net-zero

"มิตรผล" แจ้งขอขึ้น Premium T-VER ปรับเปลี่ยนปลูกอ้อย กักเก็บ-ลดคาร์บอน

    จากที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.ได้ยกระดับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) หรือพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยเป็นรูปแบบ Premium T-VER

สำหรับ Premium T-VER เป็นมาตรฐานการรับรองคาร์บอนเครดิตคุณภาพสูง สอดคล้องกับความตกลงปารีสข้อ 6 (Article 6 of Paris Agreement) เพื่อให้เกิดการยอมรับระดับในระดับสากล สามารถนำไปซื้อขายระหว่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันเริ่มได้รับความสนใจจากผู้พัฒนาโครงการเพื่อขอขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต

อบก.รายงานว่า ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีโครงการ Premium T-VER จำนวน 27 โครงการ ที่แจ้งความประสงค์ในการพัฒนาโครงการ (Modalities of communication - MoC) และมีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 4 โครงการ จากประเภทดูดกลับ/กักเก็บ (Removal) ทั้งหมด คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลด/กักเก็บได้ 19,517tCO2eq ต่อปี ทำให้คาดว่าน่าจะเริ่มมีคาร์บอนเครดิตจากโครงการ Premium T-VER ภายใน 3-5 ปี (ปี 2570-2572) เข้าสู่ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศได้

ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรฐานของ Premium T-VER ในการขอขึ้นทะเบียนโครงการกับอบก.จะมีความยากกว่ามาตรฐาน T-VER ที่จะต้องมีการเปิดรับฟังจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้ประกอบในการขอขึ้นทะเบียน จึงมีโครงการที่มาแจ้งความประสงค์ในการพัฒนาโครงการยังไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม มีโครงการที่แจ้งความประสงค์ในการพัฒนาโครงการ (Modalities of communication - MoC) เสนอมายัง อบก.ที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระบบการผลิตอ้อยในพื้นที่ไร่ บริษัท กลุ่มนํ้าตาลมิตรผล ที่ดำเนินงานโดยบริษัท ไร่ด่านช้าง จำกัด อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี พื้นที่เพาะปลูกอ้อยภาคกลาง 6,801 ไร่ ครอบคลุม จังหวัดสุพรรณบุรี และอุทัยธานี และ ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี และบริษัท ไร่อีสาน จำกัด อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ พื้นที่เพาะปลูกอ้อย 14,421 ไร่ ครอบคลุมจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และหนองบัวลำภู รวมพื้นที่ทั้งหมด 21,222 ไร่ โดยขอขึ้นทะเบียน Premium T-VER ประเภท การลด ดดู ซับ และกกั เก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตรทั้งหมด

\"มิตรผล\" แจ้งขอขึ้น Premium T-VER ปรับเปลี่ยนปลูกอ้อย กักเก็บ-ลดคาร์บอน

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว มีระยะเวลาคิดคาร์บอนเครดิตของโครงการ 5 ปี (2567-2571) มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลด/กักเก็บได้ 383,227 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี รวม 5 ปี ลดการปล่อยและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ราว 1,916,135 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ใช้เงินลงทุนทั้งหมดของโครงการตั้งแต่ต้นทุนการเพาะปลูกอ้อยรวมเก็บเกี่ยวและขนส่งเฉลี่ย 14,000 บาท ต่อไร่ต่อปี

ปัจจุบันระบบการผลิตอ้อยมีกิจกรรมที่ก่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่การเตรียมดิน ระบบการให้นํ้า และการใส่ปุ๋ย ดังนั้น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการที่มีส่วนสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการกักเก็บคาร์บอนในดิน

สำหรับการดำเนินงานของโครงการเพื่อลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการกักเก็บคาร์บอนในดินของลุ่มมิตรผลนั้น ถือเป็นโครงการเดียวในประเทศไทยที่มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมในการทำการปลูกอ้อย จากระบบการผลิตอ้อยในปัจจุบัน ที่ก่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่การเตรียมดิน ระบบการให้นํ้า และการใส่ปุ๋ย

ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินงานเพื่อลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตปลูกอ้อยในกิจกรรมต่างๆใหม่ ตั้งแต่การลดการไถพรวน โดยเปลี่ยนจากการไถพรวนดินทั้งแปลงก่อนปลูกอ้อยใหม่ เป็นไถพรวนเฉพาะเบดฟอร์มที่ยกขึ้นมาเท่านั้น ช่วยลดพื้นที่เตรียมดินลงประมาณครึ่งหนึ่ง ช่วยประหยัดนํ้ามันเชื้อเพลิง

การปรับเปลี่ยนระบบการให้นํ้าจากการใช้เครื่องปั๊มนํ้าเป็นการใช้ระบบโซลาร์เซลล์ (Solar-powered irrigation system) ช่วยเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 17,622 ตันต่อปี และประหยัดได้ 41% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้นํ้าโดยระบบปั๊มที่ใช้นํ้ามันดีเซล

ปรับเปลี่ยนการใส่ปุ๋ยจากการใช้รถแทรคเตอร์ เป็นการให้ปุ๋ยทางทางใบ (Foliar fertilization) หรือให้ปุ๋ยผ่านทางระบบนํ้าหยด (Drip fertigation) รวมถึงการใช้ปุ๋ย controlled-release เพื่อลดและชะลอการปลดปล่อยไนโตรเจน ซึ่งสามารถลดปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนได้ถึง 30-50% ของการใช้ปุ๋ยสูตรทั่วไป และกลไกการทำงานของปุ๋ย controlled- release ที่ช่วยชะลอการปลดปล่อยไนโตรเจน

นอกจากนี้ ยังได้นำวิธีการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชโดยใช้โดรน (Drone) มาใช้ ช่วยประหยัดแรงงานและนํ้ามันดีเซล ซึ่งจะช่วยลดการใช้นํ้ามันดีเซลลง 1 ลิตรต่อไร่ หรือช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.7 kgCO2ต่อไร่

ขณะที่การเพิ่มการเก็บกักคาร์บอนในดิน และเป็นการช่วยบำรุงเดิน ได้มีการนำถ่านชีวภาพ (Biochar) มาใช้ช่วยรักษาความชื้นของดิน เป็นการช่วยเก็บกักคาร์บอนในดิน เนื่องจากมีส่วนประกอบของคาร์บอนเสถียรหรือคาร์บอนดำ (black carbon) อีกทั้ง การใส่กากชานอ้อย (Bagasse) แล้วไถพรวนก่อนปลูกพืช เพื่อใช้เป็น

อินทรียวัตถุปรับปรุงบำรุงดิน และยังช่วยเป็นการเพิ่มการเก็บกักคาร์บอนในดิน เนื่องจากกากชานอ้อยมีองค์ประกอบของเส้นใย (fiber) 45-55% ตลอดจนการทิ้งเศษซากอ้อยไว้ในแปลงแทนการเผา และการนำกากตะกอนหม้อกรองจากโรงงานนํ้าตาล หรือ Filter Cake มาใสในแปลงอ้อยมาเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ในดินอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบความใช้ได้จากผู้ประเมินภายนอก เพื่อนำไปใช้ประกอบการตรวจสอบความใช้ได้ของเอกสารข้อเสนอโครงการต่อไป