หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ของสหรัฐฯ American Rescue Plan หรือ มาตรการเยียวยาโควิดรอบ2 วงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ เพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยมีรายละเอียดคือ
1.เงินช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบ (Direct Payment) อีก 1,400 ดอลลาร์ รวมของเดิม 600 เป็น 2,000 ดอลลาร์
2.ช่วยเหลือผู้ตกงานวงเงิน 400 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ และขยายไปจนถึง ก.ย. 2564
3.เงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลท้องถิ่น วงเงิน 3.5 แสนล้านดอลลาร์
4.ช่วยเหลือด้านการศึกษาและสถาบันการศึกาษา 1.7 แสนล้านดอลลาร์
5.สนับสนุนเกี่ยวกับการตรวจโควิด-19 วงเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์
6.ช่วยเหลือด้านความร่วมมือในโครงการวัคซีนแห่งชาติ ร่วมกับองค์กรต่างๆ วงเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์
7.เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจาก 7.25ดอลลาร์ต่อ ชม. เป็น 15 ดอลลาร์ต่อ ชม.
8.เพิ่มวงเงินเครดิตคืนภาษีเกี่ยวกับผู้มีบุตรเป็น 3,000 ดอลลาร์ ต่อคน และ 3,600ดอลลาร์ต่อคน สำหรับบุตรอายุต่ำกว่า 6 ปี
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)ประเมินว่า แนวโน้มน่าจะดีต่อภาพระยะยาว ขณะที่ระยะสั้นยังมีความเสี่ยง เพราะ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ของสหรัฐฯ เป็นบวกต่อ sentiment สินทรัพย์เสี่ยง จาก 1) หนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะยาว 2) เพิ่มสภาพคล่องในระบบ ซึ่งสะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี สหรัฐฯที่ดีดกลับทะลุ 1.1% ส่วน Dollar Index อ่อนค่ารอบใหม่
อย่างไรก็ตามในระยะสั้นตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถือว่าไม่ได้ตอบรับเชิงบวก จาก 1) มีแรง Sell on Fact จากการเก็งบวกไว้ก่อนหน้า 2) วงเงินการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้เหนือความคาดหมาย อีกทั้งต่ำกว่าตลาดคาดไว้ที่ 2 ล้านล้านเหรียญฯ เล็กน้อย 3) มีโอกาสผู้กำหนดนโยบายการเงินอย่าง Fed จะส่งสัญญาณให้เกิดความสมดุลย์มากขึ้น เพื่อไม่ให้มีแรงเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆจนเกิดภาวะฟองสบู่มากเกินไป
นอกจากนั้น แนวคิดการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจาก 7.25 เป็น 15 เหรียญฯต่อ ชม. เป็นนโยบายที่ฝั่งตรงข้ามอย่าง Republican โจมตีมาตลอดว่า ไม่ส่งผลดีต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวม และขั้นตอนสำคัญในการผ่านมาตรการกระตุ้น 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ รอบนี้ ต้องการ 60 เสียง ในวุฒิสภา ซึ่งปัจจุบัน Democrat และ Republican ครองที่นั่งคนละ 50 เสียงเท่ากัน ดังนั้น จึงไม่ง่ายและมีความเสี่ยงที่มาตรการจะสะดุดและยืดเยื้อได้
ขณะที่แนวโน้มตลาดหุ้นไทย “ความหวัง” สู่ “ความจริง” ภาพตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป น่าจะหันมาให้น้ำหนักกับภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และหันมา selective มากขึ้น โดยเน้นไปที่กลุ่มที่ได้ประโยชน์โดยตรง หรือแนวโน้มกำไรน่าจะฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ/เป็นโครงสร้างฟื้นฐาน/วัตถุดิบในภาคการผลิต/อยู่ในห่วงโซ่อุปทานระดับภมิภาค-โลก
กลุ่มที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ในระยะสั้น ประกอบด้วย Oil & Gas: TOP, Comm: COM7, Petro: SCC, Packaging: SCGP, Banking: SCB TISCO
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “โจ ไบเดน” 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ "American Rescue Plan"
กระแส blue wave เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นไทย
ดาวโจนส์ปิดลบ 8.22 จุด นักลงทุนจับตาสถานการณ์การเมืองสหรัฐ
ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ กังวลการเมืองสหรัฐถ่วงแผนกระตุ้นศก.
ไทยรอด สหรัฐไม่ขึ้นแบล็กลิสต์ปั่นค่าเงิน แต่ถูกจับตามอง