นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ 1 ในสินค้าเกษตร 23 รายการที่สำคัญด้านความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งในด้านการบริโภคและการส่งออกสำคัญของประเทศไทย อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค AEC – FTA, FATA, WTO เนื่องจากข้าวเป็นพืชหลักของประเทศที่ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดยในรอบที่ 1 (นาปี) ประมาณ 60 ล้านไร่
ส่วนรอบที่ 2 (นาปรัง) ประมาณ 10 ล้านไร่ ผลผลิตข้าวเปลือกมวลรวม 30 ล้านตัน สีแปรรูปเป็นข้าวสารส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลกประมาณ 7.5-10 ล้านตัน ผลมาจากข้าวหอมดอกมะลิ 105 ชนะประกวดข้าวที่อร่อยที่สุดของโลก 7 ใน 14 ครั้ง เป็นดัชนีชี้นำให้ตลาดผู้บริโภคต้องการข้าวหอมดอกมะลิ 105 ไทย และข้าวไทยเป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารเกษตรชั้นเลิศ เป็นข้าวสารบริโภคภายในประเทศ ประมาณ 7 ล้านตัน
โดยแยกเป็นข้าวสารบรรจุภัณฑ์แบรนด์ต่าง ๆ 3.3 ล้านตัน ส่วน 3.7 ล้านตัน เป็นข้าวสาร ท้องถิ่นจากโรงสีข้าวชุมชน และ 1.5-2 ล้านตันใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวใช้เพาะปลูก มีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพ ทำนาประมาณ 4.70 ล้านครัวเรือน ประเทศไทยชาวนาเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ประกอบอาชีพปลูกข้าวมากที่สุด ที่ผ่านมาพื้นที่ทำนาประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งอุทกภัย ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และการระบาดของโรคและแมลง ทำให้ผลผลิตนาข้าวเสียหายเป็นจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตข้าวสูงขึ้น ประกอบกับราคาที่เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตข้าวมีความผันผวน
นายอุบลศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลที่ผ่านมาจึงมีนโยบายมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมาโดยตลอด ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เช่น การดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว และมาตรการคู่ขนานเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยการดึงอุปทานส่วนเกินของผลผลิตข้าว ชะลอการขายข้าวโดยเก็บข้าวไว้ก่อนในช่วง ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมาก เก็บไว้ขายในช่วงที่ข้าวมีราคาสูง
รวมทั้งรัฐได้ดำเนินโครงการสนับสนุนค่าบริหาร จัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมาต้องแต่ปี 2560 – ปัจจุบัน เมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการให้ ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท โดยเฉพาะปี 2564 ราคาข้าวที่เกษตรกรจำหน่ายได้ต่ำมาก รัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการชดเชยส่วนต่างจำนวนมากกว่า 84,000 ล้านบาท พ่วงกับงบประมาณโครงการคู่ขนานต่าง ๆ รัฐบาล ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ,โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
รวมทั้งยังมีการสนับสนุนการลดต้นทุนการผลิตข้าวและค่าเก็บเกี่ยวข้าว ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ โดยเป็นการจ่ายเงินสนับสนุนให้กับ เกษตรกรโดยตรงโดยไม่ต้องมีการติดตามว่าเกษตรกรจะนำไปใช้จ่ายที่ตรงเป้าหมายที่รัฐกำหนดหรือไม่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณมากกว่า 150,000 ล้านบาท
ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าโครงการและมาตรการ ต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและเพิ่มศักยภาพระบบการผลิตข้าว รวมถึงสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน ในทางตรงข้ามยังทำให้พฤติกรรมและศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอ่อนแอลงด้วย 2 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินโครงการเพิ่มรายได้ด้วยนวัตกรรมเสริมให้กลุ่มเกษตรกรทำนา ปีการผลิต 2567/68 (กลุ่มละ 5 แสนบาท) แบบมีเงื่อนไข เพื่อปรับตัวการผลิตข้าวให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต ภายใต้การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อไป
นายอุบลศักดิ์ กล่าวอีกว่า ทางกลุ่มเกษตรกร จึงได้ยื่นหนังสือผ่านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี รองหัวหน้าพรรค และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย ถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการเพิ่มรายได้ด้วยนวัตกรรมเสริมให้กลุ่มเกษตรกรทำนา ปีการผลิต 2567/68 (กลุ่มละ 5 แสนบาท) ถึงเป้าหมาย กลุ่มเกษตรกรทำนา และผู้ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวในพื้นที่ระดับตำบลมีความพร้อม มีทั้งหมด 1,644 แห่ง ใช้งบกว่า 823 ล้านบาท เป็นพื้นที่ที่ดำเนินการ ดำเนินการในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรทำนา 77 จังหวัด โดยมีเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนา ภายใต้การกำกับดูแล ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และจะต้องจดทะเบียน กลุ่มเกษตรกรทำนา จดทะเบียนประเภทนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติกฎหมายสหกรณ์ 2511, 2542, 2562 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร 2547 และคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร พ.ศ.2548
ทั้งนี้เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกลุ่มเกษตรกร มีการสนับสนุนเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวของกลุ่มเกษตรกร โดยให้การสนับสนุนเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขให้เกษตรกรทำนาปลูกข้าวของกลุ่มเกษตรกรทำนา และเกษตรกรทำนาปลูกข้าว เพื่อเป็นค่าจัดซื้อตามโครงการฯ 500,000 บาท (ห้าแสนบาท)
โดยเป็นเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น โดรน เพื่อนำมาทดแทนแรงงานในการใส่ปุ๋ย พ่นสารเคมี และฮอร์โมน ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อใช้ประโยชน์ในกลุ่มเกษตรกรทำนา หรือให้บริการเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียน ทำนาปลูกข้าวระดับตำบลภายใต้เงื่อนไขการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรทำนา เกษตรกรผู้ทำนาปลูกข้าว หมายถึง เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และเป็นสมาชิกของ กลุ่มเกษตรกรทำนา
“กลุ่มเกษตรกรทำนาผู้ปลูกข้าว” หมายถึง การรวมกลุ่มของเกษตรกรทำนาผู้ปลูกข้าวในระดับตำบลที่ ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนา กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับ กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนา โดยมีกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์พื้นที่ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ตรวจรับรองงบดุลบัญชี กำกับดูแล
นายอุบลศักดิ์ กล่าวว่า 2.โครงการสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรทำนาลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ด้วยนวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้ ปีการผลิต 2567/68 (กลุ่มละ 5 ล้านบาท) กลุ่มเกษตรกรทำนา และผู้ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวในพื้นที่ระดับตำบลมีความพร้อม 1,644 แห่ง โดยให้การสนับสนุนเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขให้เกษตรกรผู ้ทำนาปลูกข้าวของกลุ่มเกษตรกรทำนา และเกษตรกรทำนาปลูกข้าว เพื่อเป็นค่าจัดซื้อตามโครงการฯ 5,000,000 บาท โดยเป็นเครื่องจักรกลครุภัณฑ์ และปัจจัยการผลิตการเกษตรไม่เกิน 4,500,000 บาท วงเงิน 8,253 ล้านบาท
แบ่งเป็นค่ารวบรวมผลผลิตข้าวไม่เกิน 300,000 บาท และค่าซ่อมแซมเครื่องจักรกลการเกษตร น้ำมันหมุนเวียนไม่เกิน 200,000 บาทที่ใช้ในระบบการผลิต ยกระดับ คุณภาพ หรือแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว รวมทั้งเป็นเงินสมทบการจัดซื้อและซ่อมเครื่องจักรกลการเกษตรของ กลุ่มเกษตรกรทำนาที่มีอยู่แล้ว เพื่อใช้ประโยชน์ในกลุ่มเกษตรกรทำนา หรือให้บริการเกษตรกรผู้ที่ขึ้นทะเบียน ทำนาปลูกข้าวระดับตำบลภายใต้เงื่อนไขการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรทำนา
โดยทั้ง 2 โครงการนี้ รวมงบประมาณใช้ร่วม 1 หมื่นล้านบาท วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรทำนาลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยนวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรทำนา และเพื่อยกระดับรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรทำนาจากการผลิตที่ต้นทุนลดลงและการผลิตข้าวมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพข้าวจากการใช้นวัตกรรมเสริม จึงได้มีการใช้งบกลาง เพื่อสนับสนุนโครงการนี้เพื่อจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ผลผลิต เกษตรกรมีรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น