พาณิชย์ เดินหน้ายกระดับสินค้าชุมชน  ดึงเอกชนช่วยซื้อกว่า100ตัน

23 ธ.ค. 2565 | 18:30 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ธ.ค. 2565 | 22:49 น.

พาณิชย์ เดินหน้ายกระดับสินค้าชุมชน  ดึงเอกชนช่วยซื้อ“เงาะโรงเรียนนาสาร” กว่า100ตัน  “สินิตย์” ลุยสุราษฎร์ฯ กระบี่ ดันสินค้าGI ทั่วประเทศ

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากโดยใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้าGIในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชน  ซึ่งการลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ครั้งนี้ได้มอบหนังสือรับรอง การขึ้นทะเบียน GI ให้กับ ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี และ ปลาเม็งสุราษฎร์ธานีและ ล่าสุดกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ร่วมกับภาคเอกชนของจังหวัด       สุราษฎร์ฯ ส่งเสริมการตลาดให้สินค้า GI นำรายได้มาสู่ชุมชนท้องถิ่น  

 

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

 

โดยได้ร่วมมือกับชมรมร้านอาหาร สมาคมโรงแรมและท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ฯ เพื่อให้ ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี เป็นเมนูประจำร้านอาหารและโรงแรมในจังหวัด การทำสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้า เงาะโรงเรียนนาสาร กว่า 100 ตัน กับ ท็อปส์เพื่อนำไปจำหน่าย ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังได้จับคู่ธุรกิจให้สินค้า GI ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี กับบริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล และร้านสมุนไพรว.วังพรม สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นในระยะยาว

พาณิชย์ เดินหน้ายกระดับสินค้าชุมชน  ดึงเอกชนช่วยซื้อกว่า100ตัน

 

สำหรับ ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี และปลา เม็งสุราษฎร์ธานี สร้างมูลค่าทางการตลาดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดกว่า 660 ล้านบาท สำหรับจังหวัดกระบี่ มีสินค้า GI ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 1 สินค้า คือ กาแฟเมืองกระบี่ สร้างมูลค่าทางการตลาดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนใน จังหวัดกว่า 20 ล้านบาท โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเดินหน้าส่งเสริมการขึ้นทะเบียน GI อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและนำรายได้กลับสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมกระบวนการผลิตสินค้า ทุเรียนทะเลหอย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดกระบี่ ที่คาดว่าจะได้รับการขึ้นทะเบียน GI ภายในช่วงต้นปี 2566 เพื่อตรวจสอบคุณภาพและมอบนโยบายในการส่งเสริมสินค้าดังกล่าว

 

พาณิชย์ เดินหน้ายกระดับสินค้าชุมชน  ดึงเอกชนช่วยซื้อกว่า100ตัน

 

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์จะเร่งดาเนินการผลักดันนโยบาย ด้านการส่งเสริมสินค้า GI อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการ เร่งรัดการขึ้นทะเบียน ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ถึงประโยชน์ของการคุ้มครอง GI ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น จัดทำระบบควบคุมคุณภาพเพื่อรักษามาตรฐานของสินค้า GI ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และการส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสและยกระดับ สินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชนสู่สินค้าระดับพรีเมี่ยมต่อไป