แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT เปิดเผยกับ " ฐานเศรษฐกิจ"ว่าหลังจากรัฐบาลยกระดับล็อกดาวน์ระลอกใหม่ และมีการหารือในการประชุมศบค.เมื่อวันที่17กรกฏาคม2564
ส่งผลให้นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการกพท.ได้ออกประกาศเรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ฉบับที่ 3)
โดยระบุว่าตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26มีนาคมพ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 28) ประกาศ ณ วันที่ 17กรกฎาคม พ.ศ. 2564 กำหนดมาตรการที่มุ่งลดและจำกัดการเคลื่อนย้าย การเดินทางของบุคคล และการดำเนินกิจกรรมในระบบ ขนส่งสาธารณะให้มากที่สุด
ดังนั้นเพื่อลดการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน ซึ่งรัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชน หลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศกำหนดแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ฉบับที่ ๒) ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2564 และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
2. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่เที่ยวบินภายในประเทศ (Domestic Flight) ที่ให้บริการผู้โดยสาร(Passenger Flight) เท่านั้น
3. ห้ามมิให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศปฏิบัติการบินรับส่งผู้โดยสารเข้าหรือออกพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) ในช่วงเวลาที่มีการระบาดสูงตามข้อกำหนด เว้นแต่
4.ในกรณีที่มีการยกเลิกเที่ยวบินและการรวมเที่ยวบิน ให้มีการแจ้งและดูแลผู้โดยสารอย่างเหมาะสมตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบิน ประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553
5.ให้ผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศจัดเตรียมเอกสารรับรองความจำเป็นให้กับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานขนส่งสาธารณะในสังกัดของตนซึ่งได้รับยกเว้นเพื่อใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หากมีการตรวจสอบ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
6. ในการดำเนินการของผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ยังคงมีการให้บริการอยู่ในห้วงเวลานี้ให้ปฏิบัติดังนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21กรกฎาคม พ.ศ. 2564เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสิ้นสุดไปหรือมีประกาศอื่นใดเพิ่มเติม
จากประกาศ กพท.ฉบับที่ 3 แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการสนามบินในเส้นทางบินภายในประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. ประกาศฉบับนี้ ใช้บังคับสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ ที่ให้บริการผู้โดยสารเท่านั้น
2.ห้ามบินรับส่งผู้โดยสารเข้า/ออกพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดง)
3. มาตรการนี้ได้ยกเว้นเที่ยวบินดังต่อไปนี้
4. สำหรับสนามบินที่สามารถให้บริการได้ (บินข้ามภูมิภาค)ให้มีจำนวนผู้โดยสารได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของความจุอากาศยานเที่ยวบินนั้น
ปัจจุบันสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศ มีจำนวน 6 สาย ดังนี้