นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยช่วยไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน วงเงิน 38,578.19 ล้านบาท พ่วง 3 มาตรการที่ได้อนุมัติไปก่อนหน้านี้ 3 โครงการ ดังนี้
1.โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68
กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับค่าฝากเก็บและรักษา คุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตันข้าวเปลือก โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการฯ ได้รับในอัตรา 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก
การระบายข้าวเปลือก กรณีที่มีการระบายข้าวเปลือกให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่าย และชดเชยต้นทุนเงิน ให้ ธ.ก.ส. 4) ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาจัดทำสัญญา ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (ภาคใต้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2568) ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 5 เดือนนับถัดจากเดือน รับเงินกู้ และเมื่อกำหนดชำระคืน หากราคาตลาดต่ำกว่าวงเงินสินเชื่อต่อตันสามารถขยายเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 คราว คราวละ 1 เดือน ภายในระยะเวลาโครงการฯ คือ ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2568 วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 43,843.76 ล้านบาท
จำแนกเป็นวงเงินสินเชื่อ 35,481.00 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 8,362.76 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าฝากเก็บ 4,500.00 ล้านบาท วงเงินชดเชย 2,088.71 ล้านบาท และกรณีมีการระบายข้าวโครงการฯ รัฐบาลจ่ายคืนและชดเชยให้ ธ.ก.ส. วงเงิน 1,774.05 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป
2.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68
วิธีการ สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อ เป้าหมาย 15,000 ล้านบาท คิดเป็นข้าวเปลือก 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก และจำนวนสินเชื่อคงเหลือภายใน ระยะเวลาโครงการฯ ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4.50 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ร้อยละ 6.125 ต่อปี) โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีรัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้ สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 3.50 ต่อปี 7
ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ– 31 ธันวาคม 2568 3)วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 15,656.25 ล้านบาท จำแนกเป็น วงเงินสินเชื่อ 15,000.00 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาดเพื่อชดเชยดอกเบี้ย 656.25 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่าย ในปีงบประมาณต่อไป
3.โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68
วิธีการ รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านธนาคาร พาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ ที่ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นลูกค้าอยู่ ตามมูลค่าข้าวเปลือกที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เก็บสต็อกไว้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตามระยะเวลาที่เก็บสต็อกไว้ 60-180 วัน นับแต่วันที่รับซื้อ เป้าหมาย 4 ล้านตัน ระยะเวลารับซื้อ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ – 31 มี.ค. 2568 (ภาคทั่วไป) วันที่ 1 ม.ค.2568 – 30 มิ.ย. 2568 (ภาคใต้) 3) ระยะเวลาเก็บสต็อก ตั้งแต่ ครม. มีมติ – 30 ก.ย. 2568 (ภาคทั่วไป) วันที่ 1 ม.ค. 2568 – 31 ธ.ค. 2568 (ภาคใต้) 4) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ – 31 ต.ค.2569 5) วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 585 ล้านบาท โดยจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567และเมื่อ ครม.อนุมัติ ก็จะดำเนินการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรได้ทันที
นายปราโมทย์ กล่าวว่า ในฐานะนายกสมาคมชาวนาฯ ที่ได้เข้าไปร่วมประชุมได้เห็นถึงความตั้งใจของทุกหน่วยงานทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง และอื่น ๆ ที่มีความเห็นใจและต้องการที่จะช่วยเหลือพี่น้องชาวนาทั่วประเทศ ซึ่งต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีทุกท่าน ตลอดจนทุกพรรคการเมืองที่ได้เข้ามาร่วมทำให้โครงการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ได้รับเสียงสนับสนุน แม้ว่าจะไม่เท่ากับรัฐบาลในอดีตแต่ก็เห็นถึงความตั้งใจ ความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร
“ต่อไปถ้าจะไม่ให้ชาวนาเรียกร้องรัฐบาลก็ต้องหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงทั่วประเทศ และมีพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ที่มีอายุสั้น ให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ในการสนับสนุนเกษตรกร “ นายปราโมทย์ กล่าว ในตอนท้าย