จีนทุ่มงบR&Dบุกไอที พัฒนาเทคโนโลยีก้าวสู่ผู้นำโลก

12 พ.ย. 2560 | 07:52 น.
อัปเดตล่าสุด :12 พ.ย. 2560 | 14:52 น.
เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จีนเร่งเพิ่มค่าใช้จ่ายของประเทศ จากที่พึ่งพาการค้าจากต่างประเทศ ก็หันไปส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น โดยแบงก์ชาติจีนอัดฉีดเงิน มาถึงจุดหนึ่งคนก็ก่อหนี้เยอะ ทำให้จีนต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ในขณะนี้คือ หนี้พุ่ง! โดยมีหนี้ของรัฐบาลและที่มาจากหนี้ของธุรกิจ รวมแล้วไม่ตํ่ากว่า 250% ของจีดีพี เกิดการก่อหนี้มากเพราะเงินเยอะ พออัดฉีดออกมามากๆ เงินก็จะหาง่าย กู้ง่าย พากันกู้จนเกิดปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย

“ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถึงความเคลื่อนไหวของจีนที่น่าจับตามองนับจากนี้ไป

[caption id="attachment_229777" align="aligncenter" width="503"] รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์[/caption]

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจจีนตั้งข้อสังเกตว่า การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เพิ่งผ่านพ้นไป เป็นการประชุมใหญ่ 5 ปี มีครั้งหนึ่งจะมีความสำคัญ เนื่องจากจีนปกครองโดยพรรคพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์ ไม่มีการเลือกตั้งเหมือนกับประเทศทั่วไป แต่มีการเลือกตั้งภายในพรรค เอาคนในพรรคขึ้นมาบริหารพรรคและต้องบริหารประเทศด้วย หลังจากได้ผู้บริหารพรรคในครั้งนี้แล้วในเดือนมีนาคมปีหน้าก็จะมีการประชุมสภาประชาชน เหมือนกับสภานิติบัญญัติของไทย คือทำหน้าที่แต่งตั้งผู้บริหารในระดับประเทศ เช่น ตัวประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ รวมถึงด้านกฎหมายที่ว่าด้วยการบริหารประเทศ

รศ.ดร.สมภพ วิเคราะห์ต่อว่า จีนพยายามใช้กลไกตลาดที่ถูกกำหนดโดยพรรคคอมมิว นิสต์จีน ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสังคมนิยมแบบตลาดภายใต้กลไกแบบจีน” ขับเคลื่อน บางครั้งก็ไม่ได้เกิดจากกลไกตลาดโดยตรง นอกจากนี้ปัญหาใหญ่ของจีนที่จะต้องแก้ไขในขณะนี้คือ กำลังผลิตที่ล้นตลาด ทำให้จีนต้องออกมาปฏิรูปด้านอุปทานโดยลดการผลิตที่ล้นหรือเกินในภาคอุตสาหกรรมต่างๆลง และหันไปเน้นการผลิตอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ เน้นที่ปริมาณและคุณภาพ ตรงนี้จึงเกิดนโยบาย “เมด อิน ไชน่า 2025” มาก่อนหน้านี้ ซึ่งความหมายเดียวกับ นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ของไทย หรือเยอรมนีก็มีคำว่า “อินดัสตรี 4.0” เหล่านี้คือยุคสมัยใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจที่มองเห็นเหมือนกัน ทำให้เกิดการปฏิรูปด้านการผลิตมากขึ้น

เห็นได้จากล่าสุดรัฐบาลจีนก็ประกาศ ลดขนาดธุรกิจภายในประเทศโดยการควบรวมกิจการ จากที่มีโรงงานเป็นพันๆแห่ง ก็เหลือน้อยลงเพื่อให้คุณภาพการผลิตดีขึ้น การดูแลง่ายขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก

บาร์ไลน์ฐาน **เป้าหมายมุ่งสู่ศก.ใหม่
การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายทุกประเทศต้องทำเพื่อไปสู่อุตสาหกรรมที่ไฮเทคขึ้น ทั้งรถยนต์อีวี ภาคเกษตรและภาคบริการสมัยใหม่ เรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ทั้งโลกพัฒนาเหมือนกันหมด แต่ประเด็นหัวใจของอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ “นวัตกรรม” ที่ต่อไปนี้จะต้องใช้นวัตกรรมเพื่อให้เกิดความเป็นเศรษฐกิจใหม่ในการขับเคลื่อน ไม่ใช่ไปเน้นการผลิตที่ล้าสมัย ใช้แรงงานจำนวนมาก ใช้เครื่องจักรเก่าทำให้ต้นทุนเพิ่ม หรือแม้แต่เรื่องสิ่งแวดล้อมก็อยู่ภายใต้ 
“เมด อินไชน่า 2025” คือจะต้องยกระดับการใช้พลังงานที่มีประ สิทธิภาพ นำพลังงานทดแทนออกมาใช้มากขึ้น พอมีสีเขียวมากขึ้น อุตสาหกรรมรถยนต์ก็ต้องปรับเปลี่ยน ถ่านหิน เหล็กก็ต้องปรับเปลี่ยน เช่น หันไปส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้ามากขึ้นหรือผลิตรถอีวี รถยนต์ไฮบริด เหล่านี้คือสิ่งที่จีนทำการวิจัยเพื่อนำพาจีนให้มุ่งไปในทิศทางของเศรษฐกิจใหม่ทั้งสิ้น

“ที่จีนเน้นมากอีกส่วนคือ เทคโนโลยีว่าด้วยอินเตอร์เน็ต ซึ่งขณะนี้จีนตื่นตัวมาก ต้องการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศใหม่ของโลก เรื่องของฮาร์ดแวร์ ที่ในจีนยังมีปัญหาอยู่ แต่ซอฟต์แวร์ของจีนไปได้ไกล ตัวอย่าง เช่น อาลีบาบา เทนเซ็นต์”
ส่วนเรื่องฮาร์ดแวร์จะต้องพัฒนาอีกมาก เพราะจีนมาทีหลังในอุตสาหกรรมนี้ ทำให้ยังก้าวไม่ทันสหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน ที่มีความสามารถมากในการผลิตชีป (Chip) หรือหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ 
เซมิคอนดักเตอร์ เหล่านี้จีนจะมีเทคโนโลยีน้อยจึงพยายามไล่ซื้อกิจการ หรือควบรวมกิจการนอกประเทศ และประเทศต่างๆ ก็ไม่ยอมขายให้ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา อย่างกรณีที่จีนเสนอซื้อไมครอน เป็นบริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก เป็นต้น

ดังนั้นการที่จะผลิตสมาร์ทโฟน ต่อให้มีระบบซอฟต์แวร์ดีอย่างไรถ้าไม่มีฮาร์ดแวร์ก็สู้ไม่ได้เนื่องจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีการพัฒนาไปถึงการจดจำใบหน้า จำเสียง จำลายนิ้วมือ เหล่านี้จีนจะเน้นการพัฒนามากขึ้น โดยทุ่มไปกับงานวิจัยและพัฒนามาก ใช้งบวิจัยและพัฒนารวม 2.1% ของจีดีพี โดยจีดีพีจีนใหญ่กว่าไทย 30 เท่า ซึ่งถือว่าสูงมาก ขณะที่ไทยใช้งบเพื่อการวิจัยและพัฒนาเต็มที่เพียง 0.7% จึงไม่แปลกใจว่าทำไมการวิจัยและพัฒนาของจีนจึงไปได้เร็ว

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ **ได้ประโยชน์ด้วยกัน
รศ.ดร.สมภพ ตั้งข้อสังเกตว่าถ้ามองนโยบายของจีนในแง่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับไทยก็มี กรณีนักท่องเที่ยวจีนที่มาเที่ยวไทยปีละ 10 ล้านคน ก็นำระบบคิวอาร์โค้ดมาใช้ ในเวลาจ่ายเงิน ต่อไปเวลาเราจะขายของให้จีนเราก็สามารถขายเอสเอ็มอีของเราผ่านอี-คอมเมิร์ซได้ เช่น ขายผ่านอาลีบาบา ขายผ่านเทนเซนต์ หรือขายผ่านเจดีดอทคอม เหล่านี้จะเป็นตัวเชื่อมกัน

สำหรับปีหน้า ยังต้องจับตามองให้ดี ที่น่าสนใจคือ ปี 2561 จีนจะกระตุ้นการส่งออกมากเหมือนเดิมต่อไปหรือไม่นั้นขึ้นอยู่ที่ ถ้าเศรษฐกิจโลกดีก็จะมีการนำเข้าสินค้าจากจีนไปใช้มาก ที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกเริ่มดีเพราะอเมริกา ญี่ปุ่น หุ้นขึ้น เกิดอำนาจซื้อมากขึ้นก็ต้องลุ้นว่าหุ้นขึ้นต่อเนื่องไปถึงปีหน้าหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ต้องมองแบบเผื่อใจไว้ เราต้องดูด้วยว่าในที่สุดแล้วภาวะแบบนี้อยู่ได้นานแค่ไหน ซึ่งยังเป็นเรื่องที่คาดเดาลำบากมาก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว