วันนี้ (17 มี.ค.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 วันพุธที่ 27 พ.ย. 45 ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 197วรรคซี่งอาจมีผลนำไปสู่การรื้อคดีจ่ายค่าโง่โฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้านบาทได้นั้น พบว่า มติดังกล่าวเป็นเรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาฟ้องคดี กรณีผู้ฟ้องคดีนำคดี ที่เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการมาฟ้องต่อศาลปกครองหลังจากที่ศาลปกครองเปิดทำการแล้ว
โดย นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุดในขณะนั้น ได้นำปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาฟ้องคดีตามคำร้องที่ 40/2544 ซึ่งเกี่ยวกับสัญญาการกลับมารับราชการหลังรับทุนไปศึกษาอบรมคำร้องที่267/2544 คดีพิพาทเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดิน และคำร้องที่482/2545 คดีพิพาทเกี่ยวกับการจ่ายเงิน ค่าครองชีพ เข้าสู่การพิจาณาของที่ประชุมฯ โดยระบุกรณีเหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการแต่ผู้ฟ้องคดีมิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในขณะนั้นต่อมา หลังจากที่ศาลปกครองเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 แล้วผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองกรณีนี้จะนับระยะเวลาการฟ้องคดีอย่างไร
โดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด มีมติว่า ในกรณีที่เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครอง เกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในขณะนั้น ต่อมาหลังจากที่ศาลปกครองเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 แล้วผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองโดยขณะที่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองอายุความฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมยังไม่ครบกำหนด แต่การนำคดีดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลปกครองนั้น จะเป็นการฟ้องคดีปกครองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตามมาตรา 49 มาตรา 50 หรือมาตรา 51 แห่งพ.ร.บจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 แล้วแต่กรณีในกรณีเช่นนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้เริ่มนับระยะเวลาการฟ้องคดีตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการเป็นต้นไป
ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง หลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้ว ศาลปกครองไม่อาจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาได้ เพราะเป็นการฟ้องคดีที่พ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามพ.ร.บจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
แต่ถ้าเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้น จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ศาลปกครองจะรับคดีไว้พิจารณาตามมาตรา 52 วรรคสองแห่งพ.ร.บจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ 2542 ก็ได้โดยให้พิจารณาเป็นรายกรณีไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :