“ซีพีเอฟ”หนุนเดินหน้าจับ“ปลาหมอคางดำ”ในพื้นที่นครศรีธรรมราช-นนทบุรี

11 ก.ย. 2567 | 12:01 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.ย. 2567 | 12:08 น.

“ซีพีเอฟ”หนุนกรมประมงเดินหน้าต่อปฏิบัติจับ “ปลาหมอคางดำ” ในพื้นที่ นครศรีธรรมราช และ นนทบุรี ต่อยอดความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ นำปลาไปผลิตน้ำปลาและปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อเร่งกำจัดจากทุกพื้นที่

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สนับสนุนกรมประมงเดินหน้าปฏิบัติการจับ "ปลาหมอคางดำ" ออกจากแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กรมราชทัณฑ์ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เกษตรกร ผู้นำชุมชน จัดกิจกรรมลงแขกลงคลองครั้งที่ 5 ในคูคลอง พื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จับปลาได้ 1,706 กิโลกรัม นำไปทำน้ำหมักชีวภาพแจกฟรีให้เกษตรกร 

                          “ซีพีเอฟ”หนุนเดินหน้าจับ“ปลาหมอคางดำ”ในพื้นที่นครศรีธรรมราช-นนทบุรี

พร้อมทั้งร่วมมือกับจังหวัดนนทบุรี เดินหน้ากำจัดปลา เพื่อลดจำนวนปลาในพื้นที่อย่างจริงจัง ตลอดจนต่อยอดความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์นำปลาหมอคางดำผลิตน้ำปลาและปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อเร่งให้ปลาหมอคางดำถูกกำจัดจากทุกพื้นที่

นายกอบศักดิ์ เกตุเหมือน ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชบูรณาการทุกภาคส่วนดำเนินมาตรการเร่งกำจัดปลาหมอคางดำในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ปากพนัง เชียรใหญ่ และ หัวไทร

                   “ซีพีเอฟ”หนุนเดินหน้าจับ“ปลาหมอคางดำ”ในพื้นที่นครศรีธรรมราช-นนทบุรี

โดยมีการจัดกิจกรรมลงแขกลงคลองแล้วรวม 5 ครั้ง โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เรือนจำปากพนัง กรมราชทัณฑ์ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เกษตรกร ผู้นำชุมชน รวมทั้งซีพีเอฟที่สนับสนุนเครื่องมือจับปลา อาหารและน้ำดื่มในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง  
 

สำหรับกิจกรรมครั้งที่ 5  ลงพื้นที่จับปลาในบริเวณคูคลองสาขา บ้านบ่อคณฑี ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช จะนำปลาที่จับได้ 1,706 กิโลกรัมไปผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อแจกเกษตรกร และส่วนหนึ่งมอบให้เรือนจำปากพนังปรุงเป็นอาหารให้แก่ผู้ต้องขัง และจากการจัดกิจกรรมจับปลาของประมงนครศรีธรรมราชทั้งหมด 5 ครั้ง สามารถกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำได้แล้วมากกว่า 8 ตัน

“มาตรการระดมกันจับปลา ควบคู่กับแนวทางการใช้ประโยชน์เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ปริมาณปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำเบาบางลง  และปลายเดือนกันยายนนี้ประมงจังหวัดนำปลานักล่าขนาด 4 นิ้วขึ้นไปที่ได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟปล่อยลงสู่แหล่งน้ำช่วยกำจัดปลาตัวเล็ก เพื่อตัดวงจรชีวิตปลาชนิดนี้ให้มากที่สุด” นายกอบศักดิ์ กล่าว

                   “ซีพีเอฟ”หนุนเดินหน้าจับ“ปลาหมอคางดำ”ในพื้นที่นครศรีธรรมราช-นนทบุรี
 
ด้านจังหวัดนนทบุรี มีแนวทางการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในพื้นที่อย่างจริงจังเช่นกัน โดยนายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า นนทบุรีมุ่งเน้นเร่งจับออกจากแหล่งน้ำให้มากที่สุด และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่กับการส่งเสริมการบริโภค 

โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ นอกจากหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน ยังได้รับการสนับสนุนอวน รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มจากซีพีเอฟอีกด้วย วันนี้จับปลาได้ 50 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปลาหมอคางดำ ปลาตะเพียน ปลานิล และปลาฉลาดรวมอยู่ด้วย ซึ่งส่งมอบให้สำนักงานพัฒนาที่ดินสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพต่อไป

                   “ซีพีเอฟ”หนุนเดินหน้าจับ“ปลาหมอคางดำ”ในพื้นที่นครศรีธรรมราช-นนทบุรี

มาตรการจัดการปลาหมอคางดำต่อจากนี้ จะขอความร่วมมือกับผู้นำชุมชนและชุมชนช่วยกันจับออกจากแหล่งน้ำทันที เพื่อให้ปลาหมอคางดำหมดไป นอกจากนี้ จังหวัดนนทบุรียังอนุมัติงบพิเศษเพื่อจัดซื้อปลานักล่าในน้ำจืดสำหรับปล่อยลงสู่แหล่งน้ำในจังหวัด เพื่อจัดการปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำให้หมดไป 
   
 นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานรัฐกิจและเอกชนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟร่วมสนับสนุนกรมประมงในการกำจัดปลาหมอคางดำ ผ่านการริเริ่มและดำเนินโครงการเชิงรุก 5 โครงการ ประกอบด้วย การช่วยรับซื้อปลาหมอคางดำเพื่อผลิตปลาป่นซึ่งวันนี้สามารถรับซื้อได้ 1,300,000 กิโลกรัมแล้ว การสนับสนุนปลานักล่าปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ 200,000 ตัว 

การสนับสนุนกิจกรรมจับปลาออกจากแหล่งน้ำของประมงจังหวัดที่พบปลาชนิดนี้ รวมทั้งร่วมสนับสนุนสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยในการพัฒนาแนวทางการใช้ประโยชน์ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อควบคุมประชากรปลาหมอคางดำอย่างยั่งยืน 

                    “ซีพีเอฟ”หนุนเดินหน้าจับ“ปลาหมอคางดำ”ในพื้นที่นครศรีธรรมราช-นนทบุรี

ล่าสุดร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนำเทคโนโลยี eDNA เพิ่มความแม่นยำในการสำรวจประชากรปลาในแหล่งน้ำ นำไปสู่การจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

“นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังได้ขยายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำกับกรมราชทัณฑ์ โดยสนับสนุนกรมราชทัณฑ์นำปลาหมอคางดำเพื่อนำไปผลิตน้ำหมักชีวภาพ และหมักน้ำปลา พร้อมทั้งเชิญเกษตรกรหรือปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยถ่ายทอดความรู้การผลิตน้ำปลาจากปลาหมอคางดำเพื่อสร้างทักษะอาชีพให้แก่ผู้ต้องขังอีกด้วย”นายอดิศร์ กล่าว  

ซีพีเอฟสนับสนุนกรมประมงเปิดปฏิบัติการจับปลาหมอคางดำมาตลอดกว่า 1 เดือน โดยให้การสนับสนุนอุปกรณ์การจับปลา ทั้งอวน แห กากชา รวมทั้งอาหาร และน้ำดื่ม จัดกิจกรรมจับปลาในพื้นที่ 15 จังหวัดมากกว่า 30 ครั้ง สามารถจับปลาออกจากแหล่งน้ำมากกว่า 26,000 กิโลกรัมแล้ว 

สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช ซีพีเอฟยังได้ต่อยอดการสนับสนุนการใช้ประโยชน์ โดยสนับสนุนถังพลาสติกโรงเรียนชุนชนวัดเกาะเพชร ผลิตน้ำหมักชีวภาพสำหรับแปลงปลูกผักอินทรีย์  ร่วมมือกับเกษตรกรฟาร์มสุขมี เกษตรหนึ่งไร่โมเดล และโรงแรมแกรนด์ฟอร์จูนนครศรีธรรมราชนำปลาหมอคางดำพัฒนาเป็นเมนูอาหาร เพื่อส่งเสริมการบริโภคและจับปลาชนิดนี้ออกจากแหล่งน้ำมากขึ้น