ด่วน “นฤมล” แจ้งเลื่อนเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท คาดเข้าครม. 3 ธ.ค.

28 พ.ย. 2567 | 10:00 น.
อัปเดตล่าสุด :28 พ.ย. 2567 | 10:10 น.

ด่วน! “นฤมล” แจ้งเลื่อน วาระเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท จ่ายไม่เกิน 10 ไร่ ให้กับชาวนา 4.6 ล้านครัวเรือน คาดเข้า ครม.ไฟเขียว 3 ธ.ค.

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้า “เงินไร่ละพัน” ในโครงการช่วยสนับสนุนค่าเก็บเกี่ยวข้าวเป็น 1,000 บาทต่อไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่ ใช้งบประมาณ 38,578 ล้านบาท มากกว่ากรอบวงเงินเดิม 29,980.1645 ล้านบาท ในโครงการเดิม “ปุ๋ยคนละครึ่ง” ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) มาแล้วเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ล่าสุดมีปัญหาเชิงเทคนิคทำให้ต้องเลื่อนเงินไร่ละพัน  เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรเชียงใหม่ออกไปก่อน และคาดว่าจะเข้าที่ประชุม ครม.ในวันที่ 3 ธันวาคมนี้

ด่วน “นฤมล” แจ้งเลื่อนเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท คาดเข้าครม. 3 ธ.ค.

ส่วนอีก 3 มาตรการจะเข้าที่ประชุม ครม.เห็นชอบ  ได้แก่

 1.โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68

  • วิธีการ ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อตามโครงการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทุกจังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 3 ล้านตันข้าวเปลือก โดยกำหนดข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ และวงเงินสินเชื่อต่อตัน ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 12,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานีตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,000 บาท
  • ค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก

กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับค่าฝากเก็บและรักษา คุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตันข้าวเปลือก โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการฯ ได้รับในอัตรา 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก

  • การระบายข้าวเปลือก กรณีที่มีการระบายข้าวเปลือกให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่าย และชดเชยต้นทุนเงิน ให้ ธ.ก.ส. 4) ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาจัดทำสัญญา ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (ภาคใต้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2568) ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 5 เดือนนับถัดจากเดือน รับเงินกู้ และเมื่อกำหนดชำระคืน หากราคาตลาดต่ำกว่าวงเงินสินเชื่อต่อตันสามารถขยายเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 คราว คราวละ 1 เดือน ภายในระยะเวลาโครงการฯ คือ ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2568 วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 43,843.76 ล้านบาท

 

  • จำแนกเป็นวงเงินสินเชื่อ 35,481.00 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 8,362.76 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าฝากเก็บ 4,500.00 ล้านบาท วงเงินชดเชย 2,088.71 ล้านบาท และกรณีมีการระบายข้าวโครงการฯ รัฐบาลจ่ายคืนและชดเชยให้ ธ.ก.ส. วงเงิน 1,774.05 ล้านบาท  โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป

ด่วน “นฤมล” แจ้งเลื่อนเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท คาดเข้าครม. 3 ธ.ค.

2.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68

  • วิธีการ สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อ เป้าหมาย 15,000 ล้านบาท คิดเป็นข้าวเปลือก 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก และจำนวนสินเชื่อคงเหลือภายใน ระยะเวลาโครงการฯ ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4.50 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ร้อยละ 6.125 ต่อปี) โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีรัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้ สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 3.50 ต่อปี 7

ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ– 31 ธันวาคม 2568 3)วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 15,656.25 ล้านบาท จำแนกเป็น วงเงินสินเชื่อ 15,000.00 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาดเพื่อชดเชยดอกเบี้ย 656.25 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่าย ในปีงบประมาณต่อไป

 

3.โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68

วิธีการ รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านธนาคาร พาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ ที่ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นลูกค้าอยู่ ตามมูลค่าข้าวเปลือกที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เก็บสต็อกไว้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตามระยะเวลาที่เก็บสต็อกไว้  60-180 วัน นับแต่วันที่รับซื้อ เป้าหมาย 4 ล้านตัน  ระยะเวลารับซื้อ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ – 31 มี.ค. 2568 (ภาคทั่วไป) วันที่ 1 ม.ค.2568 – 30 มิ.ย. 2568

ด่วน “นฤมล” แจ้งเลื่อนเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท คาดเข้าครม. 3 ธ.ค.

ส่วน (ภาคใต้) 3) ระยะเวลาเก็บสต็อก ตั้งแต่ ครม. มีมติ – 30 ก.ย. 2568 (ภาคทั่วไป) วันที่ 1 ม.ค. 2568 – 31 ธ.ค. 2568 (ภาคใต้) 4) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ – 31 ต.ค.2569 5) วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 585 ล้านบาท  โดยจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567และเมื่อ ครม.อนุมัติ ก็จะดำเนินการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรได้ทันที