net-zero

"OR-ไปรษณีย์ไทย" รุกสถานีบริการพลังงานทางเลือก สวนป่ายั่งยืน

    "OR-ไปรษณีย์ไทย" รุกสถานีบริการพลังงานทางเลือก สวนป่ายั่งยืน ชี้เป็นจุดเริ่มต้นการร่วมกันพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และเหมาะสมที่สุด ทั้งในแง่ของภาพลักษณ์ การดำเนินธุรกิจ ประโยชน์ต่อชุมชน

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ (OR) เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พัฒนาโครงการศูนย์บริการธุรกิจไปรษณีย์ สถานีบริการพลังงานทางเลือก และสวนป่ายั่งยืน

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะอยู่ในบริเวณพื้นที่สำนักงานใหญ่ของไปรษณีย์ไทย โดยถือเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมที่สุด ทั้งในแง่ของภาพลักษณ์ การดำเนินธุรกิจ และประโยชน์ต่อชุมชน

โดย OR จะให้การสนับสนุนด้านพลังงานทางเลือก ได้แก่ การให้บริการ EV Charger และการติดตั้ง Solar Cell บนหลังคาเกาะจ่าย อาคารไปรษณีย์ และอาคารร้านค้า 
 

ที่ผ่านมา OR ได้ให้ความสำคัญในการปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านทาง platform ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครื่องชาร์จ EV Station PluZ หรือการสร้างสถานีบริการต้นแบบแห่งอนาคต Green Station ซึ่งใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดผ่านการใช้พลังงานจาก Solar Rooftop เป็นต้น

"OR-ไปรษณีย์ไทย" รุกสถานีบริการพลังงานทางเลือก สวนป่ายั่งยืน

โครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลดีต่อชุมชนและสังคมโดยรวม และยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้กับทั้งสององค์กร โดยการผสานจุดแข็งของแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน  อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวทาง OR SDG โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน GREEN ที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ครอบคลุมตลอดทั้งการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) ซึ่งตอบโจทย์เป้าหมาย OR 2030 อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า การดำเนินการร่วมกันดังกล่าว ตอบโจทย์กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจความยั่งยืน “ESG + E” ตามกรอบนโยบายของบริษัทฯ 
 

ดยภายในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยอาคารศูนย์บริการธุรกิจไปรษณีย์ มีสถานีชาร์จรถไฟฟ้า สถานีบริการน้ำมัน โดยมีจำนวนแท่นชาร์จมากกว่าสถานีบริการน้ำมันอื่น 

อีกทั้งยังมีสถานีสลับแบตเตอรี่ (Swap Battery) ร้านกาแฟร้านจำหน่ายสินค้า และสวนสุขภาพ อีกทั้งอาคารภายในโครงการอาจมีการพิจารณานำระบบพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้งานร่วมกันระหว่างไปรษณีย์ไทย กับ OR มีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ และประโยชน์ต่อชุมชน

สำหรับการดำเนินการดังกล่าวนั้น สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานทั้งในส่วนของระบบการขนส่ง รวมถึงสำนักงานที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในระบบงานไปรษณีย์ในระยะแรกจำนวน 250 คัน ในพื้นที่นครหลวงและภูมิภาค และมีแผนที่จะติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (SOLAR PV ROOFTOP) ที่อาคารไปรษณีย์ไทยสำนักงานใหญ่ สำนักงานไปรษณีย์นครหลวง สำนักงานไปรษณีย์เขตศูนย์ไปรษณีย์ ให้ได้ 60% ภายในปี 2573 และครบทั้งหมด 100% ภายในปี 2583