เพจไทยคู่ฟ้า ได้รวบรวม 13 โครงการของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลและกระทรวงการคลัง ผ่านมาตรการต่างๆ อาทิ " เงินเยียวยา" โครงการคนละครึ่ง ,การเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ,ข้อเสนอ เงื่อนไขพิเศษจากธนาคารต่างๆอาทิ ชำระดีมีคืน ,จ่ายดี มีเติม ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ลูกค้า ในช่วงที่ต้องประสบภาวะวิกฤติโควิด อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2564
สำหรับ 13 โครงการ ประกอบไปด้วย
ธนาคารออมสิน
มอบเงิน 500 บาท ให้ลูกค้าประวัติดี
และเพิ่มรางวัลพิเศษของสลากออมสิน Digital 20 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท
ออกรางวัลเดือน ม.ค. – ก.พ. 64
ธนาคาร ธ.ก.ส.
โครงการชำระดีมีคืน และโครงการลดภาระหนี้
โอนคืนดอกเบี้ยเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากให้แก่ ลูกค้าเกษตรกรและบุคคล
ในอัตราร้อยละ 10 - 20 ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
เริ่ม 1 ธ.ค. 63 – 31 มี.ค. 64
ธนาคาร ธอส.
ลุ้นรับสิทธิของขวัญปีใหม่ 500 - 1,000 บาท ไม่เกิน 100,000 ราย
สำหรับผู้มีเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีประวัติการชำระดี
ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
เริ่มเดือน ธ.ค. 63 – ม.ค. 64
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
เสริมสภาพคล่อง SMEs ไทย ลดค่าธรรมเนียมยื่นขอสินเชื่อ
และโครงการ “จ่ายดี มีเติม” สำหรับลูกค้าที่มีประวัติชำระหนี้ดี
เริ่ม 1 ม.ค. - 28 ก.พ. 64
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
ช่วยจัดสรรการผ่อนชำระ ในอัตราดอกเบี้ย 7.5%
เริ่ม 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 64
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ด้านสินเชื่อ สำหรับผู้ประกอบการเริ่มต้นธุรกิจส่งออก
คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเวลา 3 เดือน
ด้านรับประกันการส่งออก สำหรับผู้เอาประกันรายใหม่
ฟรี ค่าวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อ และรายเดิมจะได้รับส่วนลด 50%
เริ่ม 1 ธ.ค. 63 – 28 ก.พ. 64
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
ลูกค้าที่ขอใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล ฟรีค่าธรรมเนียมนิติกรรมสัญญาและค่าประเมินหลักประกัน
ลูกค้าทั่วไป จะให้อัตรากำไรพิเศษในเดือนม.ค. 64
เริ่ม 15 ธ.ค. 63 – 31 ม.ค. 64
โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2
ผู้ได้รับสิทธิเดิมไม่เกิน 10 ล้านคน ได้รับวงเงินเพิ่มคนละ 500 บาท
เมื่อรวมกับกับของเดิม 3,000 บาท จะมีวงเงินรวม 3,500 บาท
ส่วนผู้ลงทะเบียนใหม่ ไม่เกิน 5 ล้านคน จะได้รับวงเงินคนละ 3,500 บาท
ใช้จ่ายตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 64
โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ระยะที่ 2
สนับสนุนวงเงินซื้อสินค้าบริโภคอุปโภค 500 บาท/คน/เดือน
ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ม.ค.- มี.ค. 64
ขยายเวลามาตรการภาษีจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ
ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สามารถหักรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนา
ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 30 ก.ย. 64 เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง
โครงการกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม
คปภ. ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย
จัดทำกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส
ให้ความคุ้มครองทั้งอุบัติเหตุและโรค COVID-19
เบี้ยประกันภัย 10 บาท/ราย คุ้มครอง 30 วัน
ซื้อกรมธรรม์ได้ที่บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ
ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 63 - 31 ม.ค. 64
มาตรการช่วยเหลือสำหรับผู้กู้ยืมเงิน กยศ.
ลดเบี้ยปรับ 100% กรณีชำระหนี้ปิดบัญชี
ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี
และชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ
ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 64
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
จัดทำไมโครไซต์ Start to Grow รวบรวมข้อมูลและความรู้ที่จำเป็น
ระดมทุนสำหรับ SMEs , Start-Up และประชาชนที่สนใจ
ขอรับคำปรึกษาฟรีผ่านคลินิกระดมทุน เปิดใช้งานแล้วตั้งแต่ 16 ธ.ค. 63 เป็นต้นไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“กกร.” เสนอเพิ่มวงเงิน “คนละครึ่ง” เป็น 5,000 บาท
"สรรพากร" ย้ำเงินได้จาก"คนละครึ่ง-เราเที่ยวด้วยกัน" ไม่ต้องเสียภาษี
“คนละครึ่งเฟส2” ใครได้สิทธิรีบโหลดแอปเป๋าตัง ลงทะเบียนด่วนก่อนเสียสิทธิ3500