net-zero

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปิดแนวทางลดผลกระทบจากโดมความร้อน

    กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปิดแนวทางลดผลกระทบจากโดมความร้อน ส่วน ปรากฏการณ์เกาะความร้อน พร้อมสาเหตุ คืออะไรตรวจสอบรายละเอียดคลิกอ่านเลย

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล เรื่องปรากฏการณ์ โดมความร้อน (Urban heat island) หรือ ปรากฎการณ์ “เกาะความร้อน” เป็นปรกฏการณ์ที่อุณหภูมิ ของบรรยากาศเหนือเมือง มีค่าสูงกว่าพื้นที่รอบนอกเมือง ลักษณะของเส้นอุณหภูมิมีลักษณะคล้ายเกาะ หรือ โดมขนาดใหญ่เหนือเมือง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในพื้นที่เขตเมืองใหญ่ โดยเกิดขึ้นจาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆของมนุษย์ โดยอากาศใกล้พื้นดินในเขตชุมชนเมืองที่มีตึกสูง และ อาคารบานเรืองตั้งอยู่หนาแน่นเป็นจำนวนมาก มีอุณหภูมิสูงมากกว่าบริเวณพื้นที่ชนบทโดยรอบ พื้นที่ชนบทหรือป่า บริเวณรอบเมืองจะมีอุณหภูมิที่เย็นกว่า

 

 

สาเหตุการเกิดโดมความร้อนในเมือง

  • การพัฒนาของเมืองที่ขยายตัว สิ่งปลูกสร้างมีส่วนในการคายน้ำออกสู่อากาศน้อยกว่าพื้นที่สีเขียว
  • การสะสมความร้อนของผิววัสดุของสิ่งปลูกสร้างมีคุณสมบัติดูดกลืนพลังงานจากดวงอาทิตย์
  • การที่ชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่นของตัวของตัวอาคาร ที่อยู่อาศัย จากดวงอาทิตย์
  • การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินที่เกิดจากการพัฒนาเมือง เป็นการใช้วัสดุที่ทำให้เกิดการสะสมความร้อน
  • ความร้อนที่เกิดจากอาคารสูง การบังลม ซึ่งทำให้ไม่เกิดความเย็นจากการพาความร้อน (convection)
  • ความร้อนที่ปล่อยออกจากเครื่องปรับอากาศของอาคารโรงงานอุตสาหกรรม
  •  ความสมดุลของพลังงาน (energy balance)ในเขตเมืองเปลี่ยนแปลงไป
  • การลดผลกระทบจาก โดมความร้อน (Urban heat island) ด้วยพื้นที่สีเขียว 

สาเหตุ ปรากฏการณ์ความร้อน

 

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปิดแนวทางลดผลกระทบจากโดมความร้อน

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้จัดทำโครงการ ภายใต้โครงการศึกษาพื้นที่สีเขียวในเมืองสำหรับลดผลกระทบจากโดมความร้อนและมลพิษอากาศ โดย ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • แนวทางในการลดการเกิดปรากฎการณ์โดมความร้อน ด้วย พื้นที่สีเขียว การเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหา
  • สิ่งแวดล้อม และเป็นวิธีปรับปรุงสมดุลของสภาพแวดล้อมในเขตเมือง โดยพื้นที่สีเขียวหรือบริเวณสวนสาธารณะ ที่ประกอบไปด้วยต้นไม้
  • และสนามหญ้าสามารถช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศและลดอุณหภูมิได้ อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงสภาพอากาศและลดมลพิษในเมืองได้
  • การได้รับอิทธิพลความเย็น (Cooling effect) จากพื้นที่สีเขียว โดยบริเวณโดยรอบพื้นที่สีเขียว จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศในบริเวณชุมชนเมืองทั่วไป ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการคายน้ำของต้นไม้ออกสู่บรรยากาศ
  • บริเวณที่มีต้นไม้ปกคลุมสามารถลดอุณหภูมิได้ประมาณ 2 องศาเซลเซียส และ เพิ่มความชื้นได้ประมาณร้อยละ 3-5 และ หามีต้นไม้หรือพืชปกคลุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่เดิมจะสามารถช่วยลดอุณหภูมิได้เกือบ 1 องศาสเซลเซียส
  • การที่ชุมชนเมืองมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ จะมีแนวโน้มในการลดอุณหภูมิอากาศได้มากกว่าพื้นที่สีเขียวขนาดเล็กและถ้ามีแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ในพื้นที่สีเขียวจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการลดอุณหภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น.

ที่มา: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม