นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประชุมติดตามประชุมเตรียมการส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา ในพื้นที่ 6 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง” (บุรีรัมย์ ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ)
เพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎา คม 2564 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบแนวทางการมอบหมายให้ รัฐมนตรีแต่ละท่านรับผิดชอบการจัดการนำผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความประสงค์จะกลับไปพักรักษาตัวในจังหวัดภูมิลำเนา
โดยเป็นการดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนกลางหลักในการประสานกับผู้ป่วย และรัฐมนตรีแต่ละท่านช่วยในการประสานใช้ทรัพยากรในการลำเลียง จัดส่ง และประสานจังหวัดภูมิลำเนาปลายทาง
สำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รับผิดชอบจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 6 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ
ในการประชุมดังกล่าวที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน โดยเป็นลักษณะของการช่วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นการทำหน้าที่เป็นแกนหลักประสานระหว่างผู้ป่วยกับหน่วยงานของรัฐในการจัดส่งผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา ผ่านเบอร์โทรศัพท์ 1330
รวมทั้งมาตรการในการนำส่งผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาของกระทรวงสาธารณสุข ความพร้อมของ 6 จังหวัดในการรองผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา
เช่นการจัดตั้ง Community Isolation (CI) โครงการที่จังหวัดดำเนินการ อาทิ โครงการอุ้มลูกหลานเซราะกราวกลับบ้าน ของ จ.บุรีรัมย์ โครงการคนอุบลไม่ทิ้งกันของ จ. อุบลราชธานี
โดยมีปริมาณจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยของทั้ง 6 จังหวัดขณะนี้มีจำนวน 5,876 เตียง และสามารถรองรับผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาพร้อมเดินทางแต่ละจังหวัด ณ วันที่ 21 ก.ค.2564 กลับไปรักษาที่จังหวัดบ้านเกิด รวม 6 จังหวัด 4,464 เตียง เหลือเตียงว่าง1,412 เตียง ทั้งนี้มีรายละเอียดแต่ละจังหวัดดังนี้
จังหวัด |
จำนวนเตียงทั้งหมด |
จำนวนเตียงที่ใช้แล้ว |
คงเหลือ |
บุรีรัมย์ |
1,084 |
1,007 |
77 |
ยโสธร |
989 |
750 |
239 |
สุรินทร์ |
324 |
191 |
133 |
อำนาจเจริญ |
229 |
204 |
25 |
อุบลราชธานี |
1,297 |
1,164 |
133 |
ศรีสะเกษ |
1,953 |
1,148 |
805 |
รวม |
5,876 |
4,464 |
1,412 |
ในมติคณะกรรมการฯ บูรณาการประสานร่วมมือ ที่ประชุมจึงมีมติดังนี้นอกจากนี้ คณะกรรมการอำนวยการศูนย์บริหารจัดการเพื่อนำผู้ป่วยโควิด-19 ส่งรักษาอาการในจังหวัดภูมิลำเนา 6 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง”
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กระทรวงคมนาคม สาธารณะสุข และ มหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ ประสานสั่งการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายการเดินทางของผู้ป่วยกลับรักษาอาการ ในจังหวัดภูมิลำเนา
รวมทั้งประสานจังหวัดในพื้นที่ภูมิลำเนา 6 จังหวัด เพื่อส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษา สถานพยาบาล โรงพยาบาล หน่วยบริการรักษาอาการ
ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานพิจารณาดำเนินการ
ทั้งนี้หากมีผู้ประสงค์จะขอรับบริการ “จัดส่งผู้ป่วย โควิด-19 กลับไปรักษาที่บ้านเกิด” สามารถโทรประสานงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยกระทรวงคมนาคมพร้อมร่วมในการดำเนินการจัดส่งผู้ป่วย ด้วยทรัพยากรของกระทรวงคมนาคมทุกด้าน พร้อมดูแลตั้งแต่การเดินทาง อาหาร
รวมถึงประสานดำเนินงานเพื่อให้ผู้ป่วย ถึงยังสถานพยาบาลในจังหวัดภูมิลำเนาด้วยความปลอดภัย และ ถึงมือแพทย์ โดยเร็วที่สุดตามมาตราฐานการบริการด้านสาธารณะสุขต่อไป
จังหวัด |
ช่องทางการติดต่อ |
หน่วยงานกลาง สปสช. สายด่วน 1330 (ตลอด 24 ชั่วโมง) |
|
บุรีรัมย์ |
02-5765555 (ตลอด 24 ชั่วโมง) |
ยโสธร |
090-2409930 (ตลอด 24 ชั่วโมง) |
สุรินทร์ |
044-513999 (ในเวลาราชการ) 092-5995108 (ตลอด 24 ชั่วโมง) |
อุบลราชธานี |
08-26489270 09-66932139 09-69371783 (ทั้ง 3 เบอร์ ติดต่อได้ในช่วงเวลา 08.00- 21.00) |
อำนาจเจริญ |
ส่วนกลางจังหวัด 090-2410098 093-3234686 086-6515424 095-1924903 (ตลอด 24 ชั่วโมง) |
ศรีสะเกษ |
065-2400691 065-2400680 สายด่วน 1422 (ตลอด 24 ชั่วโมง) |