เคาะอย่างเป็นทางการแล้วกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท นโยบายเรือธงจากพรรคเพื่อไทยเพื่อพาคนไทยพ้นจากความยากจน โดยให้เงินจากดิจิทัลเป็นจุดเริ่มต้นให้คนไทยลุกขึ้นทำมาหากินได้อีกครั้ง อีกทั้งรัฐบาลเองก็จะได้ร้านค้าที่เข้าสู่ระบบของภาครัฐมากขึ้น โดยโครงการดิจิทัลวอลเล็ตประชาชนสามารถเริ่มลงทะเบียนรับสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567
โดยผ่านแอปพลิเคชันที่ใช้ในการ “ลงทะเบียนและยืนยันตัวตน” เท่านั้น (KYC) แอปพลิเคชันในการใช้จ่ายเงินกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา โดยเงื่อนไขของผู้รับสิทธิ จะต้องเป็นประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 840,000 บาท และ/หรือ มีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 500,00 บาท โดยเงินในกระเป๋าดิจิทัลวอลเล็ตจะถูกโอนเข้ากระเป๋าของประชาชนในไตรมาศ 4 เป็นต้นไป
แม้ที่ผ่านมาจะมีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายทั้งนักวิชาการ พรรคร่วมรัฐบาล หรือแม้แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเองยังมีความกังวลในเรื่องของการจัดทำระบบ การโอนเงินและการชำระเงินในโครงการ แต่มีเสียงประชาชนไม่น้อยที่ติดตามและเฝ้ารอเงินหมื่นอยู่เพิ่มเข้ามาในกระเป๋าของตนเองอยู่ไม่น้อย โดยส่วนใหญ่สินค้าที่ประชาชนสนใจหนีไม่พ้นสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จะเป็นส่วนการใช้เงินหลักในโครงการในครั้งนี้
ในมุมของภาคธุรกิจก็เป็นโอกาสในการขายสินค้าในช่วงนี้ที่จะเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการเพิ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ๆเข้ามาเป็นลูกค้ากับสินค้ามากขึ้นก่อนที่โครงการจะเริ่มขึ้นชวนธุรกิจมา “SPARK(Q)” เพื่อทำให้สินค้าของเราไปตรง “SPEC” ของลูกค้ากันดีกว่า
S - Strategy: จะต้องมีการวางกลยุทธ์ในการขายสินค้า การบริหารสินค้า ก่อนที่โครงการจะเริ่มขึ้น รวมทั้งกลยุทธ์การขายที่จะมัดใจผู้บริโภคในช่วงเวลาในการใช้จ่าย เพื่อ “พิชิตเป้าหมาย” ในด้านของกำไรและ พิชิตปริมาณผู้บริโภค ให้ได้มากที่สุด
P - Price: ราคาที่ถูกที่สุดอาจจะไม่ใช่ราคาที่ผู้บริโภคเลือกในเวลานี้ แต่ “ราคาที่เหมาะสม” ตังหากที่จะดึงดูดผู้บริโภคได้ ความเหมาะสมอาจมาจากความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้ากับเงินที่ต้องจ่ายไป และอย่าลืม การตั้งราคาที่จะช่วยดึงดูด “ความอยากลอง” ของผู้บริโภคเข้ามาเป็นลูกค้าของแบรนด์เพื่อการสร้างฐานลูกค้าใหม่
A - Area: บริเวณที่สินค้าจะครอบคลุมการเข้าถึงของผู้บริโภคได้นั้นมีส่วนในการตัดสินใจซื้อเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่สินค้าจะดีหรือราคาน่าโดนแค่ไหนแต่ถ้าหากหาซื้อยาก ผู้บริโภคก็ถอดใจได้และหันไปลองสินค้าที่หาได้ง่ายกว่า “หยิบจับง่ายใกล้มือ” ยังไงก็ดีกว่า!
R - Rating: การเช็คเรตติ้งความพึงพอใจและประสิทธิภาพของตัวสินค้าบ่อยๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย “แม้วันนี้จะเป็นที่รักพรุ่งนี้ก็เป็นที่ลืมได้” เพราะฉะนั้นจะต้องมีติดตามสถิติในตัวสินค้า รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่การติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค ควรมีการทำอย่างสม่ำเสมอ
K(Q) - Quality: สินค้าที่ดีหรือสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ จะทำให้ผู้บริโภคไม่ได้เพียงบริโภคเพียงสินค้าชนิดเดียวเท่านั้นแต่จะทำให้เกิดการ “เลือกบริโภคจากแบรนด์” จากความไว้ใจได้ เพราะฉนั้นการให้ความสำคัญต่อคุณภาพถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย
ซึ่งนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตในครั้งนี้จะเป็นเพียงหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนที่จะช่วยทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต่อจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตแล้วจะเป็นการแก้ปัญหาหนี้สินทุกภาคส่วน, ลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายพลังงาน, การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และการสร้างความมมั่นใจในเศรษกิจให้กับประชาชน ซึ่งต่อไปรัฐบาลคงจะมีนโยบายผลักดันเศรษฐกิจออกมาให้ภาคธุรกิจอีกอย่างแน่นอน