“ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ..." กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา โดยมีเป้าหมายไม่ใช่เพื่อ "ฆ่า" ธุรกิจไทย แต่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero บนพื้นฐานของความยั่งยืน”
คำกล่าวของ “พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” หรือ กรมลดโลกร้อน ช่วงหนึ่งในงานสัมมนา Road to Net Zero 2024 The Extraordinary Green จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567
ชี้ให้เห็นว่า พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า อยู่ในแผนการดำเนินงานของประเทศไทย ที่จะเดินไปเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero ประกอบด้วย 14 หมวด 169 มาตรา
เป้าหมายคือให้ พ.ร.บ. นี้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายในปี 2025 เพื่อส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ในปี 2026
ฐานเศรษฐกิจ สรุปเนื้อหาร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... ได้ดังนี้
หลักการ: ให้มีการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ผ่านความร่วมมือกับนานาชาติ เพื่อลดความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีกฎหมายกำหนดเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เหตุผล: ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล ภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระจายของเชื้อโรค จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกำหนดมาตรการในการรับมือ
คณะกรรมการ: ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ มีหน้าที่เสนอแนะแนวทางการจัดการและดำเนินการตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
แผนแม่บท: ให้มีการจัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ โดยกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงแนวทางการปรับตัวของประเทศ
ฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก: จัดให้มีฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของประเทศและเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องรายงานข้อมูลกิจกรรมที่ส่งผลต่อการปล่อยและลดก๊าซเรือนกระจก
การลดก๊าซเรือนกระจก: กำหนดแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยหน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและนโยบายที่กำหนดไว้ในแผน
การปรับตัว: จัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำ การเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรการส่งเสริม: สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านกองทุนสิ่งแวดล้อม
อธิบดีฯพิรุณ ระบุว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ เสนอคณะอนุกรรมการทางกฎหมายไปแล้วทั้งหมด 14 ครั้ง เหลืออีก 2 ครั้งที่จะไปคณะกรรมการแห่งชาติในเดือนตุลาคม จากนั้นจะเสนอเข้า ครม. เพื่อรับหลักการและส่งไปยังกฤษฎีกาตรวจร่างจะใช้เวลานานเท่าไหร่ตอบไม่ได้ เเต่จากนั้นก็ไปสภาฯ ตามวาระและนำไปสู่การบังคับใช้ กรมต้องการเห็นการบังคับใช้ในปี 2026”
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ท่ามกลางเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งไทยและทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและร่วมมือกันแก้ไข
ดังเห็นได้จากการจัดทำกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ในปี ค.ศ. 1992 การประกาศใช้พิธีสารเกียวโตในปี ค.ศ. 1997 และความตกลงปารีสในปี ค.ศ. 2015 ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาเหล่านี้และเข้าร่วมเป็นภาคีตามลำดับ รวมถึงเข้าร่วมการประชุม UNFCCC COP อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งประเทศไทย นอกจากนี้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกรอบในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นระบบแล้ว
พบว่ามีร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีก 2 ฉบับ ได้แก่ 1.ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... เสนอโดย นางสาวศนิวาร บัวบาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ และ 2. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิต พ.ศ. .... เสนอโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
ซึ่งจากการประมวลร่างพระราชบัญญัติที่มีความเกี่ยงโยงกันทั้ง 3 ฉบับมีสาระสำคัญ 7 ประเด็นที่น่าสนใจดังนี้:
“สิ่งที่อยากเห็น คือ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่าน ครม. ให้ได้ เพื่อไปยังกฤษฎีกา เพราะเมื่อมองไปทุกกฎหมาย เเม้กระทั่งกรมสรรพสามิตที่กำลังช่วยอยู่ ตอนนี้ไทยไม่มีเครื่องมือที่จำเป็นที่สามารถใช้ได้ การมีชุดกฎหมายจะสร้างเครื่องมือใหม่ให้สามารถหยิบมาใช้ได้ ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกบังคับมากน้อยแค่ไหน เพราะเมื่อมีเครื่องมือใหม่ เรามีสิทธิ์ในการหยิบมาใช้แล้วจะใช้อย่างไรก็ต้องมีกติกาที่ใช้ให้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว” อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง