นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) มีนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล ฯ เป็นประธานเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ได้ประกาศ ชัดว่าจะเดินรถไฟฟ้าBTS ส่วนต่อขยายต่อไป โดยไม่ทิ้งผู้โดยสารไว้ข้างหลัง
แม้จะได้รับผลกระทบ จากการเดินรถ โดยไม่ได้รับค่าจ้าง8,000ล้านบาทจากกรุงเทพมหานคร ก็ตาม นับตั้งแต่ เปิดให้บริการเดินรถ ได้แก่
1.ส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ)
2.ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) ที่เปิดเดินรถแล้ว 9สถานีตั้งแต่หมอชิต-วัดพระศรีมหาธาตุ นับตั้งแต่ วันที่9สิงหาคม 2562
3. ส่วนต่อขยาย สายสีลม สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้า และ 4.ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง
ฺBTS มองว่า ยังพอรับภาวะหนี้ได้ ทั้งหุ้นกู้ กองทุน สถาบันการเงินเจ้าหนี้ อีกทั้ง ได้สอบถามผู้ถือหุ้นแล้ว ยืนยัน ยังรอกทม.หาเงินมาจ่ายค่าจ้าง หรือ เร่งขยายสัมปทานเดินรถไฟฟ้า แลกภาระหนี้ซึ่งสามารถนำรายได้จากอนาคตมาใช้ก่อน
นายสุรพงษ์กล่าวต่อว่า ล่าสุดพอเห็นความเคลื่อนไหว คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563ได้ รับทราบ ในหลัการถึงผลเจรจา ระหว่างกระทรวงมหาดไทย โดยกทม.กับ บริษัทระบบรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือ BTSC กรณีขยายสัมปทานเดินรถ สายสีเขียว ทั้งระบบ แลกกับเอกชนรับภาระหนี้วงเงิน1แสนล้านบาทแทนรัฐ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรางการคลังเสนอ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากกระทรวงคมนาคมก็ตาม
สำหรับภาระหนี้ที่กทม.ค้างชำระ ได้แก่ ค่าเดินรถส่วนต่อขยาย 8,000ล้านบาท ค่าติดตั้งงานระบบอาณัติสัญญาณ 20,000ล้านบาท และ ค่างานโยธาที่กทม.รับโอนจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 60,000ล้านบาท จากส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้ เป็นต้น