สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

28 ก.ย. 2567 | 01:37 น.
อัพเดตล่าสุด :28 ก.ย. 2567 | 01:37 น.

4 สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน หลังชงของบแก้ 850 ล้าน ปลูกพันธุ์ต้านทานโรค ถูกเมินปัดตก ทำให้โรคลามมากกว่า 4 ล้านไร่ “ทีดีอาร์ไอ” แนะจำกัดพื้นที่ควบคุม ป้องอุตฯ ห่วงโซ่ทั้งระบบ จากโรคนี้ปรับตัวเองไปเรื่อย ๆ กำจัดไม่ได้

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

นายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช ประธานคณะสำรวจติดตามภาวะการผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2567/68 รายงานผลการสำรวจของ 4 สมาคม คือ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย และ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตร  ร่วมสังเกตการณ์ หลังมีการลงพื้นที่สำรวจผลผลิตภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวม 54 จังหวัด ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม-3 สิงหาคม 2567 ,วันที่ 31 สิงหาคม-4 กันยายน 2567 และวันที่ 20-26 กันยายน 2567

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

“คณะสำรวจฯ พบว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น จากปี 2566/67 จาก 8 ล้านไร่ เป็น 8.1 ล้านไร่ หรือร้อยละ 1.7 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ คาดว่าลดลง จากปี 2566/67 จาก 2.71 ตัน เป็น 2.70 ตัน ส่วนผลผลิตรวมคาดว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 จาก 21.82 ล้านตัน เป็น 22.14 ล้านตัน หรือร้อยละ 1.49"

 

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

 

นายบุญชัย กล่าวว่า พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เพราะช่วงต้นฤดูการผลิตราคาหัวมันสำปะหลังอยู่ในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรมีการขุดหัวมันก่อนครบอายุ และนำต้นพันธุ์อ่อนแอไปปลูกต่อและมีการขยายพื้นที่เพาะปลูก บางพื้นที่เจอภัยแล้งมีการปลูกซ่อมหลายครั้ง ทำให้ขาดแคลนท่อนพันธุ์จึงใช้พันธุ์ติดโรคใบด่างมาปลูก บางพื้นที่ไปปลูกพืชอื่นแทน หรือปล่อยพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อรอการเพาะปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฝน

สำหรับปัญหาเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดความเสียหายจากโรคใบด่าง เนื่องจากราคาหัวมันที่สูง จึงไม่ให้ข้อมูลการพบโรคใบด่างในแปลง เพราะเกรงว่าจะต้องทำลายต้นมันสำปะหลังโดยไม่ได้รับการชดเชย อีกทั้งเกษตรกรไม่ทราบวิธีการบริหารจัดการ วิธีการทำลายและจัดการต้นที่ติดโรคทำให้ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

นอกจากนี้เกษตรกรส่วนใหญ่เปลี่ยนพฤติกรรมการขุดหัวมันสำปะหลังไทย โดยการจ้างบริการรับขุดหัวมันและขนส่งในอัตราค่าจ้างต่อน้ำหนัก ส่งผลให้เกษตรกรและผู้บริการขุดหัวมันสำปะหลังไม่คำนึงถึงคุณภาพ จึงมีดินทรายที่ติดไปกับหัวมันสำปะหลังจำนวนมาก อีกทั้งส่งผลให้แร่ธาตุในหน้าดินติดไปกับหัวมันสำปะหลัง

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

นายบุญชัย กล่าวอีกว่า คณะสำรวจฯ พบว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ทนทานต่อการติดโรคใบด่างมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันศักยภาพการผลิตและขยายพันธุ์ต้านทาน พันธุ์ทนทานของทางภาครัฐและเอกชนยังมีน้อยมาก ไม่สามารถนำมาทดแทนพันธุ์ที่ติดโรคใบด่างได้ครอบคลุมในทุกพื้นที่  ซึ่งควรเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและรับรู้ถึงการจัดการ กำจัดและควบคุมการระบาดของโรคส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้งทำให้เชื้อแป้งโดยเฉลี่ยลดลงจากภาวะปกติ

 

สอดคล้องกับนายสุรพงษ์ แสงศิริพงษ์พันธ์ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิกองทุนมันสำปะหลัง  กล่าวถึงงานสัมมนา  เรื่อง “มหันตภัยโรคใบด่าง วิกฤตมันสำปะหลังไทย ...ไม่มีทางรอด” มีวัตถุประสงค์หลังในการสร้างความตระหนักรู้ถึงการระบาดของโรคใบด่างในมันสำปะหลัง การแพร่กระจายไปในพื้นที่ทั่วประเทศจนเกินที่จะสามารถควบคุมได้ ได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้กับอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

รวมถึงเกษตรกรที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมากหากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคใบด่างฯ ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจะทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกและเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวมได้ งานสัมมนานี้จึงเป็นเวทีที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องของทุกภาคส่วนได้มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิด วิเคราะห์สถานการณ์ และหาแนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคใบด่างในมันสำปะหลัง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างเข้มแข็ง

 

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

นายธำรงเดช อินทนิเวศน์ อุปนายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวถึงปัญหาโรคใบด่างว่า ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มทวีคูณแบบก้าวกระโดด ซึ่งก่อนหน้านี้ ทาง 4 สมาคมได้ส่งหนังสือไปเพื่อของบประมาณจากภาครัฐ 852 ล้านบาท แต่เรื่องติดอยู่ที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสําปะหลัง (นบมส.) ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2567 ในคณะนี้มีกรมการค้าภายในเป็นเลขานุการ ได้ส่งเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีประชุมเลย

 

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

“หากนับถอยหลังไป 7 ปีที่แล้ว ผลผลิตหัวมันสำปะหลัง เหลือ 2.2 ตันต่อไร่ เกษตรกรเกิดปัญหาโรคใบด่าง ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากการผลิตหัวมันสำปะหลัง จาก 35 ล้านตัน วันนี้ เหลือ 22 ล้านตัน  ผลผลิตหัวมันหายไป 13 ล้านตัน โดยคิดราคาหัวมันที่ 3 บาท/กิโลกรัม มูลค่าที่สูญหายไปกว่า 39,000 ล้านบาท

ยังไม่นับรวมการส่งออกอุตสาหกรรม ทำให้รายได้เข้าประเทศสูญหาย เพราะโรคใบด่างฯทำให้หัวเชื้อแป้งลดลง 2-3% และการผลิตแป้งต้องใช้หัวมันเพิ่มมากขึ้นอีก 10% โดยสรุปโรคใบด่างมันสำปะหลัง มีทางรอด หากรัฐบาลใช้เงินลงทุนขยายพันธุ์ทนทานและพันธุ์ต้านทาน เนื้อที่ 9 ล้านไร่  ( คิดคำนวณ ที่ 1 ไร่ ใช้ประมาณ 1,600 ท่อน/ไร่ หรือ 400 ลำ/ไร่)  ต้องใช้ท่อนพันธุ์ทั้ง 3,600 ล้านลำ เข้าไปในพื้นที่มีการระบาดให้เร็วที่สุด

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

“วันนี้คณะอนุกรรมการฯ แก้โรคใบด่างฯ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งมา 2 ชุดแล้ว  ล่าสุดทางกรมส่งเสริมส่งเสริมการเกษตร(กสก.) ปี 2568 มีแผนที่จะขยาย และกระจายต้นพันธุ์ 3 ช่องทาง  เสนอคณะกรรมการนโยบาย และบริหารจัดการมันสำปะหลัง(นบมส.) ขยายให้ได้ 2,600 ไร่ โดยของกลาง 852 ล้านบาท ซึ่งแยกเป็น 1. ขยายพันธุ์ทนทาน ประมาณ 200 ล้านบาท 2. ขยายพันธุ์ต้านทาน ประมาณ 200 ล้านบาท 3. ระบบน้ำ และอื่น ๆ ประมาณ 450 ล้านบาท  ซึ่งก็ต้องรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธาน นบมส. โดยตำแหน่งเพื่อช่วยเหลืองบประมาณในการแก้ปัญหาครั้งนี้โดยเร็วที่สุด”

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

รศ.ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ กรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันพบการระบาดของโรคใบด่างทุกจังหวัดที่ปลูกมัน มีพื้นที่รวม มากว่า 4 ล้านไร่ ซึ่งวันนี้ประเทศไทยมีทางรอดแล้ว ทางมูลนิธิฯ รีบขยายพันธุ์ทันที แล้วก็เปิดตัวงานอย่างยิ่งใหญ่ ในการเปิดตัว 3 พันธุ์ใหม่ ได้แก่ อิทธิ 1 ,อิทธิ2 และอิทธิ 3และเมื่อได้พันธุ์ต้านทานแล้วก็ต้องรีบขยายส่งต่อให้เกษตรกร เปลี่ยนเป็นพันธุ์ต้านทานให้เร็วที่สุด แต่ทำไมรัฐบาลยังเมินเฉย แล้วไวรัสตัวนี้ไม่มียารักษา

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

“เข้าใจว่าการใช้งบกลาง รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายตามที่ได้สัญญากับประชาชนไว้ก็คือโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้ไม่อนุมัติงบตามที่ร้องขอไป ทางมูลนิธิฯขอความร่วมมือให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย ใน 2-3 ปีแรกการขยายพันธุ์ควรให้เกษตรกรนำพันธุ์ไปปลูกทดสอบ และต้นพันธุ์ที่ได้ควรกระจายให้ญาติพี่น้องและเพื่อนเกษตรกรด้วยกันไม่ควรนำมาจำหน่าย (ปัจจุบันมีการขายท่อนพันธุ์ละ 25 บาท) เป็นเรื่องที่ไม่อยากให้เกษตรกรต้องมาลงทุนซื้อ เพราะวัตถุประสงค์ของมูลนิธิชัดเจน “แจกฟรี”

 

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

ด้าน รศ. ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า โรคใบด่างมันสำปะหลังกำจัดยาก เป็นไวรัส เหมือนโควิด แต่ไวรัสโควิดยังโชคดี เพราะมีมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พัฒนาวัคซีน  ChAdOx1 nCoV-19  ได้สำเร็จ แต่โรคใบด่างฯ มีแมลงหวี่ เป็นตัวพาหนะนี่คือปัญหา และในบ้านเราปัญหาใหญ่ก็คือระบบราชการอ่อนแอ ไม่กล้าแจ้งเตือน ปกปิด ก็ยิ่งทำให้ในพื้นที่มีการระบาดมากขึ้น และรัฐไม่มีข้อมูลพื้นที่โรคใบด่างที่ถูกต้องทำให้การประมาณการผลผลิต/พื้นที่เก็บเกี่ยวขาดความน่าเชื่อถือ

 

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ และเมื่อไม่รู้ขนาดของปัญหารัฐไม่สามารถแจ้งเตือนชาวไร่ในพื้นที่เสี่ยง ไม่สามารถประกาศได้ว่าพันธุ์ใดอ่อนแอเสี่ยงต่อการติดโรค ทำให้ชาวไร่บางรายใช้พันธุ์ติดเชื้อ

โดยสรุปข้อเสนอแนะ คือ1.งานเร่งด่วน ให้ผลิตท่อนพันธุ์ (อิทธิ 1 ,2)  ต้านทาน และทนทาน เผยแพร่เร็วที่สุด ต้องจัดสรรงบเพิ่ม 2.ระยะกลาง ปรับปรุงพันธุ์ต้านทานให้มีผลผลิตต่อไร่/คุณภาพสูงขึ้น และที่สำคัญควบคุมแมลงหวี่ ด้วยวิธีสารชีวพันธุ์ ต่อยอดงานวิจัยของโครงการหลวง แล้วถ้าไม่ได้ผลจริง ก็แนะนำเกษตรกรปลูกพืชสลับ ซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรในการตัดโรคใบด่างฯ 

 

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

“ขอให้มีการทบทวนเพิ่มค่าชดเชยให้เกษตรกรมีแรงจูงใจขจัดต้นมันสำปะหลังติดเชื้อ โดยอาจกำหนดเป็นเงื่อนไขกับเกษตรกรที่จะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ (ที่เดิมไม่เคยมีเงื่อนไข) และให้ตั้งศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน พัฒนาศักยภาพผู้นำ/ผู้ปฏิบัติงานในระบบเฝ้าระวัง รวมทั้งเพิ่มการสนับสนุนระบบวิจัยปรับปรุงพันธุ์ต่อเนื่อง 3-5 ปี เป็นต้น

 

สมาคมฯ มัน เผยผลสำรวจรอบ 1 ปี โรคใบด่างทุบรายได้เกษตรกร สูญ 3.5 หมื่นล้าน

 

ดังนั้นต้องเร่งแก้ปัญหา รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณมาแบบจริงจัง ช่วยแก้ปัญหาระยะสั้น กล่าวคือ สามารถผลิตมันพันธุ์ใหม่สำเร็จแล้ว ก็ได้ระยะสั้น เดี๋ยวเชื้อโรคก็ปรับตัวได้ เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมไวรัสตัวนี้ให้อยู่ในพื้นที่จำกัด ซึ่งไม่มีทางหมดสิ้น และไม่มีวันสิ้นสุด แม้วันนี้เราจะมีพันธุ์ต้านแล้ว แต่พันธุ์ต้านไม่ 100% เดี๋ยวพันธุ์ต้าน ก็เลิกต้าน ธรรมชาติจะเป็นแบบนี้