งข่าวผู้เลี้ยงไก่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ (23 พ.ย.65) สรุปประเด็นหารีอ: การดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ที่ประชุมพิจารณากำหนดมาตรการ มาตรการ ดังนี้
1. ขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่ยืนกรงปลดไก่ไข่ตามอายุที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
ㆍ ขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่ทุกราย เร่งปลดไก่ไข่ยืนกรงไม่ให้อายุเกิน 80 สัปดาห์ ยกเว้นรายย่อยที่เลี้ยงต่ำกว่า 30,000 ตัว ที่มิใช่ฟาร์มในระบบเกษตรพันธะสัญญาของผู้ประกอบการรายใหญ่
ㆍ ปลดไก่ไข่ยืนกรงที่อายุไม่ให้เกิน 78 สัปดาห์ สำหรับฟาร์มรายใหญ่ ขนาดการเลี้ยงตั้งแต่
100,000 ตัว ขึ้นไป ถึงสิ้นเดือนอันวาคม 2565
2. มาตรการสนับสนุนค่าบริหารจัดการเพื่อเร่งการปลดระวางไก่ยืนกรง
ㆍ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมไก่ไข่ (ปัจจุบันมียอดเงินคงเหลือ 37,786,220.35 (วันที่ 12 พ.ย. 2566)
ㆍ จ่ายเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการสำหรับผู้ประกอบการที่ซื้อไก่ไข่ปลดระวางมีชีวิต แล้วนำไปส่งออก เข้าโรงฆ่าสัตว์ และเก็บเข้าห้องเย็น จำนวน 10 บาทต่อตัว
ㆍ กำหนดเงื่อนไขจ่ายเงินสนับสนุนเฉพาะที่ปลดอายไม่เกินที่ขอความร่วมมือ (ต่ำกว่า 78 สัปดาห์)
ㆍเป้าหมาย 1,000,000 ตัว ระยะเวลา ภายใน 31 ธันวาคม 2565 รวมวงเงิน 10,000,000 บาท
3. มาตรการสนับสนุนค่าบริหารจัดการเพื่อผลักดันการส่งออกไข่ไก่
ㆍ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมไก่ไข่ (ปัจจุบันมียอดเงินคงเหลือ 37,786,220.35 (วันที่ 12 พ.ย. 2566)
ㆍ จ่ายเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการสำหรับผู้ประกอบการที่ส่งออก จำนวน 0.25 บาทต่อฟอง
ㆍ เป้าหมาย 20,000,000 ฟอง รวมวงเงิน 5,000,000 บาท ระยะเวลาเดือนธันวาคม 2565
อนึ่ง สถานการณ์การผลิตและการตลาดไข่ไก่
1 การเลี้ยงปูย่าพันธุ์ไก่ไข่ (GP) ปี 2565 มีแผนการเลี้ยง จำนวน 3,800 ตัว นำเข้าเลี้ยงแล้ว 3,730 ตัว คิดเป็น 98.16%
2 การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ปี 2565 มีแผนการเลี้ยง จำนวน 440,000 ตัว นำเข้าเลี้ยงแล้ว 359,075 ตัว คิดเป็น 81.61% จำนวนไก่ไข่ยืนกรงปัจจุบัน 51.41 ล้านตัว ประมาณการผลผลิต 42.67 ล้านฟองต่อวัน ส่วนต้นทุนการผลิตไข่ไก่ ไตรมาสที่ 3 เฉลี่ยทั้งปีฟองละ 3.40 บาท เดือนกรกฎาคม ฟองละ 3.35 บาท เดือนสิงหาคม ฟองละ 3.40 บาท และ เดือนกันยายน ฟองละ 3.44 บาท
ทั้งนี้ คาดการณ์ไตรมาส 4 ฟองละ 3.47 บาท เดือนตุลาคม ฟองละ 3.47 บาท เดือนพฤศจิกายน ฟองละ 3.48 บาท เดือนธันวาคม ฟองละ 3.47 บาท เฉลี่ยทั้งปีฟองละ 3.24 บาท ปัจจัยหลักมาจาก ค่าพันธุ์สัตว์ค่าอาหารสัตว์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น