กรมการข้าว เปิดตัว "โครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ข้าว ปี 2566 " โดยวางแผนการดำเนินงานโครงการนี้ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งในปีแรก มีเป้าหมายการดำเนินการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวน 58,700 ตัน ให้แก่ชาวนาไม่น้อยกว่า 205,965 ครัวเรือน ในพื้นที่ 76 จังหวัด เพื่อส่งเสริมให้ชาวนาสามารถเข้าถึงและได้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีจากกรมการข้าวทั่วประเทศ ทั้งหมด 20 สายพันธุ์
ได้แก่ กลุ่ม ข้าวหอมมะลิ จำนวน 3 หมื่นตัน และ,ข้าวข้าวเจ้าพื้นแข็ง จำนวน 23,000 ตัน ,ข้าวเจ้าพื้นนุ่ม,ข้าวเหนียว และข้าวหอมไทย
นายจารึก กมลอินทร์ ประธานคณะกรรมการกลางศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าโครงการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี 2566 ว่า ขณะนี้กำลังตรวจสอบรายชื่อคุณสมบัติเกษตรกรขึ้นทะเบียน ซึ่งพบว่าบางคนขึ้นทะเบียนปลูกมันสำปะหลังก็มาเข้าร่วม หรือบางทีชาวไร่อ้อย มาปลูกในพื้นที่นาก็มี จึงต้องใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลของเกษตรกร
ส่วนอีกด้านกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ กลุ่มผู้ผลิต อยู่ในช่วงคัดบรรจุ รมยากันมอด กำลังรอเจ้าหน้าที่ศูนย์จะออกไปสุ่มตรวจให้เกษตรกรนำมาส่งศูนย์ นี่เป็นระบบของศูนย์เมล็ด ไม่ใช่ว่าจะเอามาขายได้เลยก็ต้องใช้เวลา นี่เป็นกระบวนข้าวที่ผลิตเมล็ดพันธ์ที่จะเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์
“ปัญหาการเก็บรักษาของเกษตรกรไม่เหมือนศูนย์ฯ เมื่อรับมอบไปแล้วเก็บไว้นาน กลัวจะเป็นมอด ไม่ได้คุณภาพ เกรงว่าจะมีข่าวว่าข้าวที่ศูนย์แจกไปในโครงการเกิดปัญหาภายหลัง จะไม่เหมือนภาคกลางเพราะทำนาตลอด แต่พื้นที่อีสานกว่าจะได้ปลูกข้าวก็นาปี ประมาณช่วง เดือนพฤษภาคม –กรกฎาคม จะหว่านกันแล้วถ้าเก็บไม่ดี ก็จะมาโทษศูนย์ฯ ซึ่งก็มีความเป็นห่วงประเด็นนี้"
นายจารึก กล่าวว่า โครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าว ในทางปฏิบัติไม่ชี้ชัดว่าจะทำอย่างไรดี มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 ก็คือข้าวแลกข้าว เช่น เกษตรกรนำข้าวหอมมะลิ 1 กิโลกรัม ก็จะแลก พันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัม เพื่อที่จะดึงข้าวเกษตรกรออกจากยุ้งฉาง แต่ถ้าหากขายข้าวไป ก็กลัวว่าเกษตรกรจะนำข้าวราคาต่ำไปขาย นี่คือข้อกังวล
ส่วนวิธีที่ 2 ก็คือ ขายข้าว ส่วนวิธีที่ 2 ก็คือขาย 3-5 บาท/กก. ก็มีหลายจังหวัดที่ดำเนินการไปแล้วตามคุ่มือ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเกษตรกรจะนำข้าวไปปลูกจริงหรือไม่ อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติมีการถกเถียงกันอยู่ ว่าจะเดินตามวิธีการที่ 1 หรือ วิธีที่ 2 แต่ทั้ง 2 วิธี หากเลือกปฎิบัติก็ไม่มีความผิด สามารถทำได้
สำหรับคุณสมบัติเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่
1. เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2564/65 และไม่ได้รับความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานของกรมการข้าวในปี 2565-2566
2.เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริงที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ ไร่ละ 15 กิโลกรัม รายละไม่เกิน 450 กิโลกรัม
3.ให้เกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการกับผู้นำชุมชน อาสามัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) หรือประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กรณีเกษตรกรให้ความสนใจจัดซื้อเมล็ดพันธุ์มากกว่าเป้าหมายที่ได้รับแต่ละจังหวัด ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจะพิจารณาตามลำดับดังนี้
1. เกษตรกรที่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง (ไม่เคยเปลี่ยนพันธุ์ข้าว)
2.เกษตรกรที่ซื้อพันธุ์ข้าวจากเกษตรกรเพื่อนบ้านในชุมชน
3.เกษตรกรที่เคยใช้พันธุ์ข้าวคุณภาพดี จากกรมการข้าว หรือแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีอื่นๆ
ทั้งนี้ตามคู่มือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องชำระเงินค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับศูนย์จำหน่าย และการเบิกจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว โดนผู้นำกลุ่มเกษตรกรติดต่อประสานงานกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรตามรายชื่อเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ (คปม.01) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวตรวจสอบรายชื่อที่ผ่านคุณสมบัติของโครงการ (คปม.01)
พร้อมทั้งตรวจสอบปริมาณมล็ตพันธุ์ที่จะจำหน่าย และดำเนินการตามกระบวนการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยออกใบส่งของและกำกับสินค้า (0O) รับชำระเงินค่าเมล็ดพันธุ์ตามราคาในเงื่อนไขข้อ 4 พร้อมทั้งออกใบเสร็จรับเงินค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับผู้นำกลุ่มเกษตรกรหรือเกษตรกร เป็นเงินสดจำนวน. .บาท (ตามเงื่อนไขข้อ 4) และให้หมายเหตุ เป็นเงินเชื่อจำนวน ..บาท (ส่วนต่างราคาตามประกาศราคาจำหน่ายเมล็ตพันธุ์พืชของกรมการข้าว ณ วันที่ 11 มกราคม 2565)
กรณี ศูนย์ฯ ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวนมากสามารถออกใบส่งของและกำกับสินค้า (DO)และใบเสร็จรับเงิน (ค่าเมล็ดพันธุ์) เป็นรายกลุ่ม โตยมีรายชื่อเกษตรกรแนบตามแบบฟอร์ม (คปม.01 และ คปม.01-1) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวประสานงานกับผู้นำกลุ่มเกษตรกรจัดส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวตามปริมาณที่ได้รับการชำระเงินค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวเรียบร้อยแล้ว โตยการส่งมอบแต่ละจุดต้องไม่น้อยกว่า 30 ตัน หรือตามความเหมาะสม และรถบรรทุกชนส่งสามารถเข้าออกไต้สะดวก
ส่วนเกษตรกรลงลายมือชื่อรับเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้เป็นหลักฐานในใบรับเมล็ดพันธุ์ข้าวจากโครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ข้าว ปีงบประมาณ 2566 (คปม.02) 5 เมื่อศูนย์เมล็ตพันธุ์ข้าว ดำเนินการจำหน่ายและเบิกจ่ายเงินค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวเรียบร้อยแล้วให้ส่งสำเนาสรุปผลการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว เสนอกองเมล็ตพันธุ์ข้าวตามแบบสรุปผลการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว(คปม.03)
เมื่อศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ดำเนินการจำหน่ายและเบิกจ่ายเงินเมล็ดพันธุ์ข้าวเรียบร้อยแล้วให้ส่งสำเนาสรุปผลการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว เสนอกองเมล็ดพันธุ์ข้าวตามแบบสรุปผลการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว (คปม.03)6 การบันทึกบัญชีเงินทุนหมุนเวียนฯ เมื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้กับผู้นำกลุ่มเกษตรกรและเบิกเงินงบประมาณจากโครงการแล้ว ให้บันทึกข้อมูลบัญชีเงินทุนหมุนเวียนฯ ให้ครบถ้วน
ตัวอย่าง ขายเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ขาวดอกมะสิ 105 ชั้นพันธุ์จำหน่าย ให้กับนายสมมุติ มีดี (ผู้นำกลุ่มเกษตรกรบ้านนาทองคำ) จำนวน 1,000 กิโลกรัม มูลคำตามประกาศราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชของกรมการข้าว ณ วันที่ 11 มกราคม 2565 กิโลกรัมละ 24 บาท รวมเป็นเงิน 24,000 บาท เกษตรกรจ่ายเงินให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวตามเงื่อนไขโครงการกิโลกรัมละ 5 บาท ให้ศูนย์ ๆ บันทึกบัญชีเงินทุนฯ รายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์รวมเป็นเงิน 5,000 บาท(1,000 กก x 5 บาท = 5,000 บาท และบันทึกบัญชีลูกหนี้ค่าเมล็ดพันธุ์โครงการฯ กิโลกรัมละ 19 บาท รวมเป็นเงิน19,000 บาท (1,000 กก. x 19 บาท = 19,000 บาท)
ขณะที่ ดร.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และในฐานะประธานศูนย์ข้าวชุมชนสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ร้อยเอ็ดจำกัด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า รับรู้โครงการ โดยให้ผู้ที่มีความประสงค์มาลงชื่อทำตามคู่มือ ซึ่งไม่ได้เรียกว่าขาย โดยในพื้นที่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ จะส่งรายชื่อเกษตรกรไปตามความประสงค์ของเกษตรกร โดยทางศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวก็จะนำเมล็ดพันธุ์มาให้ เกษตรกรก็จ่ายค่าต่างตอบแทนไปกิโลละ 5 บาท ซึ่งขั้นตอนเป็นไปตามคู่มือ
“แต่ทั้งนี้พื้นที่บริเวณนี้จังหวัดภาคอีสาน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ความจริงอย่ามาเก็บ 5 บาท/กิโลกรัมเลย ให้นำมาช่วยแบบให้เปล่า เพราะเกษตรกรน่าสงสาร ทั้งในรูปแบบเมล็ดพันธุ์และไม่ใช่เมล็ดพันธุ์ หายไปกับ “พายุโนรู” หมดแล้ว อย่างไรก็ดีเมื่อพูดถึงในเรื่องนี้ก็มีความไม่สบายใจ จะไปเก็บเงินชาวนาทำไม เพราะข้าวไม่มีทั้งขาย ไม่มีจะปลูกและไม่มีจะกิน ยังจะมาเก็บเงินกันอีก”
ดร.รณวริทธิ์ กล่าวว่า หากจำกันได้ไหม ในช่วงพายุโพดุล มีโครงการชดเชยเมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วทำไมตอนพายุโนรู ปีที่แล้วทำไมไม่ชดเชยให้ เพราะสถานการณ์หนักไม่ต่างกันเลย แล้วที่จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากจะริมฝั่งแม่น้ำชี ซึ่งเป็นขาประจำน้ำท่วมอยู่แล้ว ปีนี้ สุวรรณภูมิ โพธิ์ไทร หนองฮี ฝั่งที่อยู่ติดกับลำน้ำมูล และลำน้ำเสียว ก็ท่วม และวันนี้ก็ไม่ได้ทำนา นั่งมองตาปริบๆ ไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าว จะเอาอะไรไปปลูก และไม่ได้ขายข้าว
“ช่วงนี้เป็นการทำนาปรัง ไม่มีเงินซื้อเมล็ดพันธุ์ไม่มีเงินซื้อปุ๋ย ล่าสุดเพิ่งพาคณะสมาชิกวุฒิสภาลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกคนน้ำตามซึมกันหมดเลย ตั้งคำถามว่าทำอะไรกันอยู่ และไม่ใช่ร้อยเอ็ดจังหวัดเดียว ผมถามในสภาก็เงียบ เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา อธิบดีกรมการข้าว มานั่งฟัง ผมก็ได้ถาม ก็ตอบไม่ได้ ตอบไม่ตรงประเด็นอ้อม ไม่ตรงในเรื่องที่ถาม ทั้งที่หน่วยราชการมีฐานข้อมูลรายงานน้ำท่วม แล้วที่จ่ายเงินชดเชยเยียวยาไปแล้ว เสนอแนะให้มาทำโครงการ แล้วให้ชดเชยเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อให้ชาวนาจะได้ลงมือปลูก เพราะวันนี้นาปรังก็ไม่ได้ปลูก ดังนั้นในเงินซื้อกิโลฯ ละ 5 บาทไม่ควรจะไปเก็บเงิน ควรจะให้ฟรีไปเลย ส่วนกรมการข้าว ก็มีเรื่องให้ทำมากกว่านี้ทำไมไม่ทำ ควรจะเป็นการเยียวยา หรือฟื้นฟู ที่เป็นการเอื้ออาทรต่อกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ ” ดร.รณวริทธิ์ กล่าวย้ำ ในตอนท้าย
แหล่งข่าวผู้ค้าวงการข้าว เผยว่า ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 58,700/17,061 = 3.44/ก.ก.(3,4,5บ.) เมล็ดพันธุ์ที่จำหน่ายในตลาด กิโลละประมาณ14-15บาท ข้าวพันธุ์หอมมะลิ กิโลละประมาณ 23-24บาท ส่วนต่างที่ใช้งบประมาณจากไหนมาชดเชย พันธุ์ข้าวของเกษตรกร นำมาแลกเปลี่ยน จะดำเนินการต่อไปอย่างไรและจะแน่ใจได้อย่างไร ว่าเกษตรกร ที่เข้ารวมโครงการจะนำเมล็ดพันธุ์ ไปเพาะปลูกจริง ไม่นำไปจำหน่ายขายต่อชนิดพันธุ์ ที่นำมาจำหน่ายในราคาถูก ตรงวัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์หรือไม่ หรือว่าเป็นเพียงเมล็ดพันธุ์ราคาถูกเป็นสิ่งจูงใจเกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการนี้จริงหรือไม่ เป็นการแก้ปัญหา ตรงจุดหรือไม่
อย่างไรก็ดีในโครงการดังกล่าวนี้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมารัฐบาลเน้นข้าวพื้นนุ่ม เพื่อจะขายแข่งกับเวียดนาม แต่ทำไมการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแค่ 1,500 ตันก็รู้สึก งง และข้อสังเกตอีกอย่าง โครงการนี้อย่าให้กรมการข้าวจัดซื้อจัดจ้างเมล็ดพันธุ์แล้วส่งมา เพราะถ้าให้กรมการข้าวจัดซื้อมาแล้วก็จะไปกินเงินส่วนกลาง แต่ต้องให้ศูนย์ข้าวชุมชนไปเป็นตัวขับเคลื่อน แต่ถ้าให้ศูนย์ข้าวชุมชน แลกข้าวแต่ละศูนย์เอง แล้วถ้าขายขาดทุนรัฐบาลจะชดเชยให้ 17,000 บาท มองว่าเป็นการซื้อข้าวให้เกษตรกรในราคาถูก โดยรัฐบาลเป็นคนจ่ายให้ ถ้าผลประโยชน์ตกอยู่ตามเป้าเกษตรกร จะได้เปลี่ยนพันธุ์ข้าวตามวัตถุประสงค์