net-zero

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน ทางออกโลกเดือด

    กลุ่ม ปตท. ผลักดันเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ผ่าน โครงการ Eastern Thailand CCS Hub ในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อเป้าหมาย Net Zero

เทคโนโลยีที่หลายประเทศกำลังพัฒนาเพื่อช่วยลดปัญหา ภาวะโลกร้อน นั่นคือ เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CCS เป็นหนึ่งในทางเลือกสำคัญของยุคนี้

ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยเผชิญกับความยากลำบากในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการเเละราคาที่เหมาะสม  ขณะที่การประกาศเป้าหมายระดับประเทศของรัฐบาล ทำให้ภาคอุตสาหกรรมพลังงานซึ่งมีส่วนในการปล่อยคาร์บอนประมาณ 70% ของทั้งประเทศ เผชิญความท้าทายในการที่จะผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง

 

กระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เทคโนโลยี CCS หรือ การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีกระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดในภาคอุตสาหกรรมหรือโรงไฟฟ้า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับได้จะถูกปรับความดันให้เหมาะสมสำหรับการขนส่งไปยังแหล่งกักเก็บ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกกักเก็บบนฝั่ง (Onshore) หรือนอกชายฝั่ง (Offshore) ในชั้นหินทางธรณีวิทยาไว้อย่างปลอดภัย

ทำไม CCS ถึงสำคัญ

เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน ช่วยทำให้ GDP สูงขึ้น เเต่จะสูงขึ้นก็เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ลดผลกระทบจากมาตรการ CBAM สำหรับสินค้านำเข้าสู่ยุโรป ส่งเสริมการลงทุนคาร์บอนต่ำ ทั้งในภาคบริการและการดำเนินงานโครงการ ที่สำคัญสามารถ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

คำถามที่ตามมา CCS ปลอดภัยจริงหรือ

1. ความลึกที่ปลอดภัยในการเก็บ CO2 ไว้ลึกมาก อย่างน้อย 800 เมตรใต้พื้นดิน ส่วนใหญ่ลึกถึง 1,000-3,000 เมตร เลยทีเดียว

2. การปิดผนึกแน่นหนา CO2 ถูกเก็บในชั้นหินที่มีชั้นหินแข็งแรงห่อหุ้มอยู่ ทำให้ก๊าซไม่สามารถรั่วไหลออกมาได้

3. CCS ใช้หลักการคล้ายกับการขุดเจาะน้ำมัน แต่ทำแบบย้อนกลับ ซึ่งเป็นวิธีที่เข้าใจดีและควบคุมได้

4. การเปลี่ยนสถานะ: เมื่อ CO2 ถูกอัดลงไปใต้ดิน จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นของแข็ง ทำให้ปลอดภัยและเสถียรมากขึ้น

5. การตรวจสอบตลอดเวลา ทั้งการติดตาม การวัด และการตรวจสอบ ระบบนี้คอยเฝ้าดูตั้งแต่ใต้ดินลึกๆ จนถึงบนผิวดินและในอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหล

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน ทางออกโลกเดือด

นอกจากนี้ ยังมีขั้นตอนมากมายเพื่อความปลอดภัย 

  • ตรวจสอบคุณภาพของ CO2 ก่อนอัดลงไป
  • ออกแบบหลุมอัดและหลุมตรวจสอบอย่างรอบคอบ
  • ดูแลรักษาหลุมให้อยู่ในสภาพดี
  • วัดความดันขณะที่อัด CO2 ลงไป
  • ติดตามว่า CO2 กระจายตัวยังไงใต้ดิน
  • และแน่นอนว่า ตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆ บริเวณที่เก็บ CO2 ด้วย

โครงการ Eastern Thailand CCS Hub

เป็นหนึ่งในโครงการที่กลุ่ม ปตท. ริเริ่มเพื่อพิชิตเป้าหมาย Net Zero มีเป้าหมายดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปริมาณมาก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC ให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะยาว

โดยกระบวนการรวบรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาเก็บไว้ที่สถานีรวบรวม ซึ่งเป็นสถานีบนฝั่งที่ใช้รองรับ และกักเก็บ CO2 ไว้ชั่วคราว ก่อนที่จะถูกส่งผ่านท่อใต้ทะเลไปยังแหล่งกักเก็บนอกชายฝั่ง ระยะทางประมาณ 100-200 กิโลเมตร และอัดกลับเข้าไปในชั้นหินใต้ดินอย่างถาวร ไม่เกิดการปล่อยออกสู่บรรยากาศอีก

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน ทางออกโลกเดือด

เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีศักยภาพสูงในการช่วยลดปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกได้ยาก ปัจจุบันมีโครงการดักจับคาร์บอนดำเนินการอยู่ 41 แห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน ทางออกโลกเดือด

สำหรับประเทศไทยก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีนี้ ซึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้