ความคืบหน้า "โครงการประกันรายได้ยางพารา" ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ได้อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่2 นั้น เกษตรกรชาวสวนยาง เช็กสิทธิ์ ผ่านลิงค์ http://www.rubber.co.th/gir/index/ และตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ https://chongkho.inbaac.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่ง เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท. ) ทั้งบัตรสีเขียว และบัตรสีชมพู ซึ่งแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,834,087 ราย พื้นที่สวนยางกรีดได้ 18,286,186.03 ไร่ กำหนดระยะเวลาประกันรายได้ 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563–มีนาคม 2564ผ่านมา 2 งวดแล้ว นั้น
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยตัวเลขการจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางยาง 3 งวดจ่ายกว่าหกพันล้านบาท ประจำเดือน ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส. พร้อมโอนเข้าบัญชีเกษตรกรชาวสวนยางได้ภายในวันที่ 29 มกราคม นี้
กำหนดราคากลางอ้างอิง ดังนี้
ราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 57.85 บาท/กก. ชดเชย 2.15 บาท
ราคาน้ำยางสดอยู่ที่ 48.78 บาท/กก. ชดเชย 8.22 บาท/กก.
ราคายางก้อนถ้วย (DRC 50%) อยู่ที่ 19.19 บาท/กก. ชดเชย 3.01 บาท/กก.
ในช่วงเดือนที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนยางสามารถกรีดยางได้มากขึ้นหลังจากฝนทิ้งช่วง ทำให้ผลผลิตออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ก่อนจะเข้าสู่ช่วงปิดกรีดและผลผลิตจะลดลง ราคายางจึงมีแนวโน้มลดลงตามสถานการณ์ตลาด รวมถึงการชะลอการรับสินค้าของประเทศผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น ประเทศจีนที่กำลังจะเข้าช่วงตรุษจีนซึ่งเป็นวันหยุดยาวจะไม่รับสินค้าในช่วงดังกล่าว ประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปที่มีปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ตู้ขนส่งสินค้าตกค้างอยู่ในประเทศจนเกิดปัญหาการขาดตู้ขนส่งสินค้าทำให้เป็นอุปสรรคในการส่งออกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำยางของตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศยังคงมีสูง ทั้งจากสถานการณ์ของโรคระบาด ทำให้อุตสาหกรรมถุงมือยางขยายตัวสูงขึ้น และการที่ประเทศจีนส่งเสริมการใช้รถยนต์ในเมืองชนบท จะส่งผลให้จากนี้ไปราคายางจะยังคงทรงตัวอยู่ในแนวนี้ไปอีกระยะหนึ่ง แต่จะขยับตัวขึ้นจากนี้อย่างแน่นอน
กยท.ได้ออกมาตรการกระตุ้นการดึงน้ำยางสดออกจากตลาดกว่า 200,000 ตัน/ปี ได้แก่มาตรการกระตุ้นการซื้อน้ำยางสดมาแปรรูป เดินหน้าโครงการการชะลอยาง เก็บสต๊อกยาง รวมถึงบทบาทของหน่วยธุรกิจของ กยท. ที่เร่งเดินหน้าหาผู้ซื้อต่างประเทศ ตอนนี้มีผู้ซื้อจากหลายประเทศสนใจสั่งซื้อยางแปรรูปของไทย โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียที่สนใจสั่งซื้อน้ำยางสดและน้ำยางข้น เพื่อนำเข้าไปผลิตเป็นถุงมือยาง ดังนั้น มาตรการทั้งหมดนี้ จะช่วยผลักดันให้ราคายางในตลาดสูงและมีเสถียรภาพขึ้น นายณกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
อนึ่ง เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลสวนยางไว้กับ กยท.สามารถตรวจสอบสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่2 ได้ที่ลิงค์ http://www.rubber.co.th/gir/index/
ทั้งนี้ เกษตรกรยางพารา ชาวสวน สามารถ ตรวจสอบสถานะการโอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา แบบอัพเดทได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ https://chongkho.inbaac.com/