net-zero

ปูนซีเมนต์นครหลวงนำทัพรักษ์โลก ลุยฟื้นฟูทะเลไทย จากชายหาดสู่ป่าชายเลน

    ปูนซีเมนต์นครหลวง ผนึกพันธมิตรนับร้อยชีวิต ลุยจ.ระยอง ร่วมเก็บขยะชายหาด ปลูกต้นโกงกาง เพิ่มอากาศบริสุทธิ์

ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตโลกเดือด "อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์" ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 36.92 เมตริกตันคาร์บอนต่อปี ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ทาง บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ ปูนอินทรี เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่เดินหน้าขับเคลื่อนและร่วมแก้ไขปัญหาที่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะทะเลที่กำลังคุกคามระบบนิเวศชายฝั่งของไทยอย่างรุนแรง โดยมีการดำเนินงานที่ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง แต่ยังครอบคลุมไปถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

นายมนตรี นิธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจปูนซีเมนต์ของประเทศไทย บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ ปูนอินทรี เปิดเผยว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งให้ความสำคัญและลงมือทำ" ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาตลอด 55 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท โดยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีคุณค่า และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปูนซีเมนต์นครหลวงนำทัพรักษ์โลก ลุยฟื้นฟูทะเลไทย จากชายหาดสู่ป่าชายเลน

 

โครงการ INSEE Green Heart Plus Club

โครงการนี้เป็นหนึ่งในความพยายามในการแก้ปัญหาขยะทะเล โดยในปีนี้ได้รวมพลังอาสาสมัครกว่า 240 คน จากทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเก็บขยะชายหาดบริเวณปากน้ำประแส จังหวัดระยอง เป็นระยะทางกว่า 1.5 กิโลเมตร พร้อมทั้งดำน้ำเก็บขยะใต้ท้องทะเล

 

ผลจากกิจกรรมในครั้งนี้ สามารถเก็บขยะได้มากถึง 862 กิโลกรัม โดยขยะที่เผาไหม้ได้ประมาณ 166 กิโลกรัม จะถูกนำไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse derived fuel : RDF) โดยบริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ขยะเหล่านี้จะเข้าสู่กระบวนการเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์ (Co-processing) ซึ่งนอกจากจะช่วยกำจัดขยะแล้ว ยังเป็นการนำขยะมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนอีกด้วย

 

ปูนซีเมนต์นครหลวงนำทัพรักษ์โลก ลุยฟื้นฟูทะเลไทย จากชายหาดสู่ป่าชายเลน

 

นอกจากการเก็บขยะ ทีมอาสาสมัครยังได้ร่วมกันปลูกต้นโกงกาง 550 ต้น ในพื้นที่ป่าชายเลนปากน้ำประแส ซึ่งเป็นผืนป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในภาคตะวันออก มีขนาด 6,000 ไร่ การฟื้นฟูป่าชายเลนนี้จะช่วยเพิ่มแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง และช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

 

ปูนซีเมนต์นครหลวงนำทัพรักษ์โลก ลุยฟื้นฟูทะเลไทย จากชายหาดสู่ป่าชายเลน

 

ในแง่ของการผลิตที่มุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืน ปูนซีเมนต์นครหลวงได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยหันมาใช้เชื้อเพลิงจากขยะมูลฝอย (RDF) แทนถ่านหินมากขึ้น นายมนตรีเปิดเผยว่า "สมัยก่อนเราใช้ RDF อยู่ที่ 10-11% แต่ในปีที่ผ่านมา เราใช้พลังงานจาก RDF ประมาณ 16% และในปีนี้ คาดหวังว่าจะไปให้ถึง 24% ซึ่งผ่านไปครึ่งปีแรกก็ถือว่าเป็นไปตามเป้าแล้ว (22-23%)"

 

นอกจากนี้ยังส่งเสริมการใช้ "ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก" ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 0.052 ตันคาร์บอนต่อปูน 1 ตัน เมื่อเทียบกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไป ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกนี้สามารถทดแทนปูนเม็ดด้วยวัสดุอื่น ๆ เช่น ยิปซั่ม เถ้าลอย รวมไปถึงกากจากอุตสาหกรรม เช่น ตะกรันเหล็ก ประมาณ 10% ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตได้อย่างมาก

 

ปูนซีเมนต์นครหลวงนำทัพรักษ์โลก ลุยฟื้นฟูทะเลไทย จากชายหาดสู่ป่าชายเลน

 

นายมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า "ปัจจุบัน ปูนนครหลวงได้รับฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ หรือ EPD แล้ว ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจะมีบอกว่าปล่อยคาร์บอนไปเท่าไร แต่ยังไม่มีแปะฉลากข้างถุง เนื่องจากเราพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดเวลา" ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างความโปร่งใสด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์

 

อย่างไรก็ตาม ความพยายามของปูนซีเมนต์นครหลวงในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนในกิจกรรมครั้งนี้นั้น สอดคล้องกับข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ที่เผยว่าขยะตกค้างชายฝั่งที่จัดเก็บส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติกมากถึง 81% ส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติก ขวดพลาสติก และบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร นอกจากนี้ กรมควบคุมมลพิษยังพบว่าในปี 2564 พื้นที่ 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลมีขยะมูลฝอยปริมาณ 10.89 ล้านตัน และในจำนวนนี้เป็นขยะที่กำจัดอย่างไม่ถูกต้องมากถึง 2.66 ล้านตัน

 

ปูนซีเมนต์นครหลวงนำทัพรักษ์โลก ลุยฟื้นฟูทะเลไทย จากชายหาดสู่ป่าชายเลน

ปูนซีเมนต์นครหลวงนำทัพรักษ์โลก ลุยฟื้นฟูทะเลไทย จากชายหาดสู่ป่าชายเลน ปูนซีเมนต์นครหลวงนำทัพรักษ์โลก ลุยฟื้นฟูทะเลไทย จากชายหาดสู่ป่าชายเลน