วันนี้ (วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2564) นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เผยว่า ทางสมาคมภัตตาคารไทย ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการ ศบค.เพื่อขอความเป็นธรรมเรื่องการจัดการควบคุมการแพร่ระบาด โควิด 19 ในสถานบันเทิง-กลุ่มนักเที่ยวกลางคืน
โดยระบุว่าจากกรณีเกิดการติดต่อกันของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในกลุ่มนักเที่ยวกลางคืนที่ทองหล่อและถนนข้าวสาร ซึ่งทำให้ทีม ศบค.ชุดเล็กนำเสนอให้พื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรีสมุทรปราการ นครปฐมและปทุมธานีโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศษฐกิจของ SME โดยเหมารวมธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร ให้ปิดบริการไม่เกิน 21.00น.และห้ามขายแอลกอฮอล์ นั้น
ทางสมาคมภัตตาคารไทย ใคร่ขอชี้แจง ดังนี้
1. สาเหตุไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร
- ปัญหาเกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลาและมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัดไม่เว้นระยะเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ละเลยต่อปัญหา
2.ร้านอาหารและภัตตาคารได้ทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด
3.ต่อให้ร้านอาหารขายแลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00น. ก็ไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจาย โดยเฉพาะภัตตาคารที่มีแบรนด์
3.1 การจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง
3.2 มาตรการตรวจเช็ควัดอุณหภูมิและสวมแมสก์ ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด
3.3 อุปกรณ์ จานชามซ้อมส้อมแก้วมีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี
3.4 โต๊ะเก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้
3.5 ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งทานนั่งดื่มในโต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้นไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิงหรือสถานประกอบการ
3.6 ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมได้เหมือนสถานบันเทิงหรือสถานประกอบการ
3.7 กลุ่มลูกค้าที่มาทานอาหารและดื่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ใหญ่ไม่ใช่วัยรุ่นวัยคะนอง
ดังนั้นการจะให้ร้านอาหารที่ไม่ได้เป็นสาเหตุและจะไม่มีทางเป็นต้นตอของการแพร่ระบาด ต้องมารับผลกรรมด้วยการโดนปิด 21.00น. และห้ามขายแลกอฮอล์ นั้นถือเป็นมาตราการที่ใช้เหวี่ยงแหเป็นวงกว้างเกินไป ซึ่งจะมีผลกระทบอันใหญ่หลวงพร้อมความเสียหายที่จะไม่มีทางที่รัฐบาลจะรับผิดชอบไหวอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่น
ร้านอาหารที่เปิดในช่วงเย็น เราได้รับผลกระทบจากการ ปิด 21.00 มา มากกว่า 2 ครั้ง ซึ่งเวลาขายของเราจริงๆ คือ 18.00 น. ขึ้นไปทำให้เราพยายามตั้งหลักสู้มาหลายครั้งแล้ว ซึ่ง การเปิดถึง 21.00 น.เหมือนการทำให้เราตายทันทีที่ออกคำสั่ง คำสั่งที่ผ่านมา 2 ครั้งที่แล้ว เราต้องหาเงินทั้งกู้ยืมขาย จำนองหลักรัพย์ทั้งหมดหางินมาเพื่อซ่ระค่าเช่า 100% ที่เกิดขึ้น บางโลเคชั่นต่อเดือนต่อสาขา ถึง 6 หลัก แต่เราเข้าใจในสถานการณ์และพยายามดูแลพนักงานไม่ให้ตกงาน รวมทั้งรักษาการจ้างงานแรงงานในภาคธุรกิจร้านอาหารไว้มาโดยตลอดทั้งๆที่ต้องกู้หนี้ยืมสินมาก็ตาม
หากมีคำสั่งปิด 21.00 น.อีกครั้งทางภาคธุรกิจร้านอาหารจำเป็นต้องปลดพนักงานออกทั้งหมดทันที ทั้งๆที่ผ่านมาสองเดือนและก่อนการระบาดรอบสอง รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีก็เห็นอยู่แล้วว่าภาคธุรกิจร้านอาหารที่ได้กลับมาเปิด สามารถจ้างพนักงานกลับเข้าระบบประกันสังคมได้เร็วแค่ไหนรวมทั้งจ่ายชำระค่าประกันสังคมและภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าคลังได้เป็นจำนวนมากเชนกัน
ที่สำคัญร้านอาหารยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยกระตุ้นระบบเศษฐกิจภาพรวมใหญ่ในกลุ่มเกษตกรและชาวไร่ชาวนาชาวประมงได้สำเร็จด้วย
ทางสมาคมภัตตาคารไทยจึงใคร่ขอเสนอ
1. ให้ท่าน นายกรัฐมนตรีและ ทีม ศบค.มองและควบคุมให้ถูกต้องถูกจุดและมีความเป็นธรรมต่อธุรกิจร้านอาหารด้วยโดยยังคงให้ร้านอาหารนั่งได้ถึงเวลา 23:00 น.และขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ดังเดิมโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขเดิมของสาธารณสุขที่เคยกำหนดไว้เป็นอย่างดีและร้านอาหารก็ได้ปฏิบัติตามกันมาอย่างดีเคร่งครัด
2. หากการแพร่ระบาดรุ่นแรงเกิดกว่าจะยับยั้งได้ ขอให้ศบค.มีกำหนดเวลาที่จะใช้มาตราการดังกล่าว
3. การจัดการกับต้นเหตุปัญหา โดยการปิดพื้นที่ เป็นสิ่งที่ภาคเอกชนเห็นด้วยผู้ประกอบการร้านอาหารมั่นใจเกิน100%ว่าไม่ได้เป็นและจะไม่เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อCOVID-19เพราะเนื่องจากมูลเหตุที่ธุรกิจภาคร้านอาหารและภัตตาคารไม่ได้เป็นผู้ก่อและเพื่อเป็นการประคับประคองระบบเศรษฐกิจภาคSMEธุรกิจร้านอาหารและพนักงานลูกจ้างให้มีชีวิตอยู่ได้และยังสามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อCOVID-19
ควบคู่กันไปสมาคมภัตตาคารไทยขอความกรุณาจากฯพณฯ นายกรัฐมนตรีที่จะเข้าใจเห็นใจและโปรดให้ความเป็นธรรมแก่ร้านอาหาร- ภัตตาคารจำนวนหลายหมื่นราย Street Food ในพื้นที่ที่จะถูกประกาศอีกแสนกว่าราย ที่จะต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: