นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ หารือกับรัฐมนตรีกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว ด้านวิชาการเกษตรและกักกันพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกผลไม้คุณภาพจากประเทศไทยที่ปลอดภัยจากสารเคมี
พร้อมอำนวยความสะดวกในการค้าผ่านแดนไปยังประเทศที่สาม โดยไม่มีการตัดซีลตู้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรในการส่งออกผลไม้ เฉพาะอย่างยิ่งในฤดูการส่งออกทุเรียนของภาคตะวันออกที่กำลังจะมาถึง
ในงานถ่ายทอดเทคโนโลยีกรมวิชาการเกษตรภาคตะวันออกนี้ จะเน้นย้ำการเพิ่มมูลค่าการส่งออกทุเรียนภาคตะวันออกในการเป็น Product Champion ที่เกิดจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนที่สร้างมูลค่ามหาศาลให้กับภาคตะวันออกและประเทศไทย
สำหรับกิจกรรมและนิทรรศการภายในงาน ประกอบด้วย
1.“มหานครผลไม้ ส่งออกก้าวไกล ทุเรียนไทย ทุเรียนคุณภาพ”เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพ การดูลักษณะภายนอกของผลทุเรียนแก่ มาตรฐานการผลิต GAP การตรวจสอบคุณภาพทุเรียนเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งก่อนการส่งออก การรับรองมาตรฐานโรงคัดบรรจุ GMP และ GMP PLUS การส่งออกผักผลไม้ตามพิธีสารไทย-จีนการตรวจสอบ และออกใบรับรองสุขอนามัยพืช การสุ่มตัวอย่างก่อนปิดตู้ และการให้บริการรับรองระบบ“E-phyto”
2.“ปุ๋ยชีวภาพและชีวภัณฑ์ กับนวัตกรรม BCG”เพื่อขานรับนโยบายรัฐบาลในการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ได้แก่ ปุ๋ยหมักเติมอากาศแหนแดงปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ปุ๋ยชีวภาพอาร์บัสคูล่าร์ไมคอร์ไรซา เห็ดเรืองแสงบีเอสไตรโคเดอร์มา ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยบีที
3.“ผลสัมฤทธิ์โครงการมองผ่านงานขยายผล”นิทรรศการภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โครงการศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงฯ โครงการพัฒนาพื้นที่รอบวัดญาณสังวรารามฯ โครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชฯ จ.จันทบุรี โครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชฯ จ.ปราจีนบุรี และนิทรรศการการใช้ถ่านไบโอชาร์ในการเพิ่มผลผลิตดอกเห็ด
4.“ผักกระชับพืชท้องถิ่นอนาคตไกลในภาคตะวันออก”เทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับผักกระชับ
5. “พืชผักหมุนเวียนในระบบเกษตรอินทรีย์” แบบจำลองการผลิตผักหมุนเวียนในระบบเกษตรอินทรีย์ การปลูกพืชผักสลับตระกูลในแปลงปลูกเดิม ชนิดศัตรูพืชในพืชผักแต่ละตระกูล และการจัดการศัตรูพืชผักอินทรีย์ และข้อกำหนดการตรวจรับรองตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ Organic Thailand
6. “พ.ร.บ. ควบคุมยางกับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน” พระราชบัญญัติควบคุมยางต่อการพัฒนายางด้านต่างๆ
7. พืชไร่เศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปพันธุ์และการจําแนกพันธุ์มันสําปะหลัง ความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมมันสําปะหลัง เทคโนโลยีการผลิตมันสําปะหลังครบวงจร การผลิตท่อนพันธุ์มันสะอาด ระบบการจัดการน้ำตามความต้องการของพืชไร่เศรษฐกิจโดยใช้ระบบตรวจวัดสภาพอากาศรายแปลง และสาธิตการวัดการกักเก็บคาร์บอนและไนตรัส ตามนโยบายลดก๊าซเรือนกระจก
8. "ไผ่" พืชทางเลือกใหม่ เพื่ออนาคตเกษตรกรไทย ก้าวไกลสู่ครัวโลก”การผลิตไผ่ครบวงจรระยะปลูก การใส่ปุ๋ย การชุบสารฟอกขาวของหน่อไผ่ สายพันธุ์ไผ่และการเจริญเติบโต และการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากการผลิตไผ่ การทำถ่านไผ่อัดแท่ง
9. “แมลงกินแมลงวิถีแห่งความสมดุลของระบบนิเวศ” การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติควบคุมแมลงศัตรูพืช รู้จักแมลงศัตรูธรรมชาติ (แมลงห้ำ แมลงเบียน)
10.“เทคโนโลยีการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจให้มีคุณภาพและยั่งยืน”นิทรรศการพืชทุเรียนพื้นเมืองที่มีศักยภาพ 10 สายพันธุ์ เทคนิคการเสียบยอดทุเรียน เทคโนโลยีการผลิตทุเรียน Zero waste จากเปลือกและเมล็ดทุเรียน การป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนด้วยวิธีผสมผสานร่วมกับการใช้น้ำชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีทาแผลที่ต้นทุเรียนนิทรรศการมังคุด เทคนิคการเสียบยอดมังคุด การแต่งกิ่ง การผลิตมังคุดหูเขียว การแก้ปัญหาฟอสฟอรัสตกค้างในดิน และ Zero waste จากผลและเปลือกมังคุด
11.โรงเรือนอัจฉริยะ”เพื่อเกษตรยุคใหม่โดยระบบควบคุมสมองกลฝังตัวถูกออกแบบและพัฒนาเพื่อใช้ควบคุมสภาวะอากาศอัตโนมัติในโรงเรือนอีแวปสมการควบคุมที่สอดคล้องตามหลักเกษตรศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวอีกว่า ในงานมีการเสวนาวิชาการ “มหานครผลไม้ ส่งออกก้าวไกล ทุเรียนไทย ทุเรียนคุณภาพ” โดยมีผู้แทนภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุและเกษตรกร GAP ดีเด่นภาคตะวันออกเข้าร่วม พร้อมด้วยการเสวนา“ปลูกมันสำปะหลังให้ได้กำไรในช่วงวิกฤตโรคระบาดและปุ๋ยราคาแพง”โดยสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถรับบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่กรมวิชาการเกษตร โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาการผลิตพืช พร้อมกับเยี่ยมชมนิทรรศการและยังได้รับแจกปัจจัยการผลิตได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ต้นพันธุ์ทุเรียนปุ๋ยหมักเติมอากาศด้วย ซึ่งเกษตรกร และผู้สนใจ สามาาถเข้าชมเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง คาดงานนี้จะมีเกษตรกรร่วมงานกว่า 600 ราย