"วันเข้าพรรษา" ห้ามขายเหล้า ฝ่าฝืนระวังเจอโทษหนัก

05 ก.ค. 2563 | 22:00 น.

วันเข้าพรรษา เป็น วันงดดื่มสุราแห่งชาติ ตามมติครม.ปี 2551 และ เป็นวันที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ฝ่าฝืนมีทั้งโทษปรับและจำคุก

วันนี้ (6 ก.ค. 63 ) เป็น "วันเข้าพรรษา" ซึ่งตรงกับ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาที่พระสงฆ์เถรวาท จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย การเข้าพรรษาตามปกติ

 

และนอกจากวันนี้จะเป็นวันเข้าพรรษาแล้ว ยังถือเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ที่กำหนดให้ "วันเข้าพรรษา" ของทุกปีเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ 

 

ที่มาของการพิจารณากำหนดวันงดดื่มสุราแห่งชาตินั้น เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2551 มีเครือข่ายภาคประชาชน ทำหนังสือถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ขอให้กำหนดวันเข้าพรรษาของทุกปี เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ทำบุญเข้าพรรษา”ททท. ชวนพุทธศาสนิกชนท่องเที่ยวไหว้พระ ทำบุญทั่วไทย

"เวียนเทียนออนไลน์-เข้าพรรษาออนไลน์" วิถีใหม่ชาวพุทธ

วันเข้าพรรษา “เทวัญ” ชวนทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา

โดยเครือข่ายภาคประชาชน ที่นําโดย นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อํานวยการสํานักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า  ได้ยื่นหนังสือระบุเหตุผลถึงรัฐบาล ดังนี้

1. สังคมไทยมีวัฒนธรรมอันดีงามจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เมื่อถึงช่วงเวลา เข้าพรรษาตลอด 3เดือน จะตั้งสัจจะอธิษฐาน ลดละเลิกเหล้า เป็นการรักษาศีล 5 และ จากการที่สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และองค์ภาคีได้รณรงค์โครงการงดเหล้าเข้าพรรษามาตั้งแต่ปี 2546 พบว่ามี ผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นถึงจากปกติที่เคยมีผู้งดเหล้าเข้าพรรษาร้อยละ 15 เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 40-50  โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลําดับ ซึ่งหากรัฐบาลรับรองให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ยิ่งเป็นการสนับสนุนธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามนี้ให้ดียิ่งขึ้น

\"วันเข้าพรรษา\" ห้ามขายเหล้า ฝ่าฝืนระวังเจอโทษหนัก

2. จากการสํารวจความคิดเห็นโดยสํานักวิจัยเอแบคโพลล์ ปี 2549 พบว่า ประชาชน 88.6%  เห็นด้วยกับการกําหนดให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” 1 วันต่อปี และเห็นว่า “วันเข้าพรรษา” ควรเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ”  61.6% 

3. การประกาศเป็นนโยบาย (มติคณะรัฐมนตรี) จะทําให้ความร่วมมือ ในการรณรงค์ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกระทรวงทางสังคม และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม และสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น

และหลังจากคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในวันนั้น ก็ทำให้ วันเข้าพรรษา ของทุกปี เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

\"วันเข้าพรรษา\" ห้ามขายเหล้า ฝ่าฝืนระวังเจอโทษหนัก

ซึ่งนอกจากการเป็นวันเข้าพรรษา และวันงดดื่มสุราแห่งชาติแล้ว ยังพบด้วยว่า ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี  เรื่อง กําหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษา  วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ลงนาม โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า 

อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ "ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษาและ วันออกพรรษา ยกเว้นการขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ"

ซึ่งบทกำหนดโทษตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอล หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

ที่มา ราชกิจจานุเบกษา