สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)แถลงการณ์สถานการณ์น้ำประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2567 จับตา 7 เขื่อนใหญ่น้ำเกินความจุกักเก็บ เร่งพร่องน้ำตั้งแต่เดือนกันยายน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนพื้นที่ท้ายน้ำ ได้แก่
1. อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ จ.เชียงใหม่
2. อ่างเก็บน้ำมอก
3.อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จ.ลำปาง
4. อ่างเก็บน้ำสิริกิตติ์ จ.อุตรดิตถ์
5.อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จ.อุดรธานี
6. อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
7.อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี
ทาง สทนช. คาดการณ์ปริมาณฝน : ช่วงวันที่ 23 - 25 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปัจจุบันระบายน้ำในอัตรา 10 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงไปสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยา และบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ทางตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักยังอยู่ในลำน้ำและไม่เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่ง
สถานการณ์น้ำท่วม
สถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบัน พบในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ) จ.อุทัยธานี (อ.บ้านไร่) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า และสองพี่น้อง)จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ และบางไทร) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี และบางเลน) ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 1 จังหวัด ได้แก่ จ.อุทัยธานี (อ.บ้านไร่)
การช่วยเหลือ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.). มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 67 และ 8 ต.ค.67 อนุมัติงบประมาณสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 จำนวน 3,045 ล้านบาท และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบให้ธนาคารออมสินแล้ว 10 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 64,732 ครัวเรือน โดยโอนเงินสำเร็จแล้ว 45,827 ครัวเรือน จำนวนเงิน 412,379,000 บาท ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจังหวัด ได้มีการใช้จ่ายเงินทดรองราชการไปแล้ว 61,990,195.06 บาท