สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน'
ประวัติศาสตร์การประมูล (42)
ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด
กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องข้อพิพาทและการฟ้องร้อง
(3) การเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของเอกชนคู่สัญญา เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดให้ทำได้ไว้ในสัญญาร่วมลงทุนหรือเอกชนคู่สัญญาได้รับการอนุมัติจาก รฟท.โดยหากการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาร่วมลงทุน รฟท.จะพิจารณาอนุมัติอย่างสมเหตุสมผล
(ก) การควบรวมกิจการตามกฎหมายไทยกับนิติบุคคลอื่น
(ข) การจำหน่ายจ่ายโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ รวมถึงการมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าบริหารหรือจัดการธุรกิจทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ หรือกระทำการใดๆ ที่มีผลอย่างเดียวกัน ยกเว้นในกรณีการบังคับหลักประกันของผู้สนับสนุนทางการเงินตามสัญญาจัดหาเงินสนับสนุน
(ค) การก่อภาระผูกพันเหนือทรัพย์สินของเอกชนคู่สัญญา ที่จัดหามาเพื่อการดำเนินโครงการฯ หรือหุ้นของเอกชนคู่สัญญา ยกเว้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้สนับสนุนทางการเงินตามสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนหรือที่ไม่ติดข้อจำกัดหรือข้อห้ามตามสัญญาร่วมลงทุนหรือเกิดขึ้นตามผลของกฎหมาย
(ง) การเปลี่ยนแปลงรอบปีบัญชีของเอกชนคู่สัญญาหรือการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีของเอกชนคู่สัญญาให้แตกต่างจากกฎหมายไทยหรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในประเทศไทย (Thailand GAAP) ยกเว้นเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายไทยหรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในประเทศไทย(Thai GAAP)
(จ) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของเอกชนคู่สัญญาที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถของเอกชนคู่สัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาร่วมลงทุน
(ฉ) การลงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของเอกชนคู่สัญญาให้เลิกบริษัท หรือ
(ช) การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ หรือยื่นคำขอให้มีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิน หรือผู้บริการจัดการทรัพย์สินของตนเอง
(5) ใบอนุญาต เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการใดๆ เพื่อให้ได้มาและดำรงรักษาใบอนุญาตใดๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการฯ ตลอดจนการดำเนินกิจการของเอกชนคู่สัญญา ให้มีผลบังคับ และยื่นขอใบอนุญาตใดๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการฯ ตลอดจนดำเนินกิจการของเอกชนคู่สัญญาภายในระยะเวลาที่กฎหมายไทยกำหนด รวมทั้งจดทะเบียน และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายไทยกำหนดซึ่งจำเป็นต่อภาระหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุน
(6) การปฏิบัติตามกฎหมายไทย เอกชนคู่สัญญาจะปฏิบัติตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ รวมถึงการให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการกำกับดูแลของโครงการฯ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการนโยบาย และจะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพในงานนั้นๆ
(7) ข้อพิพาทหรือการดำเนินคดีฟ้องร้อง
(ก) เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบและปกป้อง รฟท.จากการดำเนินใดๆ ที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ยกเว้นเป็นการกระทำของรัฐบาล รฟท.หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล และ/หรือรฟท.
(ข) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องแจ้งให้ รฟท.ทราบทันทีถึงการยื่นคำร้อง หรือคำฟ้องต่อศาลการนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ การประนีประนอมยอมความ หรือตกลงตามที่มีการเรียกร้องใดๆ จากบุคคลอื่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อ การดำเนินโครงการฯ
(8) การระดมทุนในตลาดทุน (ก) ภายใต้ข้อ 24(8)(ข) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการระดมทุนในตลาดทุนของประเทศไทยโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การนำหุ้นของเอกชนคู่สัญญาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ (ข) การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) หรือ (ค) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามกฎหมายไทย(Infrastructure Trust) หรือ (ง) วิธีการอื่นใดตามที่กฎหมายไทย และ รฟท.กำหนด เมื่อปรากฏว่าเอกชนคู่สัญญามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายไทยกำหนดสำหรับการระดมทุนในตลาดทุนด้วยวิธีการดังกล่าว
ทั้งนี้ในการเข้าระดมทุนข้างต้น หากเอกชนคู่สัญญามีการร้องขออย่างสมเหตุสมผล รฟท.จะให้ความร่วมมือจัดส่งข้อมูลเพื่อให้การระดมทุนประสบความสำเร็จ
(ข) หากการระดมทุนในตลาดทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายต่างประเทศ ทำให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหรือสัดส่วนการถือหุ้นในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1)
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญาถือหุ้นรวมกันแล้วน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด (51)ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญา
(9) การแก้ไขแบบจำลองทางการเงิน ตลอดระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาตกลงจะแจ้งให้ รฟท.ทราบภายในระยะเวลาอันสมควรภายหลังจากการแก้ไขแบบจำลองทางการเงินที่ได้ยื่นให้แก่ รฟท.ตามข้อ 6.3(2)(ก)1)
(10) ข้อตกลงทั่วไป ในการดำเนินการใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ให้บริการ และไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ระหว่างบรรทัดมีความหมายในทางคดีและข้อพิพาทในอนาคตอย่างมาก ขอบอกไว้เลยครับ!
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (41)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (40)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (39)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (38)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (37)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (36)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (35)