3 บก.วิเคราะห์ สมานฉันท์ บนรอยร้าว จะ“จูน”กันอย่างไรให้ลงตัว

01 พ.ย. 2563 | 08:22 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2564 | 12:20 น.

3 บก.วิเคราะห์ การ “สมานฉันท์” เพื่อหาทางออกจากวิกฤติทางการเมือง ท่ามกลางปรากฏการณ์ “รอยร้าว” ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ที่นับวันจะรุนแรงขึ้นทุกขณะ จะมีหนทาง "จูน" กันได้หรือไม่


รายการ “พูดตรง ๆ กับ 3 บก.” ดำเนินรายการโดย นายสมชาย มีเสน นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร และ นายบากบั่น บุญเลิศ ซึ่งออกอากาศเผยแพร่ทาง FB, Yutube กรุงเทพธุรกิจ และ FB, Yutube ฐานเศรษฐกิจ ในเวลา 21.00 น. วันศุกร์ที่ 30 ต.ค.2563 ได้วิเคราะห์ถึงแนวทาง “สมานฉันท์” ที่จะนำไปสู่ทางออกประเทศไทย จากปัญหาทางการเมือง 


โดย 3 บก.เริ่มต้นว่า  ช่วงนี้สังคมแตกแยกเยอะ เป็นรอยร้าว ระหว่างวัย แม่ค้าอยุธยาไปตบเด็กที่ไม่ยืนเคารพธงชาติ และมีคุณพ่อเถียงแท็กซี่เรื่องการเมือง เสร็จแล้วไปถึงบ้านเรียกลูกสาวออกมา ตบลูกสาวโชว์แท็กซี่ 

 

อีกปรากฏการณ์ แม่ค้าคนหนึ่งที่ขายก๋วยเตี๋ยว มีคนที่พูดถึงสถาบัน เข้าไปสั่งอาหาร ไม่ขาย ไล่ออก และ มีร้านกาแฟที่บอกว่าใครนินทาสถาบัน ไล่ออก ไม่ขาย 


มันเป็นปรากฏการณ์ของความขัดแย้งทางความคิดที่แทรกซึมเข้าไปสู่สังคม แล้วทำให้สังคมไทยที่เป็นสังคมของความรัก ความเอื้ออาทร ถูกทำลายไปโดยสิ้นเชิง

 

การเมืองเป็นเหมือนเรื่องศาสนา เป็นความเชื่อที่ถูกปลูกฝัง เชื่อในลัทธิ เชื่อในนิกาย แล้วใครไปห้ามว่า นิกายนี้ไม่ถูก ลัทธินี้ไม่ถูก ก็ไม่ยอมกัน เช่นกันการเมืองตอนนี้ แบ่งออกเป็นหลายๆ  ฝ่าย หลักๆ 2 ฝั่ง แล้วบอกว่า ถ้าไม่เชื่อฉัน แล้วกลายเป็นคนเลว เป็นกันทั้ง 2 ฝั่ง 


จึงเป็นที่มาของตรีม “สมานฉันท์ บนรอยร้าว” ตอนนี้รอยร้าวแตกขึ้นเรื่อยๆ  


ที่ผ่านมาจากการประชุมรัฐสภา เมื่อ 26-27 ต.ค.ที่ผ่านมา มีเสนอเรื่อง สมาฉันท์ มาตั้งแต่วันแรกเลย ที่ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอว่า ทางออกของประเทศไทย ควรตั้ง “คณะกรรมการสมานฉันท์” ขึ้นมาจาก 7 ฝ่าย มีทั้ง ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายคู่ขัดแย้ง ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ  ว่าจะสามารถหาทางออกให้กับประเทศ โดยให้คณะกรรมการสมานฉันท์ไปคิดหาทางออก


ต่อมาวันที่ 28 ต.ค. ครม.รับลูกทันที ครม.เห็นด้วย และโยนเรื่องให้สภาไปพิจารณาตั้ง  เพราะถ้า ครม.ตั้งเอง มันไม่เป็นกลาง ก็เลยให้สภาไปตั้ง คุณชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ก็เลยให้สถาบันพระปกเกล้าไปออกแบบ เพราะสถาบันพระปกเกล้า คือหน่วยงายทางวิชาการของทางรัฐสภา สังกัดรัฐสภา 


และสถาบันพระปกเกล้า เคยมีบทบาทในปี 2552-2553 ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา ตอนนั้น คุณดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ โดยประธานรัฐสภาตั้งขึ้นมา และเอาคู่ขัดแย้ง คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกฯ และ ตู่-จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. มาคุยกัน


การจะสมานฉันท์ หรือ ไม่สมานฉันท์ หัวใจคือ เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องรัฐธรรมนูญ นายกฯ ประกาศชัดเลย อย่างที่เคยบอกมาตลอดว่า ฝั่งรัฐบาล หรือฝั่งวุฒิสภาก็ดี หรือใครก็ดีที่เป็นคน “ยื้อ” แก้รัฐธรรมนูญ มันทำให้เกิดชนวน เป็นประเด็นขึ้นมา ที่ชุมนุมกันต่อเนื่อง


   3 บก.วิเคราะห์ สมานฉันท์ บนรอยร้าว จะ“จูน”กันอย่างไรให้ลงตัว    3 บก.วิเคราะห์ สมานฉันท์ บนรอยร้าว จะ“จูน”กันอย่างไรให้ลงตัว   
 

 

สมานฉันท์ บนรอยร้าว ดูเหมือนว่าแนวทางสมานฉันท์ของรัฐบาลที่เดินไปนี้ ไม่ได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วน 

 

ตอนนี้ มีการเสนอคือ 1.ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ 2.แก้รัฐธรรมนูญ เรื้องแก้รัฐธรรมนูญ นายกฯ รับลูก แต่การแก้ก็คงเกิดขึ้นในเดือนหน้า (พ.ย.) สมมติรับหลักการ ก็คงปลายๆ เดือน เข้าใจว่าต้นๆ ธ.ค. การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คงเกิดขึ้น และแก้ไข ม. 256 เปิดล็อคการแก้ไขแล้ว ก่อนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ก็ต้องไปถาม “ประชามติ” หลังจากนั้นก็มาตั้ง “ส.ส.ร.” เลือก ส.ส.ร.ก็คงมาจากสัดส่วนเลือกตั้ง และ ผู้เชี่ยวชาญ  ที่เขาไปเพราะว่าจะให้คนที่มาจาการเลือกตั้งร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียวคงจะเป็นไปไม่ได้  ที่มาจากเลือกตั้งเพราะบางคน รู้ว่าประชาชนต้องการอะไร แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เพราะฉะนั้นจึงต้องเอาเข้าไปเติม


ไม่รู้ว่าเขาคิดสูตรอย่างไร แต่เดิมร่างของพรรคร่วมรัฐบาลเสนอว่า ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง 150 คน มาจากการสรรหาโดยสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 50 คน ถึงบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การร่างรัฐธรรมนูญ ต้องใช้เวลา 2 ปี  


แก้ไขรัฐธรรมนูญเอาให้เสร็จภายในปีครึ่งได้ไหม  ซึ่งเขากำหนดไว้ว่าให้เสร็จภายใน 8 เดือน หรือ 240 วัน ต้องเสนอสภาจะอภิปรายอีกระยะหนึ่ง ถ้ารวมทั้งหมดนี้ก็จะใช้เวลาประมาณ 15 เดือน หลังจากนั้นก็จะต้องไปลงประชามติอีกครั้ง ว่าจะเอากฎหมายนี้หรือไม่ ซึ่งลองประมาณแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี 


สรุปง่ายๆ ก็คือ ทุกอย่างแล้วเสร็จในสภาประมาณ 1 ปี และการลงประชามติอีก 1 ปี  2 ปีนี้คือระยะเวลาอย่างน้อย 


แล้วบรรดาม็อบที่ออกมาเรียกร้องยอมหรือไม่ 


เขาถึงไม่เอาไง 1.ฝั่งสภาบอกว่าอันนี้รัฐบาล เสนอ สนอง และ รับ เรื่องสมานฉันท์ และรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายค้าน บอกให้นายกฯ ลาออกก่อน แสดงว่ากระบวนการการหาทางออกให้กับประเทศ พอประตูเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญ เปิด เขาก็บอกว่า “นายกฯออกไปก่อน”  สมมุติว่า ถ้านายกฯ ลาออก จะเกิดเรื่องอะไรขึ้นมา เขาก็จะหานายกฯ ใหม่ในสภา แต่ว่าข้อเรียกร้องนี้จบไปแล้ว เพราะนายกฯ พูดกลางสภาว่า ไม่ออก


ตอนนี้ก็มีทั้ง 2 ฝั่ง ก็คือพรรคร่วมรัฐบาลก็บอกว่าใช้วิธีแบบนี้แหละ ไทม์ไลน์ ของรัฐธรรมนูญแบบนี้ ส่วนฝ่ายค้านบอกว่า ให้นายกฯ ลาออก ซึ่งมันจะจูนกันยังไงให้มันลงตัว 


มันจะลำบาก เพราะว่าในสภา ฝ่ายค้าน บอกว่า นายกฯ ต้องออกไป และมีข้อเสนอให้ทำประชามติว่า ให้นายกฯ ออกไหม  
 ปัญหาเรื่องประชามติ เราวางไว้ตรงนั้นก่อน เรามาตอบคำถามว่า เป้าประสงค์ของฝ่ายค้าน ที่เสนอกันมาอย่างเป็นเอกภาพให้ นายกฯ ลาออก  ปลายทางของการลาออกทุกคนอ่านเกมได้ว่า จะมีการเลือกนายกฯ คนใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญเดิม แต่เขาประสงค์อะไรในตรงนี้  เขาประสงฆ์จัดขั้วอำนาจใหม่ แต่ว่าก่อนจะเสนอเรื้องนี้ต้องคิดอย่างนี้ก่อน  ในฐานะฝ่ายค้านคุณอยู่ในกระบวนการรัฐสภา นายกฯ ต้องออกหรือพ้นจากตำแหน่ง  ก็คือการทำงานของคุณไปเเฉว่า นายกฯ ทำอะไรพลาด มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ไม่ใช่ว่าไม่พอใจนายกฯ แล้วก็บอกให้ออกไปๆ  ไม่ได้ อันนี้มัน “ม็อบ” 

        3 บก.วิเคราะห์ สมานฉันท์ บนรอยร้าว จะ“จูน”กันอย่างไรให้ลงตัว    3 บก.วิเคราะห์ สมานฉันท์ บนรอยร้าว จะ“จูน”กันอย่างไรให้ลงตัว

 

ต้องบอกว่าฝ่ายค้าน ไปไม่ไว้วางใจนายกฯ 2 ครั้งแล้ว แต่ไม่เป็นผล จึงบอกว่าฝ่ายค้านไม่มีประสิทธิภาพ  อ้างว่าเรื่องคะแนนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องอภิปรายให้เห็นว่า นายกฯ มีความเลว ความไม่ชอบธรรมอย่างไร พรรคร่วมรัฐบาลเขากล้ายกมือให้เห็นไหม เพราะฉะนั้นมันขึ้นอยู่ที่ Content ว่ามีประสิทธิภาพพอที่จะให้พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยได้ 


ตอนนี้ข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านทั้งหมด เรียกร้องให้นายกฯ ลาออก ต้องอย่าลืมว่าระบบรัฐสภาเป็นระบบที่เลือกนายกฯ เอง และ นายกฯ  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่บริหารประเทศไม่ว่าจะดีจะเลวอย่างไรก็แล้วแต่ ยังไม่มีแผลที่จะส่งผลที่ให้ต้องลาออก แต่เสียงของการชุมนุมต่างหากที่เป็นส่วนที่เรียกร้องให้ นายกฯ ลาออก 


ถึงบอกว่าในสภา คุณไม่มีสิทธิ์เลยที่จะเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก เพราะมันเป็นหน้าที่ของคุณที่จะเดินหน้า  เปิดสภาเดือน พ.ย.ก็อภิปรายไม่ไว้วางใจไปเลย ถลกหนังนายกฯ ไปเลยว่า นายกฯ ทำผิด คิดชั่วอย่างไร หวังว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะหันมาสนับสนุนคุณ เพราะนี่คือหน้าที่ของฝ่ายค้านที่ใช้เวทีของรัฐสภา และบทบาทในฐานะสภา ที่ต่างจาก “ม็อบ” ที่ใช้สิทธิ์ในการเรียกร้อง มันจึงแบ่งได้เป็น 2 ส่วนการเมืองในระบบก็คือ สภา  และ การเมืองบนท้องถนน  


“ถ้าฝ่ายค้านไม่เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา ลาออกไป ในระบบรัฐสภา ถ้าทำงานไม่สำเร็จ คุณเรียกร้องให้เขาลาออกไม่ได้ ถ้านอกสภาที่ม็อบเขาเย้วๆ กัน เป็นสิทธิ เขาจะเรียกร้องอะไรก็ได้ ฝ่ายค้านต้องทำการบ้านหน่อย คุณไร้ความสามารถแล้วบอกให้เขาออก ไม่ได้” 3 บก.ระบุ


นี่คือปรากฏการณ์ที่เห็นตั้งแต่ 26-27 ตุลาฯ ในสภาที่เปิดให้มีการหารือกันเพื่อหาทางออกจากวิกฤติ ก็มีข้อเสนอหลากหลาย แต่อีกฝั่งหนึ่งนอกสภา ก็มีการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง เป็นที่มาอันหนึ่งนั่นก็คือ “สมานฉันท์” ซึ่งสถาบันปกเกล้า จะเสนอโครงร่างในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้