ค้าปลีกในอุ้งมือ 2 เจ้าสัว "ซีพี - เจริญ" กุม 3 ล้านล้าน

13 พ.ย. 2563 | 12:00 น.
อัปเดตล่าสุด :16 พ.ย. 2563 | 04:49 น.

ค้าปลีกในอุ้งมือ ‘เจ้าสัว’ ‘ซีพี-เจริญ’ กุม 3 ล้านล้าน : คอลัมน์ทางออกนอกตำรา ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3627 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 15-18 พ.ย.2563 โดย... บากบั่น บุญเลิศ

 

ฮือฮากันทั้งวงการค้าปลีกไทยที่มีมูลค่ากว่า 3.3 ล้านล้านบาท เมื่อคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ที่มี สกนธ์ วรัญญูวัฒนา เป็นประธาน มีมติอนุมัติให้บริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ธุรกิจในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้สิทธิ์ในบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จํากัด ที่ประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้เครื่องหมายการค้า Tesco Lotus ในประเทศไทย รวมทั้งซื้อหุ้นบริษัท Tesco Stores (Malaysia) Sdn.Bhd. ที่ประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้เครื่องหมายการค้า Tesco ในประเทศมาเลเซีย มูลค่ากว่า 3.38 แสนล้านบาท
 

มติของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าที่โหวตกันแล้วมีคะแนนออกมา 4:3 มีผลทำให้ “ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง” สามารถควบรวม “เทสโก้ โลตัส” กว่า 2,000 สาขา มาผนึกกับอาณาจักรค้าปลีก-ค้าส่ง ที่ปัจจุบันกลุ่มซีพีมีอยู่ในมืออย่าง “เซเว่นฯ-แม็คโคร-ซีพี เฟรชมาร์ท” อีก 12,000 สาขา ทำให้ธุรกิจในกลุ่มนี้ครองส่วนแบ่งกว่า 70% ของตลาดทันที
 

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าที่อนุมัติให้ควบรวมกิจการได้ มีเงื่อนไขเพื่อเป็นหลักประกันว่าธุรกิจค้าปลีกในกลุ่มซีพีจะไม่ทำข้อตกลง หรือดำเนินธุรกิจในลักษณะเป็นการเอาเปรียบซัพพลายเออร์รวม 7 ข้อ
 

สาระสำคัญส่วนใหญ่ของเงื่อนไขกำหนดว่า ทาวงกลุ่มเอกชนจะต้องมีเงื่อนไขในการทำธุรกิจร่วมกันโดยให้ซัพพลายเออร์ได้ประโยชน์สูงสุด
 

ถึงกระนั้นก็ตาม บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจค้าปลีกต่างวิตกกังวลว่า การอนุญาตซื้อกิจการในครั้งนี้ จะมีผลกระทบในระยะยาวเพราะจะส่วผลถึงอำนาจการต่อรองในทางธุรกิจของบรรดาผู้ประกอบการรายอื่นๆ เนื่องจากผู้ที่มีช่องทางการจัดจำหน่ายสูงสุดจะมีอำนาจการต่อรอวงกับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายมากที่สุด โดยที่ไม่มีอำนาจการต่อรองมากนัก เพราะช่องทางการขายเป็นหลักประกันการจำหน่าย
 

เนื่องจากกลุ่มซี.พี.นอกจากจะเป็นเจ้าของช่องทางการจำหน่ายสินค้าหลายอย่าง เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น แม็คโคร ซีพีเฟรชมาร์ท และเทสโก้ โลตัส ซึ่งปัจจุบันมีสาขามากกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ ทำให้ค่ายซีพีมีอำนาจการต่อรองที่มากขึ้นอย่างมหาศาล
 

ภายหลังจากการควบรวมกิจการเทสโก้ โลตัส เสร็จสิ้น จะทำให้ค่าย ซี.พี.ของเจ้าสัวธนินท์ เจียวรนนท์ มีธุรกิจโมเดิร์นเทรด ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ในเครือข่ายมากที่สุดในประเทศ จากเดิมที่มีร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น 12,089 สาขา แม็คโคร 136 สาขา ซีพีเฟรชมาร์ท 400 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต ซีพี เฟรช 1 สาขา
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดอาณาจักรค้าปลีก 2 เจ้าสัว “ธนินท์-เจริญ”

จี้กขค. สรุปคำวินิจฉัยกลาง ‘ซีพี’ควบ‘โลตัส’

ค้าปลีกเดือด “ธนินท์-เจริญ” เปิดศึก สาดสงครามราคา-โชห่วยกระอัก
 

ค้าปลีกในอุ้งมือ ‘เจ้าสัว’ ‘ซีพี-เจริญ’ กุม 3 ล้านล้าน

เมื่อได้เทสโก้ โลตัส มาเพิ่มอีก 2,046 สาขา จะทำให้ค่าย ซี.พี.มีจำนวนสาขาร้านค้าปลีกครอบคลุมทั่วทั้งสิ้นกว่า 14,312 แห่งทั่วประเทศ
 

นั่นทำให้ซีพีครอบครองตลาดโมเดิร์นเทรดเบ็ดเสร็จ 70% อำนาจนี้ยังครอบคุลมไปถึงห่วงโซ่ปัจจัยการผลิต การผลิต และแปรรูปอาหาร ซึ่งซีพีครอบครองตลาดตลอดสายการผลิตด้วย
 

ยิ่งเมื่อพิจารณาจากผลประกอบการของธุรกิจโมเดิร์นเทรดจะพบว่า ในปี 2562 ทางกลุ่มเทสโก้มีรายได้ 1.98 แสนล้านบาท มีกำไร 9,628 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งการตล่ดราว 38.4% สยามแมคโคร มีรายได้ 1.92 แสนล้านบาท มีกำไร 5,942 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาดแค่ 37.4%
 

ขณะที่ทางกลุ่มบีกซีของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี มีรายได้จากการขายแค่ 1.25 แสนล้านบาท กำไรราว 6,346 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาดราว 24.2%
 

และหากพิจารณาจากอาณาจักค้าปลีกจะพบว่า ผู้ครองครองตลาดส่วนใหญ่ของประเทศจะจำกัดวงแคบไว้ที่ 3 กลุ่มเท่านั้น กล่าวคือ กลุ่มซีพี กลุ่มเจริญ และกลุ่มเซ็นทรัล
 

ตัวเลขแบบนี่แหละที่เขาวิตกกังวลกันว่าจะเกิดการครอบงำการตลาดค้าปลีกในประเทศ
 

ยิ่งหากใครเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีตมาเทียบเคียงปัจจุบันจะยิ่งเห็นอันตรายที่รุกคืบเข้ามาในการทำธุรกิจ หากเจ้าของช่องทางการจัดจำหน่าย ใช้พลังของ “สินเค้าเฮ้าส์แบรนด์” มากดดันหรือสร้างพลังการต่อรองกับเจ้าของผู้ผลิตสินค้ารายย่อยจะยิ่งเห็นถึง “ปัญหาการทำธุรกิจ” ในอนาคต
 

ค้าปลีกในอุ้งมือ ‘เจ้าสัว’ ‘ซีพี-เจริญ’ กุม 3 ล้านล้าน

คุณเคยเห็นนํ้าตาลยี่ห้อของห้างวางทับเหนือสินค้าผู้ผลิตรายอื่นจนชินตาหรือไม่
 

คุณเคยเห็นนํ้าดื่มยี่ห้อของห้างวางทับนํ้าดื่มของผู้ผลิรายอื่นหรือไม่ 
 

คุณเคยเห็นกล้วยใส่ยี่ห้อห้าง วางทาทาบเหนือกล้วยของชาวบ้านรายย่อยหรือไม่ ฯลฯ
 

ปรากฏการณ์แบบนี้แหละที่เขากลัวกันว่า หากไม่มีการกำหนดเงื่อนไขมาควบคุมจะทำให้คนตัวเล็กอยู่ไม่ได้
 

สำหรับการพิจารณาควบรวมกิจการครั้งนี้ ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมาของสินค้าหรือบริการตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และมียอดเงินขายปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปจะควบรวมธุรกิจต้องยื่นคำขออนุญาตรวมธุรกิจ
 

การอนุญาตซื้อกิจการในครั้งนี้ สิ่งที่บรรดาซัพพลายเออร์กังวลหลักๆ จะเป็นในเรื่องของอำนาจการต่อรอง เนื่องจาก ซี.พี.นอกจากจะเป็นเจ้าของสินค้าหลายๆ อย่างแล้ว ทั้งเซเว่นอีเลฟเว่น แม็คโคร ซีพีเฟรชมาร์ท และล่าสุดยังมีเทสโก้ โลตัส ซึ่งปัจจุบันมีสาขามากกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งจะเท่ากับว่าค่ายซีพีมีอำนาจการต่อรองที่มากขึ้นอย่างมหาศาล
 

ภายหลังจากการควบรวมกิจการเทสโก้ โลตัส เสร็จสิ้น จะทำให้ค่าย ซี.พี.ของเจ้าสัวธนินท์ เจียวรนนท์ มีธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ในเครือข่ายมากที่สุดในประเทศ จากเดิมที่มีร้านสะดวกซื้อ
 

เซเว่นอีเลฟเว่น 12,089 สาขา แม็คโคร 136 สาขา ซีพีเฟรชมาร์ท 400 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต ซีพี เฟรช 1 สาขา ล่าสุดการได้เทสโก้ โลตัส มาเพิ่มอีก 2,046 สาขา จะทำให้ค่าย ซี.พี.มีจำนวนสาขาร้านค้าปลีกทั้งสิ้นประมาณ 14,312 แห่งทั่วประเทศ
 

นั่นทำให้ซีพีครอบครองตลาดโมเดิร์นเทรดเบ็ดเสร็จ 70% รวมถึงห่วงโซ่ปัจจัยการผลิต การผลิต และแปรรูปอาหาร ซึ่งซีพีครอบครองตลาดตลอดสายของธุรกิจ

ค้าปลีกในอุ้งมือ ‘เจ้าสัว’ ‘ซีพี-เจริญ’ กุม 3 ล้านล้าน

โชคดีที่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเสียงข้างน้อยกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้ทุกคนปรับตัวไว้บ้าง แม้ว่าจะเป็นการควบคุม ระยสั้นก็ตาม แต่ข้อกำหนดเงื่อนไขนั้นมีการเสนอความเห็นไว้ชัดเจนว่า ยังไม่ครอบคลุม และขอให้บทางกลุ่มซีพีพิจารณาเงื่อนขว่ารับได้หรือไม่ใน 60 วัน ลองมาพิจารณาดูครับ
 

1.ห้ามไม่ให้ควบรวมธุรกิจกับรายอื่นในตลาดเป็นระยะเวลา 3 ปี (ไม่รวมอีคอมเมิร์ซ) ความเห็นของคณะกรรมการแข่งขันเสียงข้างน้อย หลังรวมกลุ่มซีพีจะมีส่วนแบ่งการตลาด 70%  BJC 10%  เซ็นทรัล 6% ที่เหลือมีน้อยกว่า1% ซึ่งหากรวมจะมีนัยสำคัญกับกลุ่มซีพี
 

2. ใน 7-11 และ เทสโก้ ให้เพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้าที่มีจาก SMEs (เกษตร ชุมชน วิสาหกิจชุมชน โอทอป)  YOY ไม่น้อยกว่า 10% / ปี ระยะเวลา 5 ปี ความเห็นของคระกรรมการเสียงข้างน้อย 10% เป็นตัวเลขที่น้อยมาก และจะวัดอย่างไร สินค้าผักผลไม้จากพ่อค้าคนกลางนับหรือไม่? เงื่อนไขนี้ต้องตีความ
 

3.ห้ามใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลการตลาดที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหรือวัตถุดิบ ให้ถือเป็นความลับทางการค้า ความเห็นของคณะกรรมการเสียงข้างน้อย  ต้องตีความ การใช้ทรัพยากรร่วม เช่นการจัดการสินค้าระหว่าง แม็คโคร เทสโก้ ทำได้หรือไม่?
 

ค้าปลีกในอุ้งมือ ‘เจ้าสัว’ ‘ซีพี-เจริญ’ กุม 3 ล้านล้าน

4.ให้เทสโก้คงสัญญาไว้กับคู่ค้าเดิม 2 ปี
 

5.ให้ CP ALL และ เอกชัย กำหนด cre-dit term 30-45 วัน เป็นเวลา 3 ปี ความเห็นของคณะกรรมการเสียงข้างน้อย สำหรับสินค้าเกษตร 30-45 วันนานเกินไป ควรเป็น 3-15วันสำหรับเกษตรกร และ 15-30วัน สำหรับวิสาหกิจชุมชน
 

6.ให้ CP ALL และ เอกชัย ดิสตริบิวชั่น ซิสเต็ม รายงานผลประกอบธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำหนดเป็นรายไตรมาส
 

7.ให้กำหนดมาตรฐานในการปฎิบัติทางการค้าที่ดี เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะชนและถือปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวและต้องไม่กระทำการที่เป็นข้อห้ามตามมาตรา 50 ของพ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า 2560 ความเห็นของคณะกรรมการเสียงข้างน้อย ทำไมการควบรวมกิจการครั้งนี้ผู้ควบรวมจะต้องออกแนวทางมาตรฐานในการปฎิบัติ มีอำนาจ? หรือเป็นตัวอย่างในการควบรวมค้าปลีกในประเทศไทย? ส่วนม.50 มีช่องว่างและยังต้องตีความ
 

ข้อกำหนดเหล่านี้ยังไม่รวมข้อเสนอของผู้ประกอบการว่า ต้องไม่ให้ซีพีมีเงื่อนไขในการทำธุรกิจกับคู่ค้า เช่น ต้องไม่มีเงื่อนไขการบังคับให้ซัพพลายเออร์หรือคู่ค้าต้องส่งสินค้าหรือบริการให้กับธุรกิจค้าปลีกปัจจุบันของเครือซีพี (เซเว่น-อีเลฟเว่น และแม็คโคร) โดยมีเงื่อนไขต้องส่งสินค้าให้เทสโก้ โลตัสด้วย
 

และต้องไม่มีเงื่อนไขการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากซัพพลายเออร์หรือคู่ค้า เช่น ค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (Entrance Fee) ค่าธรรมเนียมการวางสินค้า รวมทั้งต้องไม่เพิ่มค่าส่วนแบ่งจากยอดขายหรือกำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit (GP) และต้องเปิดให้ซัพพลายเออร์หรือคู่ค้าเลือกได้ว่าจะส่งสินค้าให้กับธุรกิจค้าปลีกปัจจุบันของเครือซีพีหรือส่งให้กับเทสโก้ โลตัส
 

อาณาจักรธุรกิจค้าปลีกในปแระเทศไทยหลังจากนี้
 

จะเป็นเช่นไร คนไทยทุกคนจะได้รับผลของมตินี้กันถ้วนทั่วทุกตัวคนแน่นอน