หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เริ่มทำงานและอยากวางแผนภาษีเพื่อให้เสียภาษีแบบคุ้มค่าที่สุด ทุกวันนี้มีช่องทางการลงทุนที่หลากหลาย แต่หากต้องการได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีในแต่ละปีด้วย ทางเลือกแรก คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และทางเลือกถัดมาที่เป็นทางเลือกสำหรับการลงทุนระยะยาวเพื่อความมั่นคงในอนาคต ได้แก่ กองทุนรวมคู่แฝด นั่นคือ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากจะได้สะสมเงินออมในแต่ละเดือนแล้ว ยังได้เงินในส่วนสมทบจากนายจ้าง (บริษัท) อีกด้วย อีกทั้ง เงินสะสมในแต่ละปีก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาทแรกจะลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อัปเดตสิทธิ์ลดหย่อนภาษี นอกจาก "ช้อปดีมีคืน" แล้วมีอะไรบ้าง
กองทุนรวมใหม่ 2020 ลดหย่อนภาษีได้ กระจายการลงทุนเด็ด
ในส่วนกองทุน SSF เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อมาทดแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่สิ้นสุดลงในปี 2562 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้มีรายได้และผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทำงานมีการออมระยะยาว และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่
เนื่องจากกองทุน SSF มีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนดัชนี ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ดังนั้น ต้องพิจารณานโยบายการลงทุนให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ผลงานของผู้จัดการกองทุน รวมถึงผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละกองทุนเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนหรือใกล้เคียงกัน โดยกองทุนรวมที่ดีควรสร้างผลตอบแทนให้สามารถเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ
อีกทั้ง เนื่องจากกองทุนดังกล่าวมีเงื่อนไขในการซื้อขายที่มากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป จึงต้องพิจารณาให้ละเอียด เพราะหากผิดเงื่อนไขลงทุนก็จะถูกปรับตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร อีกทั้ง เมื่อลงทุนไปแล้วต้องถือหน่วยลงทุนในระยะยาว จึงต้องมีเงินเย็นเพื่อนำมาลงทุน และมีวินัยพร้อมที่จะลงทุนระยะยาว
สำหรับการวางแผนภาษีผ่านการลงทุนกองทุน SSF สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้ 2 ต่อ
- ต่อที่ 1 เงินลงทุนกองทุน SSF สามารถหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ต่อที่ 2 ผู้ลงทุนจะได้รับกำไรจากการขายกองทุน SSF ก็ต่อเมื่อขายคืนหน่วยลงทุนได้ในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมาในตอนแรก กรณีที่ซื้อและถือกองทุนดังกล่าว จนครบกำหนดตามเงื่อนไขการลงทุน กำไรจากการขายหน่วยลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษี
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
มีคำถามว่า เนื่องจากผู้ที่เริ่มทำงานยังมีรายได้ไม่เยอะหรือมีเงินออมจำนวนจำกัดและหากสนใจลงทุนกองทุน SSF ควรใช้วิธีไหนที่เหมาะสม คำตอบคือ วิธีทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ (Dollar Cost Average: DCA) ซึ่งเป็นการใส่เงินเท่าๆ กันเป็นรายงวด เช่น ทุกๆ เดือน อีกทั้ง การลงทุนด้วยวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่น่าสนใจ เพราะผู้ที่เสียภาษีจะรู้ว่าปีนั้นๆ ตัวเองต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ จึงรู้ว่าควรลงทุนกองทุน SSF เท่าไหร่ ก็สามารถจัดสรรเงินออมมาลงทุนได้ หากรอลงทุนตอนสิ้นปีครั้งเดียวก็อาจต้องใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่พอสมควร
นอกจากประโยชน์หลักของกองทุน SSF และกองทุน RMF จะช่วยในเรื่องด้านการลงทุนแล้ว ยังช่วยในการกระจายความเสี่ยงกับการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายและช่วยในเรื่องการเก็บเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ และเงินที่ลงทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
หากอยากซื้อกองทุน SSF เพื่อลดหย่อยภาษีปลายปี สามารถซื้อเองได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ผ่าน SCB Easy App และชำระสะดวกผ่านบัตรเครดิตได้เลย มีกองทุน SSFให้เลือกหลายหลากตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ สามารถเลือกลงทุนได้ทันที ง่ายๆ เพียงแค่ปลายนิ้ว รออะไรเริ่มลงทุนวันนี้ดีที่สุด เพราะยิ่งลงทุนเร็วเท่าไหร่ โอกาสได้รับผลตอบแทนก็มากเท่านั้น หยิบมือถือแล้วเปิด SCB EASY App แล้วซื้อ SSF กันเลย
ที่มา : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)