หลังจากในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ผลผลิตภาคเกษตรกรรมลดลง และส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรทำให้การจับจ่ายใช้สอยฝืดเคือง ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว หนี้ครัวเรือนสูง สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ด้วยปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ส่งผลต่อหลายอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง รวมไปถึงกระทบกับตลาดเครื่องจักรกลการเกษตร
อย่างไรก็ตามในปี 2567 -2569 วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้มีการวิเคราะห์และประเมินว่าตลาดอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้เฉลี่ย 3.0-4.0% ต่อปี เนื่องจากไทยเริ่มเข้าสู่สถานการณ์ลานีญา ส่งผลให้สภาพอากาศเอื้ออำนวย และปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการขยายพื้นที่เพาะปลูก
ขณะเดียวกันการสนับสนุนจากภาครัฐในการทำเกษตรสมัยใหม่ท่ามกลางภาวะขาดแคลนแรงงานจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งกฎระเบียบมาตรฐานสินค้าที่ต้องยกระดับกระบวนการผลิตเป็นเกษตรกรรมแนวใหม่ ทำให้ความต้องการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
มูลค่าตลาดในประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอยู่ที่ 158.5-171.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.0-4.0% ต่อปีในช่วงปี 2567-2569 เทียบกับที่หดตัว -6.0% ในปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโต ดังนี้
ไทยเข้าสู่ภาวะลานีญา
การขยายพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจ
ปัจจัยด้านโครงสร้าง
การสนับสนุนจากภาครัฐ
กฎระเบียบมาตรฐานสินค้า กระบวนการผลิต และพฤติกรรมใหม่ในตลาดโลก
ทั้งนี้ปัจจัยหนุนดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลดีต่อผู้ผลิตและผู้นำเข้าเครื่องจักรกลการเกษตรตามการใช้จ่ายซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้รับจ้างภาคเกษตรมีการลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่มเพื่อรองรับความต้องการใช้บริการที่จะขยายตัวโดยเฉพาะเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับการบริหารจัดการในภาคเกษตรที่เน้นประสิทธิภาพการผลิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของมูลค่าตลาดอาจยังไม่สูงนักในปี 2567 จากภาวะกำลังซื้อในภาคเกษตรที่ยังรอการฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงอยู่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ อาทิ การแข่งขันด้านราคาจากเครื่องจักรกลการเกษตรต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่าโดยเฉพาะการนำเครื่องยนต์มาดัดแปลง ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการที่นำเข้าและส่งออก ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะราคาน้ำมัน เหล็ก และพลาสติกในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มทรงตัวสูง
สำหรับตลาดต่างประเทศคาดว่าไทยจะยังคงขาดดุลการค้าเครื่องจักรกลการเกษตร จากการนำเข้าเฉลี่ยที่มูลค่า 44.5-47.0 พันล้านบาทต่อปี เติบโตเฉลี่ย 2.0-3.0% ต่อปี จากความต้องการใช้รองรับผลผลิตเกษตรที่คาดว่าจะขยายตัวตามภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยมากขึ้น การขยายตัวของภาคบริการการเกษตร รวมทั้งการลงทุนในภาคเกษตรสมัยใหม่จากสหกรณ์ สมาคม และหน่วยงานรัฐ
ด้านการส่งออก
มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น
กระแสรักษ์โลกและการตื่นตัวเรื่อง ESG (Environmental, Social, Governance) ผลักดันการผลิตรถแทรกเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรในระยะ 1-3 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโต ตามการขยายพื้นที่เพาะปลูกจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย กำลังซื้อที่จะทยอยฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ และกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะยุโรปที่เอื้อต่อความต้องการใช้เครื่องจักรสมัยใหม่ จะหนุนให้มูลค่าตลาดทั้งในและต่างประเทศขยายตัว ส่งผลดีต่อทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายในห่วงโซ่ธุรกิจ
ผู้ผลิตแทรกเตอร์ที่ใช้ในงานเกษตร
ผู้ผลิตเครื่องจักรอื่นๆ ที่ใช้ในงานเกษตร
ผู้จำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร (รวมผู้นำเข้า)
ที่มาข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง