นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยในงานสัมมนา Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business ช่วง The Green Port : Efficiency of the Future จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ว่า การเป็น Sustainability ในปีพ.ศ.2593 หรืออีก 26 ปี จะใช้ระยะเวลา แต่ปัจจุบันเราต้องเดินหน้าวางแผนเพื่อเตรียมตัว
ทั้งนี้ในปัจจุบันกทท.มีแผนพัฒนาด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือที่เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจ เนื่องจากการขนส่งสินค้าส่วนใหญ่มีผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ ซึ่งกทท.มุ่งหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนในเรื่องนี้
ขณะเดียวกันกทท.มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ประกอบด้วย การเป็นท่าเรือชั้นนำของโลก ในการมุ่งมั่นการให้บริการโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศเพื่อความยั่งยืน รวมถึงการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในภาคการขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในอนาคตด้วย
นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีท่าเรือ จำนวน 5 แห่งทั่วประเทศที่อยู่ภายใต้การดูแลของกทท. ประกอบด้วย 1.ท่าเรือกรุงเทพฯ 2.ท่าเรือแหลมฉบัง 3.ท่าเรือเชียงแสน 4.ท่าเรือเชียงของ และ 5.ท่าเรือระนอง
นอกจากนี้ท่าเรือแหลมฉบังถูกวางบทบาทให้เป็นท่าเรือที่สนับสนุนอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนและการขนส่งทางราง ขณะที่ท่าเรือกรุงเทพฯถูกออกแบบให้เป็นท่าเรือแม่น้ำ
ขระเดียวกันกทท.จะเดินหน้าพัฒนาท่าเรือกรุงเทพฯไปสู่ท่าเรือในเมือง (City Port) โดยทำให้เกิดความคล่องตัวในการขนส่งสินค้า เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหญ่ เมื่อรวมทั้ง 2 ท่าเรือพบว่ามีปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้น 10.7 ล้านตู้ทีอียู ซึ่งจะรองรับการขนส่งเพื่อสนับสนุนให้ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้
นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อนโยบายเพื่อไปสู่ Carbon Nuture Port ในปีพ.ศ.2593 นั้นคือการสร้างนโยบายส่งเสริมท่าเรือสีเขียว รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีต่างๆควบคู่ไปพร้อมกัน ตลอดจนการมุ่งไปสู่การขนถ่ายสินค้าถ่ายลำและการแก้ปัญหารถติดภายในท่าเรือ เพื่อเป็นทั้งเกตเวย์และเป็นฮับ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถต่างๆ
ทั้งนี้กทท.จะวางโครงสร้างพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ประกอบด้วย ท่าเรือ E และท่าเรือ F
ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการถมทะเล โดยระยะแรกได้ทยอยก่อสร้างท่าเรือ F ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในปีพ.ศ. 2570 ส่วนท่าเรือ F2 ตามแผนจะเปิดให้บริการได้ภายในปีพ.ศ. 2574 และจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการภายในปีพ.ศ. 2581
นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเรือ F ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการถมทะเลกว่า 2,800 ไร่ หรือคืบหน้าแล้ว 50% จากเดิมที่มีพื้นที่ประมาณ 8,800 ไร่ โดยเป็นการถมทะเลเพิ่มเติมอีก 2,700 ไร่ เมื่อถมทะเลแล้วเสร็จจะมีพื้นที่รวมประมาณ 11,500 ไร่
หลังจากนั้นจะดำเนินถมทะเลเพื่อขุดลอกความลึกของทะเล 18 เมตรครึ่ง ในระยะต่อไป เมื่อท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีการขนส่งตู้สินค้าเพิ่มขึ้น 7 ล้านตู้ทีอียู จากปัจจุบันมี 11 ล้านตู้ทีอียูเป็น 18 ล้านตู้ทีอียู
ขณะที่การพัฒนาท่าเรือกรุงเทพหรือท่าเรือคลองเตย บนพื้นที่ 2,353 ไร่ โดยมุ่งเน้นการเป็นท่าเรือ Modern Port City เพื่อเป็น City Port อย่างสมบูรณ์ โดยมีการสนับสนุนจากภาคโลจิสติกส์และภาคธุรกิจบริการ ตลอดจนการเดินหน้าเป็น Cruise Terminal เพื่อส่งเสริมด้านการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างความเจริญให้กรุงเทพฯควบคู่กับการพัฒนาชุมชนเพื่อให้มีอาชีพที่ดี ถือเป็นบุคคลากรที่สำคัญในการพัฒนาด้านระบบโลจิสติกส์ด้วย
ทั้งนี้การวางโครงสร้างพื้นฐานเป็นการสนับสนุน Green Standard โดยในระยะถัดไปกทท.จะเดินหน้าสร้างท่าเรือที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะฉะนั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวควบคู่กับการปรับปรุงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเกิดท่าเรือ Net Zero อย่างแท้จริงในปีพ.ศ. 2593
ขณะเดียวกันต้องเชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรมการขนส่งและภาคโลจิสติกส์ทั้งระบบเพื่อให้เกิดเป็น Zero in Vision Terminal ต่อไป คาดว่าหลังปี พ.ศ.2581 กทท.จะสามารถเดินหน้าในเรื่องดังกล่าวได้
“กทท.หวังว่าภายใน 10 ปีจะเป็นท่าเรือกรีนพอร์ทและสมาร์ทพอร์ทที่จะเป็นรากฐานสู่ World Class Port ในการผสมผสานเทคโนโลยีรวมทั้งการทำงานทุกภาคส่วนที่สนับสนุนให้ไทยเป็นทั้งเกตเวย์และฮับ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เกิดการลงทุนในไทยไม่ว่าจะเป็นโครงการแลนด์บริดจ์ของกทท.หรือโครงการอื่นๆในรัฐบาล” นางเกรียงไกร กล่าว
นอกจากนี้กทท.ยังมีแผนลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การสร้างพลังงานทดแทน ที่ กทท.มุ่งเน้นให้ความสำคัญมาก โดยส่วนใหญ่พบว่าภายในท่าเรือมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากเป็นเครื่องยนต์ดีเซล
อย่างไรก็ตามรวมถึงการนำพลังงานสะอาด การนำพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนการนำพลังงานโซลาร์มาปรับใช้ในการสนับสนุนการทำงานมากขึ้น สอดคล้องกับการผนึกกำลังจากหน่วยงานต่างๆที่ทำงานร่วมกันทั้งในประเทศและระหว่างประเทศจนนำไปสู่ความยั่งยืน เพื่อสนับสนุน Smart Port และ Green Port
ข่าวที่เกี่ยวข้อง