นายพลมิน อ่อง หล่าย ผู้นำสูงสุดของเมียนมา ในขณะนี้ กล่าวระหว่างการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (3 ก.พ.) ว่า เขาได้แจ้งให้บรรดาตัวแทนภาคธุรกิจรับทราบว่า การเลือกตั้งทั่วไปในเมียนมา จะจัดขึ้นภายในเวลา 6 เดือนหลังมาตรการภาวะฉุกเฉินระยะเวลา 1 ปีสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของเมียนมา
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายพลมิน อ่อง หล่าย ยังกล่าวด้วยว่า กองทัพเมียนมามีจุดยืนที่ชัดเจนว่า กองทัพไม่มีความตั้งใจที่จะหันเหออกจากแนวทางประชาธิปไตยของเมียนมาแต่อย่างใด
กระนั้นก็ตาม ขณะนี้ยังคงมีคำถามว่าบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญของเมียนมาจะเปิดทางให้มีการขยายเวลาประกาศภาวะฉุกเฉินต่อไปอีก 1 ปีหรือไม่ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า ถึงอย่างไรทิศทางการเมืองในอนาคตของเมียนมายังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
ทั้งนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวทั้งหมดในทันที ซึ่งรวมถึงนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา โดยUNSC ยังแสดงความกังวลต่อการทำรัฐประหารว่าเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยของเมียนมา ทั้งนี้เพราะรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจนั้นมาจากการใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งโดยประชาชนชาวเมียนมาเมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกองทัพเมียนมาอ้างว่ามีการทุจริตเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง และรัฐบาลเองก็ไม่ใส่ใจที่จะไต่สวนหาความจริงในเรื่องนี้ทั้งที่มีการร้องเรียนแล้วหลายครั้ง เป็นเหตุผลนำไปสู่การรัฐประหารยึดอำนาจโดยกองทัพเมื่อวันที่ 1 ก.พ.ในที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เมียนมาสั่งปิดกั้นการสื่อสาร-ระงับการเข้าถึงเฟซบุ๊กแล้ว อ้างมีการบิดเบือนข่าว-ส่งข่าวลวง
เมียนมารัฐประหาร ทหารคุมตัว"อองซาน ซูจี"
เมื่อ“ทหารเมียนมา” ขี่หลังเสืออีกครั้ง
“ณัฐวิน-กริช” เปิดมุมมองรัฐประหารเมียนมาไม่มีผลกับการทำธุรกิจ
เปิดใจครั้งแรก พล.อ.มิน อ่อง หล่าย ในวันที่การรัฐประหารเมียนมาเป็นสิ่ง "หลีกเลี่ยงมิได้"
นายพลมิน อ่อง หล่าย ผู้นำกองทัพ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในเมียนมาหลังทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ( 1 ก.พ.) ส่งสัญญาณว่า อาจจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเร็วที่สุดภายในเดือนส.ค.ปีหน้า (2565)
นายพลมิน อ่อง หล่าย กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (3 ก.พ.) เขาได้แจ้งให้บรรดาตัวแทนภาคธุรกิจรับทราบว่า การเลือกตั้งทั่วไปในเมียนมาจะจัดขึ้นภายในเวลา 6 เดือนหลังมาตรการภาวะฉุกเฉินระยะเวลา 1 ปีสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของเมียนมา
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายพลมิน อ่อง หล่าย ยังกล่าวด้วยว่า กองทัพเมียนมามีจุดยืนที่ชัดเจนว่า กองทัพไม่มีความตั้งใจที่จะหันเหออกจากแนวทางประชาธิปไตยของเมียนมาแต่อย่างใด
กระนั้นก็ตาม ขณะนี้ยังคงมีคำถามว่าบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญของเมียนมาจะเปิดทางให้มีการขยายเวลาประกาศภาวะฉุกเฉินต่อไปอีก 1 ปีหรือไม่ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า ถึงอย่างไรทิศทางการเมืองในอนาคตของเมียนมายังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
ทั้งนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวทั้งหมดในทันที ซึ่งรวมถึงนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา โดยUNSC ยังแสดงความกังวลต่อการทำรัฐประหารว่าเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยของเมียนมา ทั้งนี้เพราะรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจนั้นมาจากการใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งโดยประชาชนชาวเมียนมาเมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกองทัพเมียนมาอ้างว่ามีการทุจริตเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง และรัฐบาลเองก็ไม่ใส่ใจที่จะไต่สวนหาความจริงในเรื่องนี้ทั้งที่มีการร้องเรียนแล้วหลายครั้ง เป็นเหตุผลนำไปสู่การรัฐประหารยึดอำนาจโดยกองทัพเมื่อวันที่ 1 ก.พ.ในที่สุด