วันที่ 26 มกราคม 64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่าครม.มีมติรับทราบ เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีรับทราบ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ครอบคลุมหลายพื้นที่ ในประเทศ
โดยรายละเอียดของมติครม.ดังกล่าว ระบุว่า
กระทรวงการคลังได้ดําเนินการ เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและ ผู้ประกอบการโดยทั่วไปกระทรวงการคลังจึงได้มีการดําเนินการ ดังนี้
1.การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วัตถุประสงค์ - เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
กลุ่มเป้าหมาย - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งยื่นแบบแสดง รายการและชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ของปีภาษี 2563 ที่ยืน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ระยะเวลาดําเนินงาน - ขยายระยะเวลา 3 เดือน (ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564) จากเดิมภายในเดือนมีนาคม 2564
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณ 10,600 ล้านบาท
กระทรวงการคลัง ไม่สูญเสียรายได้ภาษี แต่จะส่งผลให้กระแสเงินสดรับจาก การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลื่อนออกไป
2. การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นําส่ง และชําระภาษีให้แก่ ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการนําส่งหรือการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม
วัตถุประสงค์ - เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้และผู้ประกอบการ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
กลุ่มเป้าหมาย - ผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและผู้มีหน้าที่ยื่น แบบแสดงรายการภาษีหรือนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งยื่นแบบแสดงรายการหรือนําส่งภาษีผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
ระยะเวลาดําเนินงาน - เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2564 ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นําส่ง และชําระภาษีของ เดือนมกราคม 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ต้องยื่นและนําส่งหรือชําระในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ เฉพาะการยืน แบบแสดงรายการ นําส่ง และชําระภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สําหรับแบบแสดงรายการดังต่อไปนี้
1.แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่ง ประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 1)
2.แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่ง ประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 2)
3.แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่ง ประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 3)
4. แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิ และการเสียภาษีตามมาตรา 65 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 53)
5.แบบยืนรายการนําส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจําหน่าย เงินกําไร ตามมาตรา 70 และตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 54)
6.แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ. 30)
7.แบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ. 36)
ทั้งนี้ การขยายกําหนดเวลาดังกล่าวไม่สูญเสียรายได้ แต่ส่งผลให้กระแสเงินสดรับจาก การจัดเก็บรายได้รัฐบาลเลื่อนออกไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - ผู้มีเงินได้และผู้ประกอบการมีสภาพคล่อง เพิ่มขึ้น แบ่งเป็น
1.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเวลา 5 เดือน เดือนละประมาณ 21,500 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 107,500 ล้านบาท
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเวลา 5 เดือน เดือนละประมาณ 29,520 ล้านบาท
รวมทั้งสิ้น 147,500 ล้านบาท
โดยกระทรวงการคลังเห็นว่า การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษี ข้างต้นจะเป็นประโยชน์และสร้างการรับรู้ต่อประชาชนและผู้ประกอบการโดยทั่วไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ประกันสังคมมาตรา33” ครม.เคาะลด "เงินสมทบลูกจ้าง" เหลือ 75 บาท นาน 2 เดือน
ด่วน ครม.ไฟเขียว “ลดภาษีที่ดิน – ค่าธรรมเนียมโอน –ขยายเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดา”
สำนักงานสลากฯ เฮ ครม.เคาะเกณฑ์ใหม่ "จ่ายโบนัส” สูงสุดได้ 8 เท่า